กลุ่มกบฎผิดหวังอาเซียนอ้าแขนรับ’มินอ่องหล่าย’ร่วมประชุม?!?ขู่ไม่เชิญร่วมไม่เลิกต้าน ขณะพม่าปล่อยนักโทษ 2.3 หมื่นคน

2021

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติชี้อาเซียนไม่ควรยอมรับรัฐบาลทหาร หากจะแก้วิกฤตต้องให้กลุ่มของตนมีส่วนร่วม ทั้งๆที่เป็นผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ และตั้งรัฐบาลเถื่อนแต่อ้างความชอบธรรมเพราะเชื่อว่าสหรัฐและตะวันตกจะหนุนหลัง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กำลังพยายามที่จะหาทางออกให้แก่วิกฤตที่เกิดขึ้นกับพม่านับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจวันที่ 1 ก.พ.2564 โดยหวังว่าการเจรจาจะทำให้สถานการณ์คลี่คลาย แม้ไม่ถูกใจตะวันตกที่พยายามผลักดันมาตรการส่งกองกำลังนานาชาติบุกพม่า

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 เม.ย.2564 เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยได้เปิดเผยถึงสัญญาณของความคืบหน้าครั้งแรกของอาเซียนว่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย หัวหน้าคณะรัฐบาลกลาง จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนในอินโดนีเซียในวันที่ 24 เม.ย.2564 นี้

ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 เม.ย.2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงการตัดสินใจที่จะเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดพิเศษ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 เม.ย.นี้ ที่ประเทศอินโดนิเซียว่า อยู่ระหว่างกำลังพิจารณาสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19  ในหลายเรื่องๆว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทุกวัน

ทั้งนี้รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า หากนายกฯตัดสินใจจะเดินทางไปร่วมประชุมดังกล่าวจะต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อน 72 ชั่วโมง และเมื่อถึงประเทศอินโดนีเชีย จะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม หากนายกฯตัดสินไม่เดินทางไปร่วมงานดังกล่าว ก็อาจจะร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ หรือมอบหมายให้รองนายกฯที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติหน้าที่แทน

โม ซอ อู รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่ตั้งขึ้นโดยคณะคณะกรรมการตัวแทนรัฐสภา หรือ CRPHเมื่อสัปดาห์ก่อน กล่าวว่า อาเซียนไม่ควรยอมรับรัฐบาลทหาร

“หากอาเซียนกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการของพม่า ผมอยากที่จะบอกว่ามันจะไม่ประสบความสำเร็จ เว้นแต่จะเจรจากับ NUG ที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและมีความชอบธรรมอย่างสมบูรณ์” โม ซอ อู กล่าวกับสำนักข่าววอยซ์ ออฟ อเมริกา ภาคภาษาพม่า ในการสัมภาษณ์ที่เผยแพร่วันที่ 18 เม.ย.2564

ท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้แสดงถึงความมั่นใจว่า สหรัฐอเมริกา และตะวันตกจะรับรองการจัดตั้งรัฐบาลของกลุ่มตน ซึ่งในความเป็นจริงขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดรับรอง

นักการเมืองที่สนับสนุนการประท้วงต่อต้านรัฐบาลกลาง รวมถึงสมาชิกรัฐสภาจากพรรคของซูจีที่ถูกปลด ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เม.ย.2564 และตั้งอองซาน ซูจี เป็นประธานที่ปรึกษารัฐ

ดร.ซาซาหนึ่งในแกนนำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา กล่าวกับรอยเตอร์ว่า วัตถุประสงค์การจัดตั้งรัฐบาลคู่ขนาน NUG คือการยุติความรุนแรง ฟื้นฟูประชาธิปไตย และสร้างสหภาพประชาธิปไตยสหพันธรัฐ และตั้งใจที่จะตั้งกองทัพสหพันธรัฐ โดยกำลังเจรจากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆ

NUG ได้เรียกร้องให้นานาชาติให้การรับรองโดยระบุว่า พวกเขาคือองค์กรการเมืองที่มีอำนาจชอบธรรม และร้องขอให้การมีเชิญเข้าร่วมการประชุมอาเซียนแทน มิน อ่อง หล่าย

Washington, DC on April 16, 2021. (Photo by MANDEL NGAN / AFP)

ที่วอชิงตัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ กล่าวประณามความรุนแรงของกองกำลังความมั่นคงที่มีต่อพลเรือนและประกาศต่อต้านจีนในทุกเวที แต่ยังไม่มีแถลงการณ์สนับสนุน NUG อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

นับตั้งแต่เกิดการประท้วงหลังยึดอำนาจ ทางการพม่าปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านต่อเนื่อง ในช่วงเวลา 2 เดือน ส่งผลสูญเสียชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 720 ราย กวาดจับควบคุมตัวแกนนำต่อต้าน  รวมทั้งสื่อมวลชนและผู้เห็นต่างหัวรุนแรง ไปแล้วประมาณ 3,100 คน ในวันเสาร์ที่ 17 เม.ย.2564 ที่ผ่านมา ทางการพม่าได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังอีก 23,184 คนออกจากเรือนจำทั่วประเทศ เป็นการอภัยโทษเนื่องในเทศกาลปีใหม่-สงกรานต์ตามประเพณีของชาวพม่า (ที่เรียกว่า ประเพณีThingyan