กางประมวลจริยธรรมส.ส.เปิดคำผู้ร้องฯ ยื่นทั้งปปช. บุกทั้งสภา แต่เจี๊ยบหลังม็อบยังลอยนวล!?!

1723

รออะไรไม่เอาผิด!! กางประมวลจริยธรรมส.ส.เปิดคำผู้ร้องฯ ยื่นทั้งปปช. บุกทั้งสภา แต่เจี๊ยบหลังม็อบยังลอยนวล!?!

จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้สอบสวนและเอาผิดนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กรณีเข้าร่วมชุมนุมประท้วงกับกลุ่ม RE-DEM เมื่อ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่บริเวณท้องสนามหลวงและถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นการจัดชุมนุมที่ฝ่าฝืนกฎหมายหลายฉบับ มีการทำลายและเผาป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในชาติบ้านเมือง เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายและมีผู้บาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก

ทั้งนี้ นางอมรัตน์ มีสถานะเป็นถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกล แต่กลับมาเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมกับกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งๆ ที่ย่อมรู้ได้ว่าเป็นการจัดการชุมนุมที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ซึ่งตาม ป.อาญา ม.83 ระบุว่า ในกรณีความผิดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ซึ่งการชุมนุมเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการฝ่าฝืน ม.14 แห่ง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ 2558 ฝ่าฝืน ม.9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ฝ่าฝืน ม.34(6) แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 รวมทั้งฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญา ม.116 ม.209 ม.210 และ ม.215 รวมทั้ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 อีกด้วย

ในขณะที่ทางด้าน นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้นำเอกสารหลักฐาน เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.วราช บุญยืน รอง สว.(สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ให้ดำเนินคดีกับนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ในมาตรา 215, และความผิดตามมาตรา 91 จากกรณีร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง

ซึ่งนายณฐพร กล่าวด้วยว่า การแจ้งความดำเนินคดีกับนางอมรัตน์ กรณีร่วมชุมนุม เนื่องจากมีหลักฐานจากเฟซบุ๊กของนางอมรัตน์ ที่แสดงให้เห็นว่า ออกไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใด วันใดบ้าง ตนมองว่า การที่นางอมรัตน์เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการดูแลกฎหมาย และต้องเคารพต่อกฎหมาย แต่กลับล่วงละเมิดกฎหมายเสียเอง

สำหรับประมวลจริยธรรม “ส.ส.-กมธ.” ฉบับใหม่ 30 ข้อ โดยบอกว่า

หมวด 1 อุดมคติของการเป็นสมาชิกและกรรมาธิการ

ข้อ 6 สมาชิกและกรรมาธิการต้องจงรักภักดีและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ข้อ 7 สมาชิกและกรรมาธิการต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยเคร่งครัด

ข้อ 8 สมาชิกและกรรมาธิการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละโดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด

หมวด 2 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกและกรรมาธิการ

ข้อ 9 สมาชิกและกรรมาธิการต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และมติของที่ประชุมโดยเคร่งครัด

ข้อ 10 สมาชิกและกรรมาธิการต้องรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของสภาผู้แทนราษฎร และไม่กระทำการใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติและสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ 11 สมาชิกและกรรมาธิการต้องกล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรม ยึดมั่นหลักการในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติใด ๆ

สำหรับบทลงโทษนั้น เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานแล้วพบว่ามีความผิดจริยธรรมก็มีวิธีดำเนินการอยู่ 2 ระดับ ระดับแรกคือความผิดขั้นพื้นฐานหรือการผิดจริยธรรมลักษณะไม่ร้ายแรง ให้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะลงโทษโดยการตักเตือน ตำหนิ ให้ขอโทษต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์ โดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุดและให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับทราบ

และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติด้วยคะแนน 2 ใน 3 ว่า ส.ส.หรือกรรมาธิการผู้ใด ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและเมื่อที่ประชุมสภามีมติ เห็นชอบตามที่คณะกรรมการเสนอด้วยเสียง 2 ใน 3 ให้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป หรือส่งฟ้องไปยังศาลฎีกา  ซึ่งผลในทางกฎหมายอาจทำให้ผู้นั้นสิ้นสภาพการเป็น ส.ส. และตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5-10 ปี ทั้งนี้ตัวร่างประมวลจริยธรรมฉบับดังกล่าวยังจะต้องผ่านการพิจารณาชั้นแปรญัตติของสภา ก่อนที่ที่ประชุมจะให้ความเห็นชอบประกาศ

อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้