“โบว์” แจงชัด! ศาลไม่ให้ประกันเหตุหมิ่นซ้ำหวั่นเป็นอันตราย ชี้ถ้าเป็นสถาบันฯโดนซ้ำๆ ในสายตารัฐเป็น แต่สายตาคนหมิ่นฯจะมองว่าไม่เป็น!

2147

“โบว์” แจงชัด! ศาลไม่ให้ประกันเหตุหมิ่นซ้ำหวั่นเป็นอันตราย ชี้ถ้าเป็นสถาบันฯโดนซ้ำๆ ในสายตารัฐเป็น แต่สายตาคนหมิ่นฯจะมองว่าไม่เป็น!

จากกรณีที่พรุ่งนี้ (6 พฤษภาคม) ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของ พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน จำเลยที่ 1 , ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง จำเลยที่ 5 แกนนำกลุ่มราษฎร คดีชุมนุม 19 กันยา ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ยื่นประกันตัวไป ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่าพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งมีเหตุอันควรให้เชื่อได้ว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกฟ้องหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก

ซึ่งต่อมานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน รวมไปถึงนายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์ แกนนำกลุ่มราษฎรที่ได้รับการประกันตัว โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

ล่าสุดทางด้าน โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้แชร์บทความเกี่ยวกับการประกันตัว โดยมีผู้กำกับดูแล โดยระบุข้อความว่า

แนวทางหนึ่งของการปล่อยตัว โดยมีการตั้งเงื่อนไขเป็นคำสั่งศาล (Injunction) ในทางสากลจะตั้งอยู่บนเหตุผลว่าเพื่อป้องกันการก่อความเสียหายที่อาจกระทบสิทธิผู้อื่นระหว่างการพิจารณาคดีที่มีเหตุให้เชื่อว่าควรต้องป้องกัน มักเกิดขึ้นในคดีที่คำฟ้องมีน้ำหนักมากพอให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าควรมีมาตรการ
หากระหว่างดำเนินคดีมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่ง ศาลอาจพิจารณาปรับเงื่อนไขในคำสั่งให้มากขึ้นหรือน้อยลงได้ ไม่แน่ใจว่าศาลไทยจะละเอียดถึงขั้นนั้นหรือไม่ การเผยแพร่บทความนี้ในวันนี้โดยสื่อศาล น่าสนใจพอสมควร
ซึ่งก็ได้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยบอกว่า  คุณโบว์คิดว่าการหมิ่นซ้ำเป็น “อันตรายประกันอื่น” หรือไม่ครับ และเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
ซึ่งทางด้าน โบว์ก็ได้ตอบกลับว่า ถ้าเราเป็นคนโดนซ้ำๆเราจะคิดว่าเป็น ถ้าคนที่เราเกลียดโดนซ้ำๆแล้วเราเป็นคนสองมาตรฐาน เราจะคิดว่าไม่เป็น ส่วนถ้าเป็นกษัตริย์โดนซ้ำๆ ในสายตารัฐเป็นแน่นอน ในสายตาคนหมิ่น ไม่เป็นแน่นอน ในสายตาคนทั่วไป ต้องไปถามเขาดู อยู่ที่การให้น้ำหนักของแต่ละคน
สำหรับการประกันตัวโดยมีผู้กำกับดูแล กฎหมายได้เพิ่มกลไกให้ศาลมีอำนาจตั้ง “คน” เป็นผู้กำกับดูแลผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลปล่อยชั่วคราวได้ ตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 โดยเป็นดุลพินิจศาลที่จะสั่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวที่ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสังคมโดยรวม เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงในการที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรืออาจไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นระหว่างที่ได้รับการประกันตัว สามารถควบคุมความเสี่ยงนั้นได้โดยกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขการปล่อยที่เหมาะสมเพียงพอ และมีบุคคลช่วยเหลือศาลในการสอดส่องดูแลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยปฏิบัติตามมาตรการหรือเงื่อนไขดังกล่าวอย่างเคร่งครัดให้สังคมวางใจได้ว่าจะไม่เกิดเหตุอันตรายที่กฎหมายไม่ประสงค์ขึ้นในระหว่างนั้น การอนุญาตให้ประกันตัวภายใต้เงื่อนไขที่มีการกำกับดูแลดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้โดยอาจไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันเลย