สามกีบ หยุดโชว์โง่? อย่าหลงกล “การเมืองโลก” ประเทศไทย ไม่ควรเปิดต้อนรับ “ผู้อพยพพม่า” ไม่เช่นนั้น เตรียมพังพินาศ ทั้งอาเซียน!!

4260

หลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเผด็จการเมียนมายังคงนัดรวมตัวกันทำกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร และถือโอกาสเนื่องในเทศกาลอีสเตอร์ นำไข่มาทำเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง

โดยเขียนข้อความระบุว่า “เราต้องชนะ”, “ฤดูการปฏิวัติ” และ “ออกไปเอ็มเอเอช” ซึ่งตัวย่อหมายถึง พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้นำกองทัพก่อรัฐประหาร ขณะที่เจ้าหน้าที่ออกหมายจับกลุ่มบุคคลมีชื่อเสียง 40 คน ทั้งอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ นักร้อง นางแบบนายแบบ ด้วยข้อหาขัดต่อกฎหมายยุยงให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งมีโทษจำคุก 3 ปี แล้วด้วย

ทั้งนี้สถานการณ์ในพม่า ทำให้นักวิชาการในประเทศไทยหลายท่าน จับตามองถึงทิศทางในอนาคต ว่ากระแสต่อต้านรัฐประหารในพม่า จะเดินไปในทางใด โดยทรรศนะและความเห็นของ ดร.สมเกียรติ โอสถสภา ระบุว่า “ผมเดินทางไปพม่าครั้งแรกในคณะของท่านอดีตเลขาธิการ สมช. พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ราวปี 2536 ต่อจากนั้นก็เข้าพม่ารวม 20 ครั้ง” จะรู้จักสถานการณ์รอบประเทศ ต้องรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พื้นที่ ผู้คน หน่วยงาน ฯลฯ

 

ผมจึงเดินดูพื้นที่ฝั่งพม่าที่เชื่อมต่อกับไทยทุกด้าน ดูพื้นที่บังกลาเทศ ลาว อินเดีย จีน ที่เชื่อมต่อกับพม่า แล้วกลับมาเดินดูเส้นทางในไทยรวมเส้นทางธรรมชาติที่ติดต่อกับพม่าทุกจังหวัด ผมทำแบบนี้มานานร่วม 30 ปีเแล้ว คนที่นั่งอยู่แต่ในห้องประชุมไม่รู้อะไรมากนักหรอก ผมจึงพอพูดได้ว่ารู้เรื่องที่กำลังจะพูดนิดหน่อย และเข้าใจหน่วยราชการไทยที่กำลังทำงานรับสถานการณ์กันอยู่

สถานการณ์แบบนี้อยู่เฉยไม่ได้ เราต้องช่วยกัน

สรุปว่าเราควรทำอะไรบ้าง

เรื่อง ผู้อพยพจากพม่า

(1) อย่าประกาศหรือแสดงท่าทีสนใจที่จะรับผู้อพยพจากพม่า ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เพราะจะมีผู้พร้อมอพยพจากพม่าเข้าไทยทันทีหลายล้านคน

1.1 ที่มีจำนวนมากที่สุดคือพวกอพยพหนีพิษเศรษฐกิจ (economic migrants) เพราะชาวพม่ารู้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี มีการจำกัดการเบิกเงินจากธนาคาร การลงทุนต่างประเทศลดหรือหายไป เศรษฐกิจในตัวเมืองแย่

ทุกคนมองออก ทั้งจีน ลาว บังกลาเทศ อินเดีย ต่างห้ามชาวพม่าอพยพเข้าประเทศ

ไทยจึงเป็นทางรอดทางเดียวของพวกอพยพหนีพิษเศรษฐกิจ เราจึงควรยึดนโยบายผลักดันผู้หลบหนีเข้าเมืองเช่นเดิม อย่าปล่อยเข้ามา จะไหลมาไม่หยุด

รัฐบาลมีงบเท่าใด? เขาเข้ามาแล้วอยู่ยาวเลย

1.2 ชาวพม่าที่อ้างว่าต้องอพยพเพราะความขัดแย้งทางการเมือง คือคนที่เลือกพรรคซูจีทุกคน เกินกว่าครึ่งหนึ่งของพลเมืองพม่า ไทยรับไหวไหม?

1.3 การรับผู้อพยพพม่าแบบพฤตินัยโดยฝ่ายเดียว (unilateral) ไม่ปรึกษากับรัฐบาลพม่าก่อน จะทำให้ไทยมีสถานะเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลพม่าทันที ถ้าทุกฝ่ายในพม่าไม่ขอมา ไทยอยู่เฉย ๆ จะดีกว่า เพราะฝ่ายที่อพยพมาจะมาจัดตั้งรัฐบาลพม่าพลัดถิ่นหรือกลุ่มต่อต้านติดอาวุธในไทย ทีนี้เป็นเรื่องยาวเลย

1.4 ระวังการตอบโต้จากฝ่ายรัฐบาลพม่า เพราะถ้ามีชาวพม่าอพยพมาไทยมาก รัฐบาลพม่าอาจประกาศให้พลเมืองพม่าไปรายงานตัว ณ ภูมิลำเนาในหนึ่งเดือน ออกแนวสำรวจสัมมโนประชากร หากไม่ไปจะถูกลบชื่อและสัญชาติออกจากพลเมืองพม่า

รัฐบาลพม่าทำมาแล้วครั้งปราบใหญ่เมื่อปี 2531 มีชาวพม่ามาตกคลั่กในไทยราวล้านคน พวกกะเหรี่ยงบางกลอยก็รวมอยู่ด้วย ประชากรในเชียงใหม่จริง ๆ มีหนึ่งล้าน แต่มีพม่าอีกเกือบล้าน ฝ่ายความมั่นคงของไทยจะต้องเตรียมรับมือเหตุการณ์ที่มีชาวพม่าพากันออกมาประท้วงเรื่องการเมืองของเขาด้วย ถ้าพม่าอพยพเข้ามาเพิ่มอีกสองล้านกว่าคนไทยจะรับไม่ไหว

1.5 ตอนนี้ตะวันตกพยายามให้ไทยเปิดค่ายอพยพ องค์การระหว่างประเทศอย่าง UNHCR, IMO, และหน่วยงานช่วยเหลือผู้อพยพของหลายประเทศกำลังหางานทำ รัฐบาลชาติตะวันตกอย่างอเมริกาและยุโรปต้องการมีบทบาทผ่านค่ายอพยพ อีกทั้งพวก NGO หลายกลุ่ม อย่าได้จัดการประชุมนานาชาติเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยพม่าขึ้นในประเทศไทยเด็ดขาด อีแร้งจะลงทันที

1.6 ถ้าพม่าอพยพเข้ามามากคนไทยก็จะโกรธมาก เพราะตอนนี้ก็กำลังลำบากกันอยู่ อีกทั้งจะพาโรคโควิดมาระบาด รัฐบาลต้องสื่อสารให้ชัดเจน มิฉะนั้นหน่วยราชการจะทำงานลำบาก

1.7 ยุคนี้ไม่มีชาติใดรับผู้อพยพแล้วนะ แย่กันทั้งโลก เงินก็ไม่มี ผมไปดูค่ายโรฮิงญาที่ Cox Barzaar บังกลาเทศ มาแล้ว กองทัพส่งทหารไปดูได้ ระวังโรคโควิดด้วย

1.8 ระวังด้วยว่าตอนนี้มีคนวางแผนจะให้เกิดเอเชียนสปริง (การลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลและการปกครอง เหมือนอาหรับสปริง ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า) ขึ้นในไทยคู่ไปกับพม่า อย่าหลงกลเด็ดขาด นี่คือเกมอุบาทว์ระดับโลกของชาติตะวันตก

1.9 หากได้งบมาดูแลคนพม่าก็ผันไปทำอย่างอื่นได้ เรื่องนี้ยาว

1.10 ระวังโรคโควิดสายพันธุ์ใหม่ อ่านโพสต์ของ ดร.สันต์ หมอมานพ และหมอประสิทธ์นะครับ ช่วยชาติได้เลย สายพันธุ์มินดาเนาจากฟิลิปปินส์จะมาแรง แรงงานประมงทุกชาติเชื่อมกันในทะเลย่านนี้ ดีใจที่นายกฯเรียกประชุมรองนายกฯ คงคุยกันเรื่องพวกนี้แหละ ดีใจที่ ผบ.ทบ.บอกว่าไม่มีแผนตั้งค่ายรับผู้อพยพ ให้กำลังใจนะครับ จะช่วยสอดส่องให้ เอาคนไทยเป็นหลักครับ เรามีประสบการณ์ ท่าทีต้องชัดเจน ไม่รับผู้อพยพ ผบ. เหล่าทัพอยู่ในตำแหน่งครั้งละปี สองปี แต่ปัญหานี้จะยาวมาก

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางด้านพล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ยืนยันว่าจะไม่มีการตั้ง ‘ศูนย์อพยพ’ รองรับชาวพม่า แต่จะทำเป็นแค่ศูนย์แรกรับ-รองรับชั่วคราว ตามหลักมนุษยธรรม พร้อมย้ำว่าพวกเขาควรอยู่ที่แนวชายแดน ไม่ใช่มาอยู่ในเมือง

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์อพยพหนีตายของชาวพม่าในครั้งนี้ ทำให้นึกย้อนถึงเหตุการณ์ “นองเลือด 8888 ” ในพม่า ที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 เดือน 8 (ส.ค.) ปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) สำหรับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า นับเป็นวันที่มีความหมาย เพราะเป็นวันที่ประชาชนพม่าที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิประชาธิปไตย ถูกรัฐบาลทมหรปราบปรามอย่างนองเลือด มีผู้เสียชีวิตไปหลายร้อยคน อีกนับพัน ๆ ต้องหลบหนีออกลี้ภัยนอกประเทศ

โดยการลุกฮือครั้งนั้น เริ่มจากนักศึกษาในย่างกุ้งเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 การประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ ต่อมามีคนนับแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง การประท้วงสิ้นสุดลงในวันที่ 18 กันยายน หลังจากเกิดรัฐประหารที่นองเลือดของสภาฟื้นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรัฐซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า มีผู้เสียชีวิตนับพันคนจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการกำเริบ ในขณะที่ในพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 350 คน ในเหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้น

ก่อนหน้านี้ได้มีกระแสของกลุ่มม็อบ 3 นิ้ว ที่ออกมาจี้ให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้อพยพจากประเทศพม่า แต่ทางรัฐบาลยืนยันว่าจะแค่ช่วยเหลือ เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ว่ารัฐบาลไม่ห่วงชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน แต่หากรัฐบาลยอมทำเช่นนั้น แน่นอนว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดีกับประเทศไทยแน่นอน และอาจจะลามกระทบถึงภูมิภาคอาเซียนด้วย