ต่างประเทศยังไม่เล่นด้วย? “UNHCR เกาหลีใต้” เอาจริง สั่งด่วน แบนหนังผู้ลี้ภัย “การ์ตูน” ผู้ต้องหาหนีคดี 112

8085

เคยเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักมาแล้ว สำหรับน.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ “การ์ตูน” นักกิจกรรมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย ที่หนีคดี ม.112 ลี้ภัยไปอยู่ประเทศเกาหลีใต้

โดยเมื่อวันที่ 15​ เม.ย.2563​ การ์ตูนได้โพสต์ขอบคุณกลุ่ม “จุฬามาร์เก็ตเพลส” ที่ให้พื้นที่โฆษณา ขาย “หนังสือต้องห้าม”หมิ่นสถาบันฯ ถือเป็นการกระทำที่เย้ยกฎหมายและเหยียย่ำหัวใจคนไทยที่รักสถาบันฯอย่างมาก


ล่าสุดในเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Chanoknan Ruamsap เป็นเฟซบุ๊กของ น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ “การ์ตูน” ได้โพสต์เคลื่อนไหวว่า ตนเอง โดนปฏิเสธงานทำหนังโปรโมทผู้ลี้ภัยของ UNHCR เกาหลีใต้ พร้อมระบุเล่าว่า


รีวิวการโดนปฏิเสธงานโปรโมทผู้ลี้ภัยจาก UNHCR มันเริ่มมาจากเมื่อเดือนที่แล้วทีม PR ของ UNHCR (เกาหลี) ติดต่อเรามา บอกว่าอยากทำหนังโปรโมทผู้ลี้ภัย ตอนประชุมบรีฟงานกันเค้าก็บอกว่าอยากให้มีความหลากหลายในหนัง อยากเปลี่ยนภาพจำผู้ลี้ภัย ไม่ใช่แค่เด็กดำมุสลิม แบคกราวน์เป็นระเบิดอะไรแบบนี้

ซึ่งเรายอมรับว่าตอนแรกเราเซอร์ไพรส์มากที่ออฟฟิตนี้ติดต่อเรามา แล้วก็คิดในแง่บวกนะว่าทั้ง ๆ ที่เราวิจารณ์ทีม PR ของ UNHCR มาตลอด แต่เค้ายังเอาเรามาอยู่ในหนัง คงอยากเปลี่ยนจริง ๆ อะไรแบบนี้


ผ่านการประชุมมา 2 รอบ ถึงวันถ่ายจริงซึ่งก็คือเมื่อวาน พอเราไปถึงฉาก ผู้กำกับบอกเราว่าเราโดนถอนจากโปรเจค แล้วมีเราแค่คนเดียวที่โดนถอน เหตุผลคือทีมเกาหลีเอางานไปเสนอที่ไทยแล้วไม่ผ่านที่เรา (เค้าอ้างว่าเวลาเสนอโปรเจค ต้องผ่านสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพ) เหตุผลคือกังวลเรื่องความปลอดภัยของเราถ้าเราต้องกลับไทย และอีกเหตุผลคือ UN ทุกออฟฟิศต้องทำงานกับรัฐบาลประเทศนั้น ๆ และต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงถ้าเราพูดในฟิล์ม มันก็จะกระทบกับความสัมพันธ์ของ UNHCR กับรัฐไทยด้วย

สรุปเมื่อวานผู้กำกับคนนี้ตัดสินใจจะทำหนังสั้นแยกเป็นของเราโดยเฉพาะ แล้วตอนนี้ที่อัดไปผู้กำกับก็รู้สึกเสียดายที่บทพูดเราไม่ได้ไปอยู่ในหนังของ UNHCR เราก็เห็นด้วย เพราะเรามั่นใจว่าเราพูดได้ดีมากเรื่องนี้ แมสเซจที่เราจะสื่อคือ

1.) ใครก็อาจจะเป็นผู้ลี้ภัยได้ซักวัน ไม่ได้เกี่ยวกับสีผิว ศาสนา หรือสัญชาติ แต่การประชาสัมพันธ์ขององค์กรระดับโลกมันทำได้แย่มาก มันทำให้คนทั่วโลกเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เราไม่เห็นด้วยกับการขายความจน ความจนมันขายได้ แต่ UNHCR ควรทำได้ดีกว่านี้ และควรทำให้ดีกว่านี้ในเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะ 5 grounds (เชื้อชาติ, สัญชาติ, ศาสนา,การเมือง, กลุ่มทางสังคมใด ๆ) ไม่ใช่ไปโฟกัสเรื่องอื่น

2.) เราพูดว่าสิ่งที่ผู้ลี้ภัยต้องการมากที่สุดไม่ใช่เงิน แต่คือ ‘สถานะ’ ไม่มีผู้ลี้ภัยคนไหนต้องการเงินบริจาคเล็ก ๆ น้อย ๆ ประทังชีวิตตลอดไปหรอก มันไม่มีศักดิ์ศรี ถ้าผู้ลี้ภัยได้รับการรับรองสถานะ เค้าก็จะสามารถทำงาน หาเงินเลี้ยงชีพได้ เสียภาษี มีศักดิ์ศรีเท่ากับคนทั่วไป ใครจะไม่อยากได้ UNHCR ควรจะโฟกัสตรงนี้มากกว่า

มันยั่งยืนกว่าการรับบริจาคสบู่ ฯลฯ หมดคำจะพูด คือ… โอเคสบู่มันอาจจะเร่งด่วน แต่เรื่องเร่งด่วนชั่วคราวต้องเอามาขายตลอดชาติหรอ ทำไมไม่โปรโมทอะไรที่ยั่งยืน สร้างองค์ความรู้เรื่องผู้ลี้ภัยให้คนทั่วโลกเข้าใจอะไรที่มันฉลาดกว่านี้ไม่ทำ

3.) ภาพที่ UNHCR เอามาโปรโมทมันไม่ได้ represent เรา และผู้ลี้ภัยอีกหลาย ๆ คน เราไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นตัวแทนของเราเลย อีกหลายคนก็คิดเหมือนกันว่านี่ไม่ใช่เค้า เราไม่ปฏิเสธว่ามีผู้ลี้ภัยที่จนและผอมจริง ๆ แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด แล้วทำไม่ UNHCR ต้องเอาแค่แบบนี้มาขาย แล้วถึงแม้เราจะจนและผอมจริง คิดว่าเรา happy หรอที่เห็นภาพตัวเองถูกเอามาหาเงินแบบนี้

4.) สุดท้ายคือข้อเสนอของเราว่าหยุดขายความจน และช่วยโปรโมทศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้ลี้ภัยหน่อย ทำแบบนี้เหมือนเอาผู้ลี้ภัยมาใส่กรงให้คนดูสงสารแล้วเจียดเศษเงินให้ รับไม่ได้

เนี่ย 4 ข้อที่เราพูด ก็ไม่ได้ใจร้ายเลยนะ UNHCR ใจร้าย ใจแคบด้วย เราบอกเค้าไปว่าเรารับไม่ได้หรอกกับข้ออ้างเรื่องที่ตัดเราออกเพราะห่วงความปลอดภัยของเราถ้าเรากลับไทย เพราะถ้าเรากลับไทยจริง ๆ สถานะผู้ลี้ภัยเราก็จะถูกถอดออกทันทีอยู่แล้ว แสดงว่าเราก็จะไม่ใช่ผู้ลี้ภัยแล้ว ก็ไม่มีผลอะไรกับ UNHCR อยู่ดี สุดท้ายเค้าก็ยอมรับนะว่าเรื่องของเรามันการเมืองเกินไป ถึงได้โดนถอด ก็โอเค แล้วแต่ อ่อนดี ไม่มีปัญหา แค่คิดว่าเรามาพูดในนี้ว่าเราพูดอะไรไปบ้างดีกว่า เผื่อจะมีคนเข้าใจเรื่องผู้ลี้ภัยมากขึ้น เพราะดูเหมือน UNHCR จะเฟลในหน้าที่การงานของตัวเอง”


อย่างไรก็ตาม กระบวนการ การทำงานของ องค์กร UNHCR ที่ทราบกันดี จะเห็นว่า ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในคดี 112 ของประเทศไทยหลายคน แต่ UNHCR หลาย ๆ ประเทศมักจะนิ่งเฉยกับการเคลื่อนไหวของผู้ลี้ภัยคดี 112 แต่กลับพบว่า องค์กร UNHCR เกาหลีใต้ ได้เลือกตัดสินใจแบนงานของ ผู้ลี้ภัยคดี 112 นั่นอาจจะเป็นเพราะสายสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ ที่ไทยเคยส่งทหารร่วมรบกับเกาหลีใต้ และคำนึงถึงความรู้สึกของคนไทย ในการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

และหลังจากที่ “การ์ตูน” ถูกปฏิเสธงาน ก็ทำให้เจ้าตัวโวยองค์กร UNHCR แบบเสีย ๆ หาย ๆ ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ ที่เจ้าตัวอาจจะยื่นลี้ภัยไปอยู่ประเทศอื่น เพราะหากรับไม่ได้กับเงื่อนไขที่ทางองค์กรในประเทศนั้น ๆ กำหนดไว้แล้ว นอกจากจะไม่ได้รับสถานะเป็นพลเมือง ยังอาจจะถูกตัดสิทธิ์และให้ออกจากประเทศนั้นด้วย