ยังวนเวียนอยู่ในอ่าง!? สาวไทยในลอนดอน ตอกหน้า ก๊วนสามกีบ ไล่รัฐบาล ล้มเหลวแก้โควิด เทียบชัด “ประเทศไทย” ยังควบคุมได้ดีกว่า “อังกฤษ”

2489

หลังจากสถานการณ์โควิดในไทย มีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง อย่างวันนี้ (27 เม.ย.) ยอดติดเชื้ออยู่ที่ 2,179 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 59,687 ราย หายป่วยแล้ว 33,551 ราย เสียชีวิตสะสม 163 ราย และวันนี้เสียชีวิตมากถึง 15 ราย

การเกิดโควิดระบาดในระลอกนี้ ทำให้สังคมต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของรัฐบาล และลามไปถึงการไล่ล่ารายชื่อถอดถอนนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยต่อมานายอนุทิน ได้เปิดใจว่า การป้องกัน และ ควบคุมโรคระบาดโควิด-19 นั้น ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์โควิด หรือ ศบค. เป็นผู้จัดทำนโยบาย พิจารณา ออกคำสั่ง กำกับการปฏิบัติงาน โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของศบค. หลายครั้งที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอมาตรการควบคุมโรค หากศบค. ไม่เห็นด้วย ก็ต้องกลับมาปรับมาตรการ ทั้งการตรวจ การป้องกัน การรักษา การจัดหายา เวชภัณฑ์ และ การฉีดวัคซีน

ที่ผ่านมา ศบค. เป็นผู้บริหารแบบ Single command มาตั้งแต่ต้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติตามนโยบายศบค. ด้วยดีมาตลอด

 


จึงขอความกรุณาอย่าเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมือง และสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้ง และส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์

ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามนโยบาย และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี และรายงานการปฏิบัติงาน ให้นายกรัฐมนตรี ทราบทุกครั้ง

ขอยืนยันว่า ไม่มีการยึดอำนาจ ไม่มีการแย่งอำนาจ เพราะ นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร และ ในฐานะผู้อำนวยการศบค.

แม้ว่ากระแสที่ผ่านมาในช่วงโควิดระบาดรอบนี้ จะมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่ารัฐบาลยังมีความจำเป็นหรือไม่ ในการบริหารบ้านเมือง เนื่องจากประชาชนต้องออกมาช่วยกันเอง ทั้งประสานหาเตียงให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือแพทย์ พยาบาล แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็มีการเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อ การเสียชีวิต กับภาพรวมของประเทศอื่น ๆ ถือว่าไทยยังรับมือได้ดี ท่ามกลางวิกฤติหนักขนาดนี้

โดย 10 ประเทศ ที่ติดเชื้อสูงสุด ยังมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น อินเดีย ติดเชื้อกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่สองแล้ว และบราซิล ตุรกี ยอดก็ไม่ลดลง แม้แต่ประเทศฝรั่งเศสที่บรรดาม็อบ 3 นิ้ว มีการอวยอย่างต่อเนื่อง ก็มียอดติดเชื้อกว่า 5,000 ราย อินโดนีเซียแถบใกล้บบ้านเรา ก็ติดเชื้อวันละ 5,000 ราย และไทยยังจัดอยู่ลำดับที่ 105 เป็นประเทศจัดการโควิดได้ดี ยังมีอัตราการเสียชีวิตน้อย ภาพรวมคือ 163 ราย

 

 

ล่าสุด ผู้ใช้ชื่อเฟชบุ๊กว่า Pui Vijitphan คนไทยที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษ ได้โพสต์เปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อ และจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดว่า คือ ไม่ได้อวยรัฐบาลไทยนะ แต่ผลงานทำได้ดีกว่าเมืองนอกที่เป็นประเทศเจริญแล้วเยอะ

โดยระบุว่ าแค่ดูสถิติยอดรวมคนเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย 140 คน น้อยกว่า จำนวนผู้เสียชีวิตในเขตบ้านเราในลอนดอนเขตเล็ก ๆ เขตเดียวกว่า 1 เท่าตัว (ตาย306 คน) คือไม่อยากให้คนไทยด่าคนทำงานมากมาย เพราะเค้าทำผลงานได้ดี ติดระดับโลกแล้วตอนนี้

ส่วนการติดเชื้อในอังกฤษก่อนที่เราจะกลับหลังเจอระลอกแรกและก่อนล็อกดาวระลอกสองนั้น จำนวนคนติดเชื้อที่ไม่ได้ไป รพ. ในเขตบ้านเราเขตเดียว มีมากกว่าจำนวนการติดเชื้อรายวันทั้งประเทศไทยอีก แม้ว่าเราต้องออกไปซุปเปอร์ ไปตลาด เดินชนกันไปมา คือ มันไม่ได้ติดเชื้อกันได้ง่าย ถ้าเราระวังตัว และไม่ได้อยู่ด้วยกันนาน ๆ กับคนที่เป็นโควิด

ยอดรวมคนติดเชื้อทั้งหมดของไทยและอังกฤษ ไทยน้อยกว่าเกือบร้อยเท่า! (5 หมื่น vs 4 ล้านกว่าคน) ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรที่พอๆกัน และลอนดอนกับกรุงเทพ คล้ายกันคือรัฐบาลไทย สาธารณสุขไทย ทำผลงานได้ดีมากแล้ว

เหลือแต่วัคซีนซึ่งที่ยุโรปก็ยังฉีดแบบจำนวนมากไม่ได้เท่าอังกฤษ เพราะไม่ได้ผลิตเอง ขอให้คนไทยใจเย็นๆ เพราะเหมือนจะได้ AZ พร้อมๆ กับที่ฝรั่งเศสจะได้วัคซีนยี่ห้ออื่นเป็นจำนวนมากพร้อม ๆ กัน ในเดือนมิถุนายนนี้

ไทยทำได้ดีกว่าประเทศอื่นเยอะมากและยังได้เป็นศูนย์ผลิตวัคซีน AZ อีก จึงมีความมั่นคงด้านวัคซีนแน่นอนในภูมิภาคนี้ ประเทศอื่นแถวนี้ ขอถามว่าใครได้เป็นผู้ผลิตบ้างเหรอใน SE

อย่างไรก็ตามได้มีคอมเม้นต์จากโซเชียล พูดถึงเรื่องนี้ว่า รอบนี้โควิดหนักจริง แต่ถือว่ารัฐยังรับมือได้ดี การชี้แจงให้เข้าใจในความเป็นจริงอาจ- อาจช่วยลดเสียงด่ารัฐบาลลงบ้าง
ตัวเลขที่คุณปุ้ยนำมาให้เห็น จะช่วยให้เห็นว่าอัตราการติดเชื้อ การตายในไทยนั้น ทั้งรัฐบาล บุคลากรทางการแพทย์ และคนไทย ได้ช่วยกันมากว่าปี ที่จะควบคุมและกำจัดโรคระบาดนี้
ตอนนี้ ทุกคนต้องช่วยกันคิดว่าจะช่วยยับยั้งการระบาดกันอย่างไร
– จะช่วยแก้ไข ข้อติดขัดทุกด้านกันอย่างไร
-ให้กำลังใจกัน
-ใครขาดอะไร เราจะเข้าช่วยอย่างไร
-และขอร้องสถานีโทรทัศน์ บางช่องกรุณา เสนอข่าวที่จะให้ข้อมูลที่ช่วยให้คนฟังได้ความจริงและความเข้าใจ โดยไม่เบี่ยงเบนไปทางด้านอื่น
ขณะนี้ ความร่วมมือและร่วมใจ คือสิ่งที่ประเทศไทยต้องการค่ะ