ย้อนแย้ง เกินรับไหว!!! มวลชน เสียงแตก เริ่มสงสัย จี้ถาม “ปลดแอก” ทำไมการชุมนุม มีแต่ความรุนแรง แล้วชอบอ้างว่าสันติ?

2778

หลังจากที่ในเพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH ได้เคลื่อนไหวอีกครั้ง ในวันที่ 30 มี.ค. 64 และได้โพสต์ถึงแนวทางของ REDEM ระบุว่า แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีแกนนำปราศรัย

แต่การเคลื่อนไหวของ REDEM ก็มีทีมงานพร้อมช่วยเหลือและจัดการ การชุมนุม การชุมนุมของ REDEM 2 ใน 3 ครั้งที่ผ่านมา พบว่า หากเป็นชุมนุมในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับใจกลางปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน (พื้นที่ใกล้วัง) การชุมนุมนั้นจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ซึ่งขัดต่อหลักสากลอย่างสิ้นเชิง รวมถึงการดักทำร้ายผู้ชุมนุม REDEM จากกลุ่มปกป้องสถาบันฯ

ทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะนำข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากปัญหาข้างต้นไปปรับปรุงแก้ไขในการเคลื่อนไหวของ REDEM ต่อไป โดยในการชุมนุมครั้งต่อไป REDEM ได้นำปัญหาเหล่านั้นมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข ซึ่งนำมาสู่ Protocol ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

1. การต่อสู้ที่ไม่เน้นตัวบุคคล : การเคลื่อนไหวในรูปแบบ Restart Democracy หรือ REDEM เป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่มวลชนเป็นเจ้าของร่วมกัน ภายใต้เงื่อนไขของการไม่มีแกนนำ แต่มีการจัดการจากทีมงานที่อยู่หน้างาน รวมถึงการประสานการเคลื่อนไหวกับผู้ชุมนุมผ่าน Telegram และ Facebook

2. หลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่พร้อมปกป้องตนเองและผู้ชุมนุมคนอื่นหากเกิดอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงโดยไม่จำเป็นและการฉวยโอกาสใช้ความรุนแรงจากรัฐ การชุมนุมของ REDEM จะไม่มีการใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตามเราไม่ปิดโอกาสที่จะปกป้องตนเองและมวลชนจากการใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายรัฐ

3. ยืนยัน 3 ข้อเรียกร้อง จำกัดอำนาจสถาบันกษัตริย์ ขับไล่ทหารออกจากการเมือง และทำลายทุนผูกขาด ลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

หากต้องการร่วมต่อสู้และร่วมโหวตการนัดหมายที่ใกล้จะมาถึงของ REDEM โปรดเข้ากลุ่มเทเลแกรม

ทั้งนี้เพจเยาวชนปลดแอก ซึ่งมีนายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี หรือ ฟอร์ด เป็นแกนนำ ได้ออกแถลงการณ์ว่า ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของม็อบรีเด็ม ซึ่งสวนทางกับการเคลื่อนไหวในโซเชียลของเพจเยาวชนปลดแอกที่มีการชี้นำบงการผ่านเทเลแกรมกลุ่ม “REDEM” ที่ก่อเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามพบว่า ในโพสต์ดังกล่าวนี้ ได้มีคอมเม้นต์จากคนที่เคยไปร่วมชุมนุมกับกลุ่ม “รีเด็ม” เริ่มเสียงแตก แบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่าย มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย โดยมีคอมเม้นต์ ดังนี้

ปัญหาที่ต้องตอบให้ได้คือ ถ้ารัฐไม่ตอบสนองใด ๆ ต่อข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั้น
แล้วจะยังไงต่อ ? ในเมื่อมวลชนที่ออกมา คือออกมา “เรียกร้อง” ซึ่งไม่ได้อยู่ในสภาวะที่มี ความกดดันมากพอ
หรือสภาพบังคับอื่นใด ที่รัฐจะยอมตอบสนอง หรือว่าจะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ฝ่ายเรียกร้องก็เรียกร้องไป ฝ่ายกุมอำนาจก็ก็หน้าด้านต่อไป
แล้วมันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง?

ผมอยากให้ข้อคิดเห็นว่า ทางทีมงานควรเขียนแผนเป็นขั้นบันได 1-2-3-4 เพิ่มระดับความกดดันไปเรื่อย ๆ
ซึ่งแน่นอนมันต้องทำใจยอมรับให้ได้ว่า เมื่อถึงจุด ๆ นึง หากยังไม่ได้รับการตอบสนอง มันต้องมีจุดแตกหัก ซึ่งมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณต้องเอาความจริงตรงนี้มาอธิบายให้มวลชนเข้าใจ

บอกหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่สองครั้งของ redem มันแรง กว่าทุกๆ ครั้ง ที่ม็อบเยาวชนจัดมา.. ม็อบ 24 มีนาที่อีกกลุ่มจัดก็สงบมีแต่คนชื่นชม..อะไรคือรูปธรรมในการจัดการไม่ให้เกิดความรุนแรง

มึนแล้ว กลุ่มเยอะเกิน สามข้อเรียกร้องไม่ใช่ ประยุทธ์ออก แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันหรอ ผมว่าอย่างแรกเลย คือแต่ละกลุ่มควรประชุมและหารือข้อสรุปเดียวกันออกมาให้ได้ก่อนน่าจะสร้างความเชื่อมั่นและลดความสับสน ให้ผู้ชุมนุมมากกว่านะครับ

พอเถอะครับ ผมคิดว่ามันไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ยิ่งชุมนุมยิ่งสูญเสีย ผมไม่อยากเห็นพวกคุณต้องมาโดนจับอีกแล้ว สถานการณ์มันไม่ค่อยเป็นใจ

ถ้าไม่ลด ข้อเรียกร้องเหลือ 2 ข้อ คือ ร่างรัฐธรรมนูญ กับ ประยุทธ์ลาออก ไม่มีทางชนะแน่นอนชาตินี้