ปัญหาเกลียดชังต่างเชื้อชาติผิวสีฝังรากไม่เว้นผิวดำ-ผิวเหลืองในสหรัฐยังไม่หมดไป แม้ได้ประธานาธิบดีคนใหม่อย่างโจ ไบเดนที่ประกาศสนับสนุนขบวนการ Black Live Matter อย่างออกหน้าออกตา มาวันนี้ เหตุการณ์ซ้ำที่เหมือนกรณีจอร์จ ฟลอยด์ก็เกิดขึ้นในที่แห่งเดิม ขณะที่ความเกลียดชังเอเชียน-อเมริกันกลายเป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง และลามเป็นการต่อสู้ที่มีเค้าลางความรุนแรงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
Officers launch flash bangs at the crowd and spray a wall of umbrellas pushing up against the fence #BrooklynCenter pic.twitter.com/7OLUnwpCfE
— Brendan Gutenschwager (@BGOnTheScene) April 15, 2021
ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ตำรวจยิงชายหนุ่มผิวดำคนหนึ่งระหว่างเรียกหยุดตรวจค้นเสียชีวิต ในย่านบรู๊คลินเซ็นเตอร์ เมืองมินนีแอโปลิส มลรัฐมินนิโซตาของสหรัฐ เกิดการประท้วงและขยายเป็นความรุนแรงปล้นสินค้าแบรนด์เนม ในห้างร้าน ล่าสุดสถานการณ์ยังคงตึงเครียด แม้ตำรวจซึ่งยิงชายหนุ่มผิวสีเสียชีวิตลาออกและในที่สุดถูกจับข้อหาฆาตรกรรมโดยไม่เจตนา แต่ไม่อาจหยุดยั้งความโกรธเกรี้ยวของฝูงชนได้ การประท้วงดำเนินมา 4 วันแล้วยังไม่มีทีท่ายุติ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2564 ว่า สืบเนื่องจากการที่เจ้าหน้าที่คิม พอร์เตอร์ ตำรวจหญิงที่เมืองบรูคลิน เซ็นเตอร์ ในเขตเฮนเนปิน รัฐมินนิโซตา ใช้อาวุธปืนยิงนายดอนเต ไรธ์ ชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน อายุ 20 ปี เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา จุดชนวนการประท้วงครั้งใหม่ในรัฐมินนิโซตา และอีกหลายเมืองในสหรัฐ
A massive line of Minnesota State troopers just push through in front of the station #BrooklynCenter pic.twitter.com/I6t2rTQA76
— Brendan Gutenschwager (@BGOnTheScene) April 15, 2021
เจ้าหน้าที่ทิม แกนนอน ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจเมืองบรูคลิน เซ็นเตอร์ และเจ้าหน้าที่พอร์เตอร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่พนักงานสอบสวนกำลังพิจารณาว่า จะดำเนินคดีกับพอร์เตอร์หรือไม่ หลังฝ่ายตำรวจแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “เป็นอุบัติเหตุ” เริ่มจากพอร์เตอร์เรียกให้ไรธ์จอดรถ เนื่องจากพบว่าทะเบียนรถหมดอายุ และไรธ์ขัดขืนการจับกุม เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า ไรธ์เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับที่ยังค้างอยู่ และพอร์เตอร์ต้องการหยิบปืนช็อตไฟฟ้า แต่ “ผิดพลาด” หยิบปืนบรรจุกระสุนจริงออกมาแทน
Brooklyn Center, MN Police Chief Tim Gannon calls Daunte Wright’s killing an “accidental discharge.”
He says: “It is my belief that the officer had the intention to employ their taser, but instead shot Mr. Wright with a single bullet.” pic.twitter.com/pEFmc1tOh2
— The Recount (@therecount) April 12, 2021
อย่างไรก็ตาม การลาออกของเจ้าหน้าที่ทั้งสองนายยังไม่สามารถลดบรรเทาความรุนแรงของการประท้วงได้ โดยมวลชนยังคงรวมตัวกันตามท้องถนนตั้งแต่วันที่ไรธ์เสียชีวิต แล้วปะทะอย่างดุเดือดกับตำรวจควบคุมฝูงชน ซึ่งใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางเพื่อปราบปรามผู้ประท้วง โดยมีผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก
ทั้งนี้ การเสียชีวิตของไรธ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ศาลเขตเฮนเนปินกำลังพิจารณาคดีที่ นายเดเร็ก ชอวิน อดีตตำรวจเมืองมินนีแอโพลิส เป็นจำเลยคนสำคัญในคดีการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสี วัย 46 ปี โดยชอวินใช้หัวเข่ากดลงไปที่คอของฟลอยด์จนขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตระหว่างการถูกจับกุม เมื่อเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว
ยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวกับตำรวจและคนผิวสี โดยร้อยตรี คารอน นาซาริโอ นายทหารผิวดำได้ยื่นฟ้อง ตำรวจ 2 นายเมื่อวันที่ 13 เม.ย.25464 ในข้อหาพยายามฆ่าด้วยการเล็งปืนเข้าใส่และฉีดพ่นสเปรย์พริกไทยเข้าใส่ อีกทั้งจับสวมกุญแจมือในขณะที่ถูกเรียกให้หยุดรถในข้อหาไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เหตุเกิดในรัฐเวอร์จิเนียเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ปีที่แล้ว โดยในระหว่างตรวจค้น เขาได้ถามตำรวจว่าทำไมต้องทำรุนแรง ตำรวจตอบว่า เพราะไม่ยอมให้จับกุมดีๆ ขณะที่ร้อยตรีนาซาริโอซึ่งเป็นคนผิวสีผสมคนเชื้อสายสเปน บอกว่าขณะถูกจับกุมเขาสวมเครื่องแบบอยู่แท้ๆ แต่ยังถูกตำรวจกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุเพียงเพราะขับรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ทั้งที่มีเอกสารป้ายทะเบียนชั่วคราวที่เป็นกระดาษอยู่ในรถชัดเจน ด้านผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนียประกาศสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การเสียชีวิตของนายไรธ์จุดชนวนให้เกิดการประท้วงและประกาศเคอร์ฟิว ในขณะที่ความรุนแรงต่อคนผิวสียังไม่มีทีท่าที่จะจบลงอย่างแท้จริง ความรุนแรงจากความเกลียดชังคนเอเชียน-อเมริกันนับวันจะเพิ่มมากขึ้น
รัฐที่เกิดเหตุมากที่สุดถึง 45 เปอร์เซ็นต์ของกรณีทำร้ายคนเอเชียน-อเมริกัน คือรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งรัฐนี้มีประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียอาศัยอยู่มากที่สุด และที่รองมาคือรัฐนิวยอร์ก ซึ่งมีรายงานการคุกคามถึง 14 เปอร์เซ็นต์
รายงานขององค์กร STOP AAPI Hate ระบุว่าการคุกคามด้านเชื้อชาตินั้นแบ่งออกเป็นสามลักษณะใหญ่ๆได้ คือการคุกคามด้วยคำพูด 68.1 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือการแสดงความรังเกียจ 20.5 เปอร์เซ็นต์ และท้ายสุดคือการทำร้ายร่างกาย ซึ่งคนเอเชียตกเป็นเหยื่อถึง 11.1 เปอร์เซ็นต์แล้ว
คนเอเซียทั่วอเมริกาลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวบอกโลกว่า “จะไม่ยอมทนนิ่งเงียบอีกต่อไป” มีการเดินขบวนทั้งที่จอร์เจียและทุกรัฐทั่วอเมริกาที่ซานฟรานซิสโก ที่ผู้คนหลายร้อยรวมตัวกันใจกลางย่านไชน่าทาวน์ ในพอร์ตสมัธสแควร์ ที่พิตส์เบิร์ก เพนซิลเวเนีย คนนับร้อยร่วมแสดงพลังส่วนที่ชิคาโก มีประชาชนราว 300 คนชุมนุมกัน ขณะที่ในนิวยอร์กซิตีฝูงชนหลายร้อยคนเดินขบวนจากไทม์สแควร์ไปยังไชน่าทาวน์
คนบางกลุ่มในประเทศไทยมักคิดว่า อเมริกาเหมือนดินเดนแห่งเสรีภาพและความเท่าเทียม แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงทำให้เห็นว่ายังมีการเลือกปฎิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันในอเมริกาแสดงว่าเสรีภาพและความเท่าเทียม เป็นเพียงวาทกรรมหรูๆที่สงวนไว้สำหรับคนผิวขาวเท่านั้นเอง มิใช่ความเท่าเทียมกันสำหรับทุกเชื้อชาติทุกสีผิวแต่อย่างใด?