สหรัฐโหวตไม่รับรองต่อต้านเหยียดผิว?!?สวนมติเสียงส่วนใหญ่UN เรียกร้องสิทธิฯประเทศอื่น ขณะในประเทศเหยียดผิวฝังราก

3262

เมื่อเร็วๆนี้ยูเอ็นเสนอมติให้มีการร่วมมือกันทั่วโลก เพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ แต่สรุปผลการลงมติกลายเป็นว่า ประเทศที่โฆษณาเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างสหรัฐฯและพันธมิตรจำนวน 14 ประเทศปฏิเสธโดยโหวตไม่รับรองมติ “ต่อต้านการเหยียดผิว” นี่หมายถึงอะไร? ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นธาตุแท้ทางความคิดและ ทัศนคติต่อเพื่อนมนุษย์ของกลุ่มประเทศหัวขบวนที่เรียกตนเองว่าประเทศพัฒนา ทั้งยังประกาศก้องโลกว่า เป็นประเทศที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยเป็นที่สุด ภายใต้คำพูดสวยหรูโฆษณาชวนเชื่อ และใช้เป็นอาวุธคุกคามประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมสยบตามวาระผลประโยชน์ของตน

 

การลงมติครั้งนี้มีประเทศที่เห็นชอบ – 106 ปท. ไม่เห็นชอบ – 14 ปท. งดออกเสียง – 44 ปท. ประเทศเหล่านี้อยู่ในที่ประชุม แต่ไม่ลงคะแนนเสียง ยังมีที่ไม่ลงคะแนนเสียงอีก 29 ประเทศซึ่งอาจไม่เข้าประชุม จากจำนวนปท.สมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งสิ้น 193 ปท.มีจำนวนมากกว่า 100 ปท.ที่ลงมติเห็นชอบ

ประเทศที่ออกเสียงคัดค้าน ได้แก่สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และอื่นๆซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับมหาอำนาจสหรัฐฯ ได้แก่ 1.อิสราเอล  2.ฝรั่งเศส   3.เยอรมัน  4.เนเธอร์แลนด์  5. สาธาณรัฐปชต.คองโก 6. สาธารณรัฐเช็ค 7. หมู่เกาะมาร์แชล 8. นาอูรู 9.กิอาน่า 10. สโลเวเนีย  ประเทศเหล่านี้ต่างเรียกร้องให้ ประเทศอื่นรักษาสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ประชาธิปไตยทั้งสิ้น

ประเทศที่เห็นชอบได้แก่ ประเทศจีน ประเทศไทยและเพื่อนบ้านอาเซียนอีก 9 ประเทศลงมติเห็นชอบทั้งหมด

มองความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศมหาอำนาจสหรัฐ ผู้นำพันธมิตรตะวันตกที่เชิดชูสิทธิมนุษยชนเหนือสิ่งอื่นใดว่าคำพูดและท่าทีของผู้นำสหรัฐฯช่างสวนทางกับความจริงที่เกิดขึ้นในประเทศ และการลงมติไม่เห็นชอบให้ทั่วโลกคัดค้าน ต่อต้านการเหยียดผิวได้กระชากหน้ากากลวงโลกของสหรัฐอย่างหมดเปลือก?

วันที่ 20 มี.ค.2564ปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐแถลงการณ์เรียกร้องชาวอเมริกันร่วมต่อต้านความเกลียดชัง โดยเตือนว่า “การเงียบของเราคือการสมรู้ร่วมคิด” ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับปัญหาเหยียดสีผิวคนเอเชียนอเมริกัน ที่ขยายตัวรุนแรงขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

นายไบเดน และนางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางเยือนรัฐจอร์เจีย เพื่อพบปะกับผู้นำชุมชนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย หลังเกิดเหตุกราดยิงในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เมื่อวันที่ 16 มี.ค. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเชื้อสายเอเชีย 6 ราย แม้ตำรวจยังไม่ได้ว่าสรุปเรื่องแรงจูงใจในการก่อเหตุ แต่การก่ออาชญากรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความเกลียดชังทางเชื้อชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคนเอเชียถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อไวรัสชนิดนี้ ปากพาพังของอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์เป็นเพียงการขุดคุ้ยความเกลียดกลัวคนต่างเชื้อชาติผิวสี ที่ฝังรากลึกในสังคมอเมริกันมายาวนานเท่านั้น

รากเหง้าความคิดแบบ “คนขาวสูงสุด” หรือ White Supremacy : ฃึ่งนิยามแบบกว้างจะพูดถึง White Supremacy ที่รวมคนผิวขาว คนยุโรป ที่มองว่าตนเป็นกลุ่มคนพิเศษ ได้รับสิทธิพิเศษ อยู่เหนือคนเชื้อสายอื่นชนชาติอื่น ควรเป็นผู้ปกครอง เป็นที่มาของการดูหมิ่นคนอื่น มองคนชนชาติอื่นว่าต้องเป็นเบี้ยล่าง เป็นทาส แต่ในมุมกลับกันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้หากคนผิวขาวตกเป็นเบี้ยล่าง เสียประโยชน์ ความเชื่อ White Supremacy ผูกโยงกับหลักคิดการยึดอาณานิคม จักรวรรดินิยมอเมริกา-ยุโรป เห็นว่าการที่คนผิวขาวไปยึดหรือปกครองอาณานิคมที่อื่นๆ เป็นความถูกต้องชอบธรรม

การเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือทัศนคติส่วนตัวเท่านั้น แต่เป็นพัฒนาการ เป็นประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องยาวนาน มีการถ่ายทอดหลักคิดวิธีการจากรุ่นสู่รุ่น เป็นวัฒนธรรมหรือค่านิยมของกลุ่มคน คนขาวเหล่านี้ไม่คิดว่าการแบ่งแยกเช่นนี้เป็นปัญหา เมื่อไม่เป็นปัญหาจึงต้องรักษาไว้ ไม่ต้องแก้ไข

กว่า 240 ปีที่สหรัฐประกาศเอกราช หลักนิยมการปกครองอเมริกาคือ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมและประชาธิปไตย แต่ยังเป็นเพียงเป้าหมายเชิงอุดมคติเท่านั้น เพราะคนจำนวนหนึ่งยึดหลัก White Supremacy ฝังรากลึกอยู่ในสังคมวัฒนธรรมของประเทศตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศเสียอีก

สถานการณ์ล่าสุดที่สหรัฐอเมริกา ปีที่แล้วปัญหาเหยียดผิวสีต่อคนอเมริกัน-อาฟริกันขยายกว้างจนเกิดการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศ พอมาปีนี้กระแสเกลียดชัง เอเชียนอเมริกันผุดขึ้นอย่างมาก 

เกิดเหตุการณ์อาชญากรรมสุดช็อค ทำร้ายคนไทยและคนอเมริกันเชื่อสายเอเชีย ถึงขั้นทำร้ายร่างกาย ปล้นทรัพย์ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และถี่ขึ้นในปีนี้ สะท้อนปัญหาอคติและเลือกปฏิบัติของคนอเมริกันต่อคนต่างเชื้อชาติอย่างชัดเจน สมัยอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ กระบวนการต่อต้านการเหยียดผิว คนอเมริกันเชื้อ  สายอาฟริกันเฟื่องฟู และทั่วโลกรับลูกสนับสนุนกันเต็มที่ พอมาถึงสมัยของปธน.โจ ไบเดน การเหยียดเชื้อชาติ ทำร้ายถึงขั้นเอาชีวิต ขยายมาสู่ชาวเอเชีย-แปซิฟิก ไม่เว้นคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียขยายตัวอย่างกว้างขวางเด่นชัด

ล่าสุด กลุ่มชาวไทยและเอเชียในสหรัฐฯรวมพลัง เรียกร้องความยุติธรรมและต่อต้านอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่มีต่อชาวเอเชียในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้น แต่รัฐบาลสหรัฐกลับเดินหน้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยและเมียนมา เป็นเป้าหมายสำคัญทางยุทธศาสตร์ต้านจีน เพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐล้วนๆ และแน่นอนข้อหาใหญ่ที่ใช้ฟาดฟันคือ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่เป็นไปตามหลักสากล ช่างตรงกันข้ามกับความจริงในประเทศสหรัฐแบบถึงที่สุด!