ทวิตเตอร์เปิดใช้งานอิโมจิเพื่อสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรชานม ที่มีบทบาทปลุกระดมล้มล้างการปกครองในไทย ฮ่องกง ไต้หวัน และเมียนมา ตอบสนองวาระวอชิงตันเต็มที่ สะท้อนการปฏิบัติการสู้รบด้านสงครามข่าวสารจะเข้มข้นมากขึ้น พร้อมๆกับการเคลื่อนไหวทางการทูตและการทหารโอบล้อม พม่าและไทยอย่างดุเดือด
ในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กเฟื่องฟู “ข้อมูล” ได้กลายเป็น “อาวุธ” ชิ้นใหม่ที่รัฐบาลหลายประเทศใช้สู้รบกับฝ่ายตรงข้าม โดยใช้คำว่า “ไอโอ” หรือ Information Operation คือ ปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสาร เป็นการเผยแพร่ความคิดความเชื่อของฝั่งตัวเอง และทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม จะเห็นได้ว่า การกดคีย์บอร์ดเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถสร้างความเสียหายได้มหาศาล ไม่แพ้อาวุธสงครามร้ายแรงที่ประเทศมหาอำนาจเคยใช้สู้รบกัน และทวิตเตอร์ก็ใช้ข้ออ้างในการปิดบัญชีที่ไม่สนับสนุนวาระซ่อนเร้นของมหาอำนาจสหรัฐว่า เป็นIO ผิดกฎระเบียบทันที แต่ฝ่ายที่ตอบสนองเป้าหมายสหรัฐจะสนับสนุนออกนอกหน้า
สนข.Rueters รายงานเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2564 ว่า ทวิตเตอร์สร้างและเปิดใช้งานอีโมจิรูปแก้วชานมเป็นกรณีพิเศษ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของกลุ่มพันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เฉพาะอย่างยิ่งทวิตเตอร์ เพื่อต่อต้านจีนและเรียกร้องประชาธิปไตยแบบตะวันตก ตลอดจนปลุกระดมให้ลุกขึ้นโค่นล้มรัฐบาลอย่างโจ่งแจ้ง
โดยสร้างภาพว่าเป็นเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในอินเทอร์เน็ตระหว่างไทย ฮ่องกง และไต้หวัน ก่อนจะขยายไปถึงเมียนมาในปัจจุบัน โดยมีผู้ใช้แฮชแท็ก #Milk Tea Alliance ในทวิตเตอร์มากกว่า 11 ล้านครั้งในช่วงเวลา 1 ปี ตั้งแต่ เม.ย.2563 และการเปิดใช้งาน อีโมจิดังกล่าวส่งผลให้แฮชแท็ก #Milk Tea Alliance ติดอันดับยอดนิยมในไทย ฮ่องกง และไต้หวัน สมใจกลุ่มชังชาติทั้งไทย เมียนมา ไต้หวัน ฮ่องกง
อันที่จริงไอโอไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคนี้เท่านั้น แต่มีการใช้ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารกันมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสองมหาอำนาจอย่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตแย่งชิงความเป็นใหญ่กัน โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็ปล่อยข้อมูลข่าวสารออกมาสร้างความได้เปรียบให้ตัวเองและใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม
ก่อนหน้านี้จะใช้คำว่า Information Warfare หรือ Cyber War หรือ Net War โดยคำว่า Information Operation ปรากฏในเอกสารอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐเมื่อปี 2003 ซึ่งผู้อนุมัติหลักการนี้คือ โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แต่เอกสารนี้เพิ่งได้รับการเปิดเผยในเดือนมกราคม 2006 โดยมีเนื้อหาอธิบายแนวทางของกองทัพสหรัฐในการทำสงครามข้อมูล นั่นหมายถึงการเปิดเผยว่าสหรัฐก็ทำIO แต่ปัจจุบันทำผ่านโซเชียลมีเดียทุกชนิด ทั้งเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์-อินสตราแกรม-สื่อออนไลน์ เป็นต้น
แล้วทวิตเตอร์รับใช้ใคร? คำตอบก็ชัดเจนจากพฤติกรรมต่อเนื่องว่า เรื่องใดที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สหรัฐ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ทวิตเตอร์จะมีข้ออ้างในการปิดบัญชีทันที และที่น่าสังเกตุว่าเวลารายงานก็จะรายงานเฉพาะฝ่ายที่สหรัฐฯไม่ปลื้ม เช่นตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ที่ฮือฮามากคือทวิตเตอร์ระงับบัญชีโรงเรียนจิตอาสา @jitarsa_school ซึ่งทวิตเตอร์อ้างว่าเป็นไอโอ (IO) เนื่องจากมีการโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อตอบโต้การชุมนุมประท้วง ม็อบ3 กีบสารพัดชื่อที่ยืดเยื้อมาหลายเดือน หลังจากที่ปิดบัญชีที่อ้างว่าเป็น IOรัฐบาลไทยและกองทัพไทยจำนวน 926 บัญชีก่อนหน้านี้ไม่นาน แต่ไม่มีรายงานว่ามีการปิดบัญชีทวิตเตอร์ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งๆที่ปรากฏชัดว่า บัญชีเหล่านั้น ใช้ทั้งคำพูดหยาบคาย รุนแรงและแม้กระทั่งข่าวปลอมที่แชร์สะพัดยุยงให้ใช้ความรุนแรง นัดหมายกันไปก่อความรุนแรง และล่าสุดยังสนับสนุนกลุ่มยุยงปลุกปั่นข้ามชาติอย่างเปิดเผย เช่น”พันธมิตรชานม” นั่นหมายความว่า ประเทศไทย เมียนมา ฮ่องกง และไต้หวันเป็นเป้าหมายของ สหรัฐฯในการช่วงชิงอำนาจครอบงำ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนั่นเอง
เมื่อทวิตเตอร์และสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลายถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในการบิดเบือนข้อเท็จจริง ยัดเยียดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้สื่อ และปัจจุบันสะท้อนชัดว่า ยังไม่สามารถควบคุมอำนาจที่ไร้ขอบเขตนี้ได้อย่างแท้จริง มาดูกลยุทธโต้กลับของรัฐบาลพม่าตอบโต้ส่งครามข่าวสาร ที่ดำเนินอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและการประท้วงดุเดือดในพม่า
วันที่ 8 เม.ย.2564 กองทัพพม่าเดินหน้าไล่ยึดกล่อง-ปีนเก็บจาน PSI ตามบ้าน ซึ่งเป็นวิธีแบบพื้นๆที่ต้องการปิดกั้นข่าวสารของฝ่ายต้อต้านรัฐบาลที่จะส่งถึงประชาชน ซึ่งอาจได้ผลระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับประชาชนพม่าในชนบท จะได้ไม่ต้องรับข่าวสารยุยง บิดเบือนจากฝ่ายตรงข้าม
ช่วงเช้าของหลายพื้นที่ในเมืองใหญ่ของพม่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร ได้นำกำลังไปยังสำนักงานผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตลอดจนร้านขายอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อยึดกล่องรับสัญญาณดาวเทียม PSI ที่เปิดให้บริการอยู่ในพม่า
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าในชุมชนหลายแห่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของชาวบ้าน เพื่อไล่รื้อจานดาวเทียม PSI ซึ่งติดตั้งไว้เพื่อใช้รับสัญญาณภาพ และยึดจานเหล่านั้นไปโดยไม่บอกเหตุผล
สำหรับ PSI เป็นบริษัทผู้ผลิตจานดาวเทียม และให้บริการส่งสัญญาณข้อมูลข่าวสารผ่านดาวเทียมจากประเทศไทย ที่ได้ขยายบริการออกไปครอบคลุมในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า ลาว และกัมพูชา
ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นเพราะทางการพม่าต้องการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนในพม่าได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จากฝ่ายตรงข้ามเพราะสำนักข่าว Mizzima และสำนักข่าว DVB ซึ่งเป็น 2 สำนักข่าวที่ถูกสั่งปิดไปแล้ว ยังคงได้รายงานข่าวการประท้วงมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องสัญญาณบนจาน PSI
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2564 สภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ได้สั่งถอนใบอนุญาตจัดพิมพ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และห้ามการออกอากาศของสื่อ 5 แห่ง ได้แก่ Mizzima, DVB, Myanmar Now, Khit Thit Media และ 7Day News ซึ่งสื่อทั้ง 5 แห่งยังคงเผยแพร่ข่าวสารความเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะทางสังคมออนไลน์ และอินเทอร์เน็ต
ต่อมา ในวันที่ 15 มี.ค.2564ได้สั่งระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และตามด้วยการปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตบ้าน ผ่าน WIFI เพื่อสร้างอุปสรรคในการสื่อสารของฝ่ายผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร
ด้านฝั่งผู้ต่อต้านได้แก้เกมโดยกลับมาใช้สื่อแบบดั้งเดิม โดยในวันที่ 27 มี.ค.2564 กลุ่มเยาวชนซึ่งเรียกตัวเองว่า Gen Z ได้เปิดสถานีวิทยุ Federal Radio ขึ้น ผ่านทางคลื่นความถี่ FM 90.2 เพื่อใช้เป็นช่องทางนัดแนะความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า และปฏิบัติการจิตวิทยากับเหล่าตำรวจ-ทหาร โดยช่วงแรกสถานี Federal Radio สามารถรับฟังได้เฉพาะในพื้นที่กรุงย่างกุ้งเท่านั้น