Truthforyou

ย้อนรอย “จตุพร” นำม็อบเสื้อแดง เสี่ยงคุกทุกครั้ง-แพ้ทุกสนาม พามวลชนไม่เคยถึงฝั่ง!?

จากกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. กล่าวสรุปในเวทีเสวนา “สามัคคีประชาชน เพื่อประเทศไทย” จัดโดยคณะญาติวีรชนพฤษภาทมิฬ และ 30 องค์กรประชาธิปไตย

ซึ่งมีนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ภาคสังคม เข้าร่วมระดมความเห็น หลังจากที่ใช้เวลา หารือกว่า 3 ชั่วโมง โดนระบุว่า วันที่ 4 เมษายน 2564 เวลา 16.00 น. ขอนัดที่อนุสาวรีย์วีรชนพฤษภา 35 มีกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนจัดองค์กร และระหว่างนี้ต้องเดินสายพูดคุยกับผู้ที่เห็นต่างกันในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ได้ความสามัคคีประชาชน จัดการกับพล.อ.ประยุทธ์ให้อยู่หมัด และหลังจากการหารือวันที่ 4 เมษายน แล้ว เชื่อว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้หากสามารถให้ 3 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคภูมิใจไทย, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทยพัฒนา หากถอนจากการร่วมรัฐบาลได้ จะไม่ต้องลงถนน แต่หากหมดหนทางต้องขับไล่พล.อ.ประยุทธ์

“ประชาชนแต่ละภาคส่วนจะไม่ขัดแย้งกัน ต้องสามัคคีกัน ทั้งนี้ศึกนี้อีกยาวนาน เมื่อพร้อมเราจะรบ รู้ว่าพฤติกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ และคณะไม่เหมือนเผด็จการที่เราเคยเห็น” นายจตุพร กล่าว.

สำหรับนายจตุพรนั้น เคยเป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน หลังจากนั้นได้เดินบนเส้นทางการรเองเต็มตัว และมีส่วนในการร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย

นายจตุพรเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการของประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ต่อมาเข้าร่วมเป็น 1 ใน 8 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่เคลื่อนไหวต่อต้าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ต่อมาได้เข้าสังกัดกับพรรคพลังประชาชนพร้อมกับลงรับสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนลำดับที่ 4 ของกลุ่ม 6 ที่ประกอบด้วยพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในสมัยแรก

หลังการยุบพรรคพลังประชาชน และการจัดตั้งรัฐบาล โดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ จตุพรทำหน้าที่สมาชิกฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และยังคงร่วมงานกับกลุ่ม นปช. อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมขึ้นปราศรัยในฐานะแกนนำ ภายหลังเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 จตุพรถูกออกหมายจับพร้อมกับแกนนำคนอื่นๆ ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 เพื่อกดดันให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ นายจตุพรเข้าร่วมเป็นแกนนำการชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยผลปรากฎว่าถูกสลายการชุมนุม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งสิ้น 87 ศพ เป็นประชาชน 79 คน และทหาร 8 นาย ได้รับบาดเจ็บ อย่างน้อย 2,100 คน และนายจตุพร ถูกออกหมายจับเมื่อการชุมนุมสิ้นสุดลง โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกันตัวไป

ต่อมาในการชุมนุมที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 จตุพรปราศรัยหมิ่นเหม่ เข้าข่ายหมิ่นต่อสถาบันพระมหาากษัตริย์ ซึ่งต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนญฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นการกล่าวในที่สาธารณะ ส่งผลให้จตุพรถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีคำวินิจฉัยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบกับมาตรา 101(3) รวมถึงสิ้นสุดความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

โดยในปี พ.ศ. 2556 นายจตุพร พรหมพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประธาน นปช. ต่อจากนางธิดา ถาวรเศรษฐ โดยนายจตุพร ได้จัดชุมนุมเสื้อแดงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน พร้อมประกาศว่าจะไม่ยุติการชุมนุม หาก กลุ่มกปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เลิกชุมนุม โดยการชุมนุมของ กปปส.นั้นยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงปี 2557 ซึ่งนายจตุพรเองก็มีการจัดชุมนุมเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีการโจมตีการชุมนุมของกปปส.อยู่ตลอด

จนกระทั่ง วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน พ้นจากตำแหน่ง วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 3 นาฬิกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร อีกสองวันต่อมา กองทัพรัฐประหารรัฐบาลรักษาการ และให้ผู้ชุมนุมสองฝ่ายยุติการชุมนุม

ทั้งนี้นายจตุพรตกเป็นจำเลย ในคดีความต่าง ๆ หลายคดี โดยมีการตัดสินจำคุกหลายครั้ง

อย่างไรก็ตาม จากการเปิดหน้าเป็นแกนนำการชุมนุมเพื่อข้อเรียกร้องต่างๆ ตลอดเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า แทบจะไม่มีครั้งไหนเลยที่การชุมนุมเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายของนายจตุพรและแนวร่วมเลย อีกทั้งยังมีของแถมเป็นคดีความอีกหลายคดี ดังนั้นการที่นายจตุพรเปิดตัวกลับมาเดินเส้นทางสายแกนนำอีกครั้ง จึงเป็นที่จับตามองๆของทุกๆฝ่าย และปัจจุบัน กลุ่มนปช.นั้นได้แตกสลายไปหมดแล้ว ฉะนั้น ต้องจับตาดูว่าการออกมานำม็อบรอบใหม่ของนายจตุพร จะเป็นการปลุกคนขึ้นมาหรือหมดสภาพซ้ำ เพราะม็อบเด็กไปไม่ไหว คนรุ่นแก่จึงต้องออกมานำใหม่?

Exit mobile version