Truthforyou

พล.ท.นันทเดช แนะดร.อานนท์ฟ้องหมิ่นฯพ่วงศาลปกครองผอ.นิด้า ซัดอย่าเอาเรื่องส่วนตัวมายุ่ง

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก NIDA Thailand สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ออกเอกสารประชาสัมพันธ์เรื่อง กรณีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของบุคลากรสถาบัน ระบุว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ทั่วไป

“เรื่องประชาชนเข้าชื่อเรียกร้องให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า สอบจริยธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จากกรณีการแสดงออกทางความคิดเห็นผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอยู่ในขณะนี้

โดยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบัน ได้รับทราบข้อมูล รวมถึงข้อกังวล ความห่วงใย ตลอดจนความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้สะท้อนกลับมายังสถาบัน ซึ่งทางคณะผู้บริหารมิได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด ขณะนี้ได้มีการสั่งการให้มีการดำเนินการตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และจรรยาบรรณของบุคลากรสถาบันต่อไปนั้น”

ต่อมา นพ.วรงค์ เดชวิกรม รักษาการหัวหน้พรรคไทยภักดี ได้ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงประเด็นดังกล่าว ไว้บางช่วงว่า “ตามที่ท่านอธิการบดีของนิด้า ตั้งคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีมีการร้องเรียนว่า ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ บุคลากรของสถาบัน แสดงความคิดเห็นทางการเมือง และอาจนำไปสู่ความแตกแยกของกลุ่มคนในสังคมนั้น ผมอยากให้ท่านอธิการบดี ได้ทำความเข้าใจกับ ภาษาไทย ระหว่างคำว่า ความแตกแยก กับ การปกป้อง

1.ความแตกแยก หมายถึงการนำไปสู่ ไม่เห็นด้วยอย่างแรง , ไม่ลงรอยกัน ,ทะเลาะ,ขัดแย้ง,คัดค้าน ดังนั้นการสร้างความแตกแยก จึงมีผู้เริ่มต้นกระทำให้เกิดความแตกแยก

2.การปกป้อง หมายถึง คุ้มกัน, คุ้มครอง, ป้องกัน, รักษา ผู้ที่มาปกป้อง จึงเป็นผู้คุ้มกัน คุ้มครอง ป้องกันรักษา แน่นอน ผลของการปกป้อง ย่อมไม่อาจจะเลี่ยงความขัดแย้งได้

สิ่งที่ท่านอธิการบดีของนิด้า ต้องตระหนัก ต่อคำแถลงของสถาบันนั่นคือ ท่านทราบไหมครับว่า ดร.อานนท์ ได้ทำหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 50(1) นั่นคือ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ล่าสุด พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วยว่า

“ดร.อานนท์ นิด้า แตกตัวออกมาจากธรรมศาสตร์ เพราะแนวทาง และปรัชญาการศึกษาต่างกัน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน คนก็เปลี่ยนตามไปด้วย มีบุคคลากรของนิด้าลงมาจับปัญหาทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบบทักษิณกันมากมาย ถึงขั้นขึ้นเวทีชุมนุมเลย

อาจารย์อีกส่วนหนึ่งก็ไปในทิศทางที่ สนับสนุนระทักษิณ ก็มีไม่น้อย ปัจจุบันนี้ก็ยังมีบทบาทยื่นเด่นอย่างท้าทายอยู่เช่นเดิม แต่ก็ไม่มีการคิดตั้งกรรมการสอบสวนขึ้นแต่อย่างใด

ที่จุฬา และ ธรรมศาสตร์ ก็ไม่แตกต่างกัน แต่ธรรมศาสตร์เด่นกว่าเพื่อน อาจารย์ วรเจตน์ อาจารย์ ปิยะบุตร ออกมาตั้งกลุ่มพลังกดดันทางสังคมโจมตีสถาบันฯอย่างโจ่งแจ้ง และทำอีกนานาประการ

ธรรมศาสตร์ก็ยังอยู่เฉยๆ สู้สร้างตึกดีกว่าไม่ต้องทะเลาะกับใคร แต่ ดร.อานนท์ ออกมาเคลื่อนไหว ปกป้องสถาบันฯ ที่อุปการะนิด้ามามากมาย กลับจะถูกตั้งกรรมการสอบสวน ถ้าผมเป็นอานนท์จะนำผลการพิจารณาสอบสวนนี้ (ถ้าทำกันจริงๆ) และ เป็นไปในทางลบ ไปฟ้องหมิ่นประมาท และฟ้องศาลปกครองควบคู่ไปด้วย

จรรยาบรรณของอาจารย์ต้องมีอยู่ แต่ต้องเหมือนๆกันทุกสถาบันฯ ถ้าปฏิบัติต่อ อานนท์ได้ หรือใช้เป็นมาตราฐาน ที่อื่นก็ควรทำตามด้วย ขนาดเป็นอาจารย์มีตำแหน่งทางบริหารด้วย ยังพาเด็กออกมาตั้งม็อบด่ารัฐบาล ประกันตัวผู้ต้องหา ม.112 ฝ่าฝืนคำสั่งมหาลัย ฯลฯ ไม่เห็นมีใครมาตั้งกรรมการสอบสวนเลย อย่าเอาเรื่องส่วนตัวมาปนกับเรื่องส่วนรวมครับ”

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายนพดล พรหมภาสิต เลขาธิการกลุ่ม ศชอ. ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า “เราว่า ดร.อานนท์ โดนผู้บริหารนิด้าเอาคืนแล้วหล่ะ เพราะ ดร.อานนท์ เคยร้องเรียนเรื่องนี้ไปที่ ป.ป.ช. ลองอ่าน บทความที่ดร.บอย เขียนไว้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2561 ลงใน Manager Online แล้วจะ GET “ธรรมาภิบาลอันเสื่อมทรามของสถาบันอุดมศึกษาไทย” เผยแพร่: 22 พ.ย. 2561 14:54 โดย: ผศ.ดร.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ธรรมาภิบาลอันเสื่อมทรามในสถาบันอุดมศึกษานั้นเกิดจากผลประโยชน์ทับซ้อนในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการเกาหลังกันเองในการสรรหาอธิการบดี/กรรมการสภามหาวิทยาลัย”

Exit mobile version