“พิธา-ก้าวไกล” ดิ้นพล่าน สภาปัดตกแก้ม.112 ชี้ชัดขัดรธน.! ยังเหิมไม่หยุดจะลุยต่อ แม้รู้คนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย

3406

จากกรณีที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค ก้าวไกล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง พรรคก้าวไกลยืนยัน การแก้ ม.112 ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพื่อปกป้องเสรีภาพประชาชน-คุ้มครองประมุขให้ได้สัดส่วน “ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ”

โดยมีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า

หลังจากที่พรรคก้าวไกลได้เสนอชุดร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน 5 ฉบับเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ทางกลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 สำนักการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความมายังพรรคก้าวไกลว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อให้มีการยกเว้นความผิดและการยกเว้นโทษต่อความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์นั้น “เป็นการขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญมาตรา 6” ซึ่งบัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”

วันนี้ (25 มีนาคม 2564) พรรคก้าวไกลยืนยันยื่นร่าง พ.ร.บ ฉบับเดิมเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และได้ทำหนังสือตอบกลับความเห็นดังกล่าวเพื่อชี้แจงว่า การแก้ไขมาตรา 112 โดยบัญญัติให้มีการยกเว้นความผิดและการยกเว้นโทษว่า “ผู้ใดติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้นั้นไม่มีความผิด” และ “ความผิดฐานในลักษณะนี้ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามมิให้พิสูจน์ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว แล้วแต่กรณี และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”

โดยนายพิธาอ้างว่า การแก้ไขดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติในมาตรา 6 แต่อย่างใด

พิธา ลั่นไม่เข้าร่วม!! หากพรรคจัดชุมนุมผิดกฎหมาย ปิดสถานที่ราชการ

ทั้งนี้นายพิธาชี้แจงว่า เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ” นั้น มีความมุ่งหมายเพียงเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติให้แก่องค์พระมหากษัตริย์ ส่วน “ผู้ใดจะละเมิดมิได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงการห้ามแสดงความคิดเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์ แต่หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่อาจถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องได้ ดังที่ได้ขยายความให้ชัดเจนไว้ในบทบัญญัติมาตราเดียวกันว่า “ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้”

และได้วิพากษ์วิจาร์ณความเห็นของกลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 ว่าเป็นการตีความเกินตัวบทและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญและกฎหมายของไทย

ทั้งนี้นายพิธาพยายามแสดงข้อมูลให้เห็นว่า ประมวลกฎหมายมาตรา 112 นั้น ไม่ทันสมัย และอ้างว่าหลายประเทศยกเลิกกฎหมายลักษณะนี้ไปแล้ว แต่ในรัฐธรรมนูญก็ยังคงมีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญไทยอยู่

และยังโจมตี ความเห็นของกลุ่มงานพระราชบัญญัติและญัตติ 1 ว่า การตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112ให้เชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 จะยิ่งส่งผลให้การบังคับใช้มาตรา 112 มีลักษณะคลุมเครือและขยายความกว้างขวางเกินกรอบของฐานความผิดในกฎหมายอาญาตามปกติ

คาบลูกคาบดอก : วันรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญปี 60

แต่นายพิธากลับยกกฎหมายในสมัย ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ขึ้นมาเปรียบเทียบ เพื่อหาความชอบธรรมให้กับบัญญัติให้มีการยกเว้นความผิดและการยกเว้นโทษผู้กระทพความผิดตามมาตรา 112 โดยระบุว่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ยังคงบังคับใช้อยู่ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งในระหว่างนั้นก็มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย ประเด็นหนึ่งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม คือ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 104 ให้มีบทบัญญัติยกเว้นความผิดแม้จะเป็นฐานความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ หากเป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 อันมีบทบัญญัติตามมาตรา 3 ความว่า “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” แล้ว

“เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากทั้งบทบัญญัติ เจตนารมณ์ และประวัติศาสตร์ของกฎหมายและรัฐธรรมนูญไทยแล้ว พรรคก้าวไกลจึงเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 112 ให้มีบทบัญญัติยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษ ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 การตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อรักษาพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ จะต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองประมุขของรัฐกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน”

เปิดวิสัยทัศน์ 'หัวหน้าพรรคก้าวไกล' ลั่นประกายไฟแห่งความหวังเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมถูกปลุกขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พรรคก้าวไกลพยายามที่จะสั่นสะเทือนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้มีนโยบายที่โจมตี ขัดขวาง สถาบันพระมหากษัตริย์ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่
โดย เมื่อครั้งการลงมติอนุมัติ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นหน่วยงานบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ส.ส.ที่ไม่อนุมัติจำนวนดังกล่าว เป็น ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ทั้งหมด ซึ่งนำโดย นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ในขณะนั้น อภิปรายทักท้วงว่าการออกพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว ทั้งที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวนั้นเป็นการถวายความปลอดภัยประมุขของประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สภาฯเห็นชอบ "พรก.โอนย้ายกำลังพล" ด้าน "ปิยบุตร" ประกาศชัดไม่รับกม.ชี้ ขัดรธน.172 สยามรัฐ

อีกทั้ง พรรคก้าวไกล ได้มีการเสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณก้าวหน้า อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในสัดส่วนของพรรค

ไร้สาระ! 'ธนาธร' โต้ชาวเน็ตยกสงครามอิหร่าน ติงเลิกเกณฑ์ทหาร สยามรัฐ

เห็นได้ชัดว่า นโยบายตั้งแต่ครั้งยังเป็นอนาคตใหม่จนกระทั่งเป็นพรรคก้าวไกลนั้น หนึ่งในแนวทางหลักเสมอมา คือการโจมตี ขัดขวาง และลดทอนบทบาทของประมหากษัตริย์ โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลนั้น ที่หมกมุ่นกับการแก้ไขมาตรา 112 และการยังสนุบสนุุนม็อบที่ชูธงปฏิรูปสถาบันตลอดมา