บิ๊กตู่ปลื้มได้อีก-JCR ญี่ปุ่นคงอันดับความน่าเชื่อถือไทย!?!ตราสารหนี้น่าลงทุน ยันฐานะการเงินการคลังแกร่งมีเสถียรภาพ!

1550

นายกรัฐมนตรีปลื้ม กระทรวงการคลังรายงานบริษัทจัดอันดับของญี่ปุ่นชื่อดัง JCR คงอันดับความน่าเชื่อถือไทย ย้ำเสถียรภาพฐานะการเงินการคลังเข้มแข็ง รัฐบาลเตรียมเดินหน้าทั้งมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจดูแลประชาชนทุกกลุ่ม ภายใต้วินัยการเงินการคลังที่เหมาะสม

วันที่ 27 เม.ย. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับรายงานจากกระทรวงการคลังกรณีที่บริษัท Japan Credit Rating Agency, Ltd. หรือ JCR ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น จัด อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้และผู้ออกตราสารหนี้ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ระดับ A – ค่าเงินบาท A และยืนยันมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable outlook) 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ผลการจัดอันดับดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสะท้อนให้เป็นมุมมองของต่างประเทศต่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยและแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพิงอยู่มาก แต่ด้วยสถานการณ์การเงินและการคลังที่เข้มแข็งของประเทศจะเป็นแรงหนุนสำคัญให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าเต็มที่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเข้มแข็งได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า“จากที่ประเทศไทยได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.เป็นต้นมา พร้อมกับมาตรการควบคุมโรคที่เพิ่มความเข้มงวดขึ้นโดยต่อเนื่อง การดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่ารัฐบาลเตรียมความพร้อมเพื่อจะเดินหน้าทั้งมาตการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยรัฐบาลได้จัดเตรียมงบประมาณที่เพียงพอและจะพิจารณาอย่างรอบคอบในการดำเนินนโยบายที่เกิดประสิทธิผลสูงสุด”

มุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีมาตรการรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีประสิทธิภาพ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง

ในส่วนของการลงทุนจากต่างประเทศ ก็มีข้อมูลที่น่ายินดี เมื่อบีโอไอได้เปิดเผยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนของปี 2563  (มกราคม-มิถุนายน) รวม 754 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7  มูลค่าเงินลงทุน 158,890 ล้านบาท และเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในโครงการใหม่ถึง 366 โครงการ หรือร้อยละ 49 โดยมียอดเงินลงทุนรวม 42,520 ล้านบาท ขณะที่เป็นการลงทุนในพื้นที่อีอีซีถึง 225 โครงการมูลค่าเงินลงทุนรวม 85,480 ล้านบาท  

นอกจากนี้ รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อสนับสนุนการดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สูงขึ้น


“JCR ยังคงเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถรักษาเสถียรภาพทางการคลังและบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้อยู่ระดับที่เหมาะสมได้เนื่องจากมีการบริหารจัดการทางคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561” นางแพตริเซีย ระบุ

สำหรับภาคธนาคารและภาคต่างประเทศ พบว่า ภาคธนาคารมีเสถียรภาพ และภาคต่างประเทศแข็งแกร่ง โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีขีดความสามารถในการดำเนินมาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ JCR ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการปฏิรูปนโยบาย (Policy reform) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง (High-tech manufacturing industry) เพื่อการพัฒนาประเทศ

 

นายกรัฐมนตรีย้ำว่ารัฐบาลทำงานแบบ “New Normal” เดินหน้าสู่อนาคต โดยมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการเฝ้าระวังโควิด-19 แต่ยังคงยึดวินัยการเงินการคลัง รักษาระดับหนี้สาธารณะ ซึ่งนายกฯ มอบแนวทางให้สำนักบริการหนี้สาธารณะที่ดูแลเรื่องการกลั่นกรองแผนความต้องการกู้เงินระยะปานกลาง 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) และแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2564 ยึดเหตุผลความจำเป็นและความต้องการเงินกู้อย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่กฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะทั้งนี้เพื่อให้การลงทุน การดำเนินโครงการ/แผนงาน นำไปสู่การกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจและรองรับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19