จากกรณีที่ไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ ระบุว่า องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กรณีถูกสำนักข่าว The Truth และสื่อออนไลน์อื่น ๆ นำเสนอข้อมูลบิดเบือนข้อเท็จจริง กล่าวหาไทยพีบีเอส
หลังสำนักข่าว The Truth ได้นำเสนอเรื่องราวของสื่อไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่มีการใช้สื่อหนุนคนล้มม.112 ซึ่งเคยมีกรณีที่นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ออกมาต้อนรับ “ไผ่ ดาวดิน” และม็อบเดินทะลุฟ้า พร้อมทั้งยังมีการสนับสนุนสื่อบีบีซีไทย ที่มักจะออกบทความในเชิงจาบจ้วงสถาบันฯ
โดยไทยพีบีเอส กล่าวว่าองค์กรเป็นสื่อสาธารณะที่ผลิตเนื้อหารายการที่สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม ให้บริการข่าวสารที่เที่ยงตรง รอบด้านสมดุล ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ และส่งเสริมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่เคยมีนโยบายหรือพฤติการณ์ใดอันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มเคลื่อนไหวใดให้มีการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวในประเด็นที่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเป็นภัยต่อสถาบัน
และทางด้านผู้บริหารของไทยพีบีเอสทุกระดับยังยึดมั่นบริหารงานภายใต้ ข้อบังคับ ส.ส.ท. ว่าด้วยจริยธรรมของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้ต้องยึดมั่นในหลักผลประโยชน์สาธารณะ ความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นอิสระที่ปราศจากการมีอิทธิพลหรือการแทรกแซงของบุคคล หรือกลุ่มผลประโยชน์ใด ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งทำให้การทำหน้าที่สื่อสาธารณะของ ส.ส.ท. เป็นไปโดยปราศจากอคติหรือการบิดเบือนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มใด
ทำให้ทางสำนักข่าว The Truth ตั้งคำถามกลับไปว่า ไทยพีบีเอสควรตอบคำถามสังคมให้ได้ ว่าหนุนคนล้มม.112 หรือไม่ เพราะมีทั้งประเด็นที่ “นายสมเกียรติ จันทรสีมา” ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ให้การต้อนรับ “ไผ่ ดาวดิน” และนำเสนอข่าวของบก.บีบีซีไทย “นายนพพร วงศ์อนันต์ ” บรรณาธิการ ที่มักจะออกบทความเข้าข้างม็อบ 3 นิ้ว และกล่าวโจมตีในสถาบันฯอยู่บ่อยครั้ง พร้อมทั้งมีทีมงานไปทำสกู๊ปให้บีบีซีไทย ถึงสำนักงานที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษด้วย
แล้วเช่นนี้จะเรียกได้ว่า “ไม่เคยมีนโยบายหรือพฤติการณ์ใดอันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มเคลื่อนไหวใดให้มีการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวในประเด็นที่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเป็นภัยต่อสถาบัน” ได้อย่างไร ?
ทั้งนี้ยังเคยมีเสียงจากประชาชน ตั้งคำถามว่า ภาษีบาปที่นำไปสนับสนุนไทยพีบีเอสปีละ 2,000 ล้านบาทนั้น ประชาชนเจ้าของเงินได้รับประโยชน์กลับคืนที่คุ้มค่าหรือไม่ “ไทยพีบีเอส” ก่อกำเนิดขึ้นจากการที่บรรดานักข่าวสาวไอทีวีที่กำลังจะตกงาน จนพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น อนุมัติให้ตั้งไทยพีบีเอสเพื่อช่วยให้พนักงานไอทีวีเกือบ 300 คน
จุดประสงค์ในการก่อตั้งไทยพีบีเอส เพื่อเป็นทีวีสาธารณะ เป็นสื่อของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ไทยพีบีเอสไม่สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อของประชาชนตามเจตนารมณ์ในการก่อตั้งได้ และบางครั้งแสดงตัวเป็นสื่อที่ฝักใฝ่การเมือง ถือหางนายทักษิณ ชินวัตร อดีตเจ้านายเก่ากลุ่มนักข่าวไอทีวี ในช่วงหนึ่งด้วย
การดำรงอยู่ของไทยพีบีเอส ถูกตั้งคำถามเป็นระยะ เพราะกลายเป็นสื่อทีวีที่ได้รับความนิยมต่ำ เรตติ้งอยู่ท้ายตารางของสื่อทีวี รายการในเชิงสร้างสรรค์ แม้จะมีบ้าง แต่ถ้าเทียบกับเงินภาษีของประชาชนที่ต้องสนับสนุน ถือว่าไม่น่าจะคุ้มค่า เพราะภาษีบาปที่ต้องสนับสนุนไทยพีบีเอสตกปีละ 2,000 ล้านบาท เฉลี่ยวันละประมาณ 6 ล้านบาท หรือชั่วโมงละ 250,000 บาท โดยไม่มีการหักวันหยุด
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบตามมาตรากฎหมายของ พระราชบัญญัติการจัดตั้ง องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ หากองค์กรสื่อสารธารณะ ดำเนินกิจการอย่างไม่ถูกต้อง ผิดเงื่อนไข อาจจะทำให้ถูดลดงบประมาณในองค์กร ซึ่งในพรบ.นี้ ได้กล่าวไว้ว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเป็น นิติบุคคล เรียกโดยย่อว่า “ส.ส.ท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Public Broadcasting Service” เรียกโดยย่อว่า “TPBS” ทําหน้าที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ แต่ดําเนินการภายใต้ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ
มาตรา ๖ ให้องค์การมีสํานักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และ จะจัดตั้งสํานักงานสาขาขึ้น ณ ที่อื่นใดก็ได้
มาตรา ๗ ให้องค์การมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) ดําเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มี คุณภาพและคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทย โดยผ่านทางบริการข่าวสารที่เที่ยงตรง รอบด้าน สมดุล และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ
(๒) ผลิตรายการทางด้านข่าวสาร สารประโยชน์ทางด้านการศึกษา และสาระบันเทิง ที่มี สัดส่วนอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง เน้นความหลากหลายในมิติต่าง ๆ โดยมุ่งดําเนินการอย่าง ปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสําคัญ
และตามมาตรา ๕๑ ระบุอีกว่า อย่างน้อยทุก ๆ สิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้องค์การเสนอ ให้มีการทบทวนที่มาของรายได้และสัดส่วนของเงินบํารุงองค์การให้มีความเหมาะสมกับความจําเป็น ในการดําเนินภารกิจขององค์การ ทบทวนถึงความเหมาะสมในการให้องค์การนําส่งเงินสะสมส่วนที่เกิน จากความจําเป็นกลับคืนเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินหรือจัดสรรคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม และทบทวน การสร้างและส่งเสริมการสื่อสารสาธารณะของประชาชนผ่านการดําเนินภารกิจขององค์การ รวมทั้ง เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามนี้ ตอนนี้สังคมได้ตั้งคำถามอย่างหนัก ว่าองค์กรสื่อสาธารณะได้ดำเนินกิจการ อย่างเป็นกลางหรือไม่ และไทยพีบีเอส มุ่งดําเนินการอย่างปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสําคัญ ด้วยหรือไม่ ดังนั้นหากขัดหลักองค์กร ก็จะถูกตรวจสอบถึงเงินงบประมาณ และสามารถนำเงินสะสมส่วนเกิน กลับมาเป็นรายได้ของแผ่นดิน พร้อมทั้งนำไปคืนเพื่อประโยชน์ของสังคม และอาจจะถูกตัดงบประมาณในการบริหารองค์กร จากเดิมงบ 2 พันล้าน หากถูกหั่นออกครึ่งหนึ่ง จะเหลือเพียง 1,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้ที่จ่ายให้กับพนักงาน อาจจะไม่เพียงพอ ทำให้องค์กรถูกยุบได้ในที่สุด