Truthforyou

100 นักวิชาการต่างชาติ แทรกแซงประวัติศาสตร์ไทย พร้อมขู่ “จุฬาฯ” หากสอบ “ณัฐพล” ระวังอันดับโลกตก

ฉีกหน้ากาก!? 100 นักวิชาการต่างชาติ แทรกแซงประวัติศาสตร์ไทย พร้อมขู่ “จุฬาฯ” หากสอบ “ณัฐพล” ระวังอันดับโลกตก!?

หลังจากที่ทางด้านของ ศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ทำหนังสือถึงบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งปัญหาความคลาดเคลื่อนของข้อเท็จจริงในวิทยานิพนธ์ในปี 2561 ผศ.ดร. ณัฐพล ใจจริง ส่งผลให้ทางด้านของ อธิการบดีจุฬาฯ ลงนามใน “คำสั่งลับ” แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีวิทยานิพนธ์ของ ผศ.ดร. ณัฐพล เมื่อปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

ซึ่งส่งผลให้ในวันที่ 26 มี.ค.64 ที่ผ่านมา กลุ่ม 279 นักวิชาการและวิชาชีพอื่น ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก ถึง นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ยุติการตั้งกรรมการสอบสวนนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯต้องปกป้องเสรีภาพและมาตรฐานทางวิชาการ

แต่เหมือนการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น ของกลุ่ม 279 นักวิชาการและวิชาชีพอื่น ค่อนข้างที่จะไม่สวยงาม เนื่องจากทางด้าน “สถาบันทิศทางไทย” ได้สืบทราบว่า มีบุคคลที่ลงนามจำนวนมาก มีตำแหน่งที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงจำนวนมาก รวมถึงมีหลายคนได้พยายามปกปิดตัวตน จึงทำให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือของกลุ่ม 279 นักวิชาการ ค่อนข้างที่จะต่ำ และไม่มีพลังมากพอ

ต่อมาในวันที่ 5 เม.ย.64 ทางด้านของ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ ที่อ้างว่า มีนักวิชาการนับร้อยคนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ได้มาร่วมลงนามกดดันผู้บริหารระดับสูงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเรียกร้องให้ยุติการตรวจสอบ ผศ.ดร. ณัฐพล โดยอ้างว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการคุกคาม พร้อมทั้งยังได้ข่มขู่ทางด้านของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าหากยังมีการตรวจสอบ ในที่สุดก็จะสะท้อนออกมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับการอยู่รอดของทุกมหาวิทยาลัยในทุกวันนี้

โดยล่าสุดในวันที่ 6 เม.ย.64 ทางด้านของ นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คถึงประเด็นดังกล่าวว่า มีเหล่านักวิชาการจากเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวเรือในการเดินเรื่องครั้งนี้

ซึ่งอย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า คนที่ขับเคลื่อน และพยายามผลักดันการเมืองไทยให้ไปถึงจุดแตกหักมากที่สุด และมีบทบาทจากประเทศญี่ปุ่นก็คือ นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นนักวิชาการและนักรัฐศาสตร์ชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ดิ้นรนผิดปกติไปมั้ย

กรณีวิทยานิพนธ์ของคุณณัฐพล​ ที่ทางจุฬาฯได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า​ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้จัดทำถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยหรือไม่​ เนื้อหาที่เขียนมีการอ้างอิงเอกสารที่ถูกต้องหรือไม่​ เพราะนี่คือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก​ ไม่ใช่รายงานของเด็กมัธยม​ ที่จะให้ปล่อยผ่านไปได้​ แม้จะพบข้อผิดพลาด​ แต่ วิทยานิพนธ์จะถูกใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ​ จะปล่อยผ่าน​ ง่ายๆไม่ได้แน่นอน

ไม่รู้ว่าใครตื่นเต้น​ ใครหวั่นไหว​ อุตส่าห์ให้บรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทยทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ยุติการตรวจสอบ แต่คงกลัวว่าน้ำหนักไม่มากพอ

ประสานให้โปรเฟสเซอร์จากต่างประเทศส่งเมล์มาถึงผู้บริหารจุฬา​ ฉบับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเกียวโต​ (มีคนไทยอยู่ที่มหาวิทยาลัยนี้มั้ยเอ่ย)​ และอีกบางมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น​ กล่าวหาว่า​ จุฬาฯกำลังคุกคามและตามล่าแม่มด​ Witch hunt มากกว่า​(คำนี้คุ้นๆมั้ย) การปกป้องความถูกต้องของหลักวิชาการ​ และเรียกร้องให้จุฬาฯ​ยุติการสอบสวน​ และให้เสรีภาพทางวิชาการ​กับอาจารย์และนิสิต

ประเด็นที่เราต้องสนใจคือ​ สิ่งที่ผู้บริหารจุฬาฯ​ กำลังพยายามทำคือ​ รักษามาตรฐานของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ​ วิทยานิพนธ์ต้องมีความถูกต้องในการจัดทำ​ ไม่อ้างอิงเอกสารที่ผิดๆหรือไม่มีอยู่จริง​ ซึ่งในทางหลักวิชาการ​ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก อาทิ​ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน​ ระบุหลักเกณฑ์การทำวิทยานิพนธ์ว่า​ ความผิดในการทำวิจัยคือ​ การปั้นแต่ง​ Fabrication.การปลอมแปลง​Falcification การขโมยความคิด​ Plagiarism. ถือว่าผิดหลักการทำวิจัย​ นี่คือมาตรฐานที่ต้องผดุงไว้​ ไม่ใช่หรือ

ขณะนี้​ ผลการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น​ กรรมการแต่ละท่านก็ล้วนมีชื่อเสียงในทางวิชาการ​ ต้องไม่กลัว​ ความจริงต้องเป็นความจริง​ อย่าดิ้นรน​ อย่าตีตนไปก่อนไข้​ ไม่ต้องยืมมืออาจารย์จากต่างประเทศมากดดันจุฬา​ฯ​ ลำพังอาจารย์ในประเทศที่เข้าชื่อทำจดหมายถึงจุฬาฯ​ จะกดดันแรงไม่พอหรือ​ อย่ากลัวเกินไป​ เป็นนักวิชาการต้องเอาความจริงที่พิสูจน์ได้มาพูดมาเขียนมาสอนคนอื่น​ ต้องไม่ขายความเท็จ​

เสรีภาพทางวิชาการ​ ต้องไม่ใช่เสรีภาพในการโกหก​ ปั้นแต่งความเท็จได้อย่างเสรี​ เสรีภาพทางวิชาการต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง​ พิสูจน์ได้​ ไม่มโน เสรีภาพทางวิชาการต้องไม่ปล่อยให้สิ่งที่ผิดกลายเป็นถูก​ ต้องช่วยกันปกป้องความจริง​ นี่คือภารกิจทางวิชาการ

Exit mobile version