รองอธิการจุฬาฯหวดนิสิต!กักตัวหอพัก รับผิดชอบสังคม ให้สิทธิ์ใครจะกลับบ้านก็ได้

2899

เป็นดราม่าได้ทุกเรื่อง กับบรรดาคนที่อ้างสิทธิเสรีภาพ โดยจากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องกักตัวนิสิตที่อยู่ในหอพักของทางมหาวิทยาลัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด -19 และมีนิสิตที่ถูกกักตัวในหอพักไม่พอใจ

ทั้งนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นกลางดึกของวันที่ 14 เมษายน 2564  โดยมีการประท้วงของกลุ่มนิสิตหอพักแห่งหนึ่ง ในพื้นที่กทม. โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์บัญชีชื่อ “Phuphat” @farmphuphat โพสต์คลิปวิดีโอภายในหอพักแห่งหนึ่ง

โดยมีการระบุว่า “เป็นหอในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเสียงผู้หญิงตะโกนแสดงความไม่พอใจมาตรการกักตัวห้ามเข้าออกหอพักเป็นเวลา 14 วัน เนื่องจากมีนิสิตในหอพักมีติดเชื้อโควิด 10 รายด้วยกัน โดยเสียงผู้หญิงภายในคลิปดังกล่าว ได้เชิญชวนให้คนอื่น ๆ ในหอพักออกมาพูด อย่าไปยอมเป็นทาสในคุกหอใน อีกทั้งยังต่อว่า เจ้าหน้าที่หอพักที่ขังนิสิตไว้ แต่ตัวเองกลับไปเที่ยวสงกรานต์”

นอกจากนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายดังกล่าว ยังระบุข้อความอีกว่า “เมื่อสักครู่ที่หอพักนิสิตจุฬาฯ มีนิสิตตะโกนปราศรัยและโต้ตอบกันเพื่อประท้วงมาตรการการกักตัวของหอพัก เคาะกะละมังและสิ่งของ ประมาณ 20 นาที และนัดรวมตัวนิสิตหอพักพรุ่งนี้ (14 เม.ย.) 18.00 น. บริเวณที่จอด CU bike ข้างตึกพุดซ้อน พร้อมติดแฮชแท็ก#หอใน”

อย่างไรก็ตามต่อมามีการตรวจสอบก็พบว่า ต้นตอของทวิตเตอร์ที่ได้เผยแพร่คลิป ก็เป็นหนึ่งในก๊วนม็อบ 3 นิ้ว ที่เคยออกมาโพสต์ข้อความเชียร์ม็อบ และจาบจ้วงสถาบันด้วย และในส่วนมาตรการกักตัว ที่กำหนดเวลา 14 วันนั้น ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในช่วงนี้ เพราะยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากเป็นสายพันธุ์อังกฤษ เพราะหากไม่ทำการกักตัว และได้ออกมาใช้ชีวิตตามปกติ อาจจะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่แพร่เชื้อโควิดเพิ่มขึ้น???

ล่าสุดวันนี้ 15 เมษายน 2564  ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ได้ออกมาชี้แจงถึงเรื่องราวดังกล่าว โดยทำเป็นลักษณะถาม – ตอบ ดังนี้

Q: เหตุใดต้องออกมาตรการพิเศษสำหรับนิสิตหอพักจุฬาฯ ระหว่างวันที่ 13-26 เม.ย.2564

A: เพื่อความปลอดภัยของนิสิตหอพัก

– เพื่อจำกัดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังชุมชนและครอบครัว

– เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้พบผู้ป่วยรวม 13 คนในหอพัก (นับถึง 13 เม.ย. 2564)

Q: กักกันตัวนิสิตทั้งหมดห้ามออกโดยเด็ดขาดหรือ?

A: ไม่ใช่ จุฬาฯ ดำเนินการด้วยหลักการห่วงใยนิสิต สังคมปลอดภัย

เราให้สิทธิ์นิสิตที่จะอยู่ที่หอหรือจะกลับบ้านก็ได้

หากจะกลับบ้าน เนื่องจากชาวหอใช้ห้องน้ำรวมและนอนหลายคนต่อห้อง จุฬาฯ จึงขอตรวจก่อนอนุญาตให้ออกจากหอพัก เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งนิสิตและสังคม ทั้งนี้การตรวจนั้นจุฬาฯ ดำเนินการให้นิสิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Q: ถ้านิสิตประสงค์จะอยู่หอพักต่อก็ต้องห้ามเข้าออกจากหอพักหรือ?

A: หากจะอยู่ที่หอพักก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น การซื้ออาหารเข้าไปรับประทานในห้อง การไม่ไปในที่สาธารณะ ทั้งนี้เพราะหอพักนิสิตมีคนจำนวนมากกว่า 1,000 คน จึงควรรับผิดชอบต่อส่วนรวม

Q: กรณีนี้หมิ่นเหม่ต่อเสรีภาพบุคคลใช่หรือไม่?

A: เราเข้าใจในประเด็นเรื่องเสรีภาพแต่ก็ต้องดูประเด็นเรื่องสวัสดิภาพสังคมด้วย กระบวนการนี้จะช่วยคลายกังวลกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้ปกครองของนิสิตที่สอบถามเข้ามามาก

Q: จุฬาฯ เตรียมการช่วยเหลือด้านสวัสดิการอย่างไร?

A: จุฬาฯ ทำประกันโควิด มอบสัญญาณอินเทอร์เน็ตและซิมเพื่อให้นิสิตเรียนรู้ได้มากที่สุด เพิ่มอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย บริการทำความสะอาด บริการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา บริการที่พักแยกผู้มีความเสี่ยงสูง และบริการรักษาพยาบาลหากติดเชื้อ พิจารณาลดค่าหอพัก ฯลฯ จึงขอให้มั่นใจในความดูแลของจุฬาฯ

Q: ฝากทิ้งท้าย

A: ขอเป็นกำลังใจ และอยากให้นิสิตทุกคนอดทนในช่วงวิกฤตโควิดนี้ เพื่อให้ตนและคนรอบข้างปลอดภัยไปด้วยกัน ทางจุฬาฯ พร้อมรับฟังและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป