ตามรอยคานธี เปิดวิถีต่อสู้ ฟาดหน้าชาญวิทย์แก่แล้วเพ้อเจ้อ นำเทียบเพนกวิน

2659

จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ได้ประกาศว่า ตนขอประท้วงด้วยการอดข้าวดื่มแต่น้ำ จนกว่าจะได้รับการประกันตัว

จนต่อมามีรายงานว่า ผลการตรวจร่างกายอื่น ๆ พบว่า ยังมีระดับความรู้สึกตัวที่ดี มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อยจากการอดอาหาร โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้รับประทานอาหารอื่นทดแทน อาทิ ขนมปัง นม น้ำหวาน เกลือแร่ เพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ต่อมา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในนักวิชาการที่สนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” และคอยหนุนม็อบสามนิ้ว ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า อดอาหารประท้วง = อารยะขัดขืน = สัตยาเคราะห์แบบมหาตมะคานธี Gandhi’s Satyagraha

ทั้งนี้เพื่อประชาธิปไตย เอกราช เสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพ ของชาติและราษฎรไทย ยึดมั่นแนวทางแห่งสันติประชาธรรม…สัตยาเคราะห์ คือวิธีการต่อสู้แบบอหิงสา ของท่านมหาตมะคานธี ที่ท่านถือปฏิบัติเพื่อชาติและประชาราษฎรอินเดีย ในการต่อสู้จนประสบชัยชนะระหว่างปี 2412-2491

แนวความคิดและวิธีการนี้ มีอิทธิพลต่อ มาร์ติน ลูเธอร์ คิงเนลสัน มันเดลา และป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทั้งยังส่งผลมาถึง คนไทยเช่น ฉลาด วรฉัตร – มหาจำลอง (พฤษภา 2535) เป็นที่น่ายินดีที่ส่งอิทธิพลมายัง Gen Z ในรุ่นของเพนกวิน ณ ทุกวันนี้

ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบนายพริษฐ์ กับ คานธี นั้น ทำให้หลายคนอยากรู้ว่า คานธีคือใคร โดย มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักในนามของ “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่” เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi)

โดย คาธี เคยมีการใช้วิธีอดอาหารเพื่อแสดงออกในการต่อสู้ เช่น

ใน ค.ศ. 1916 คานธี เริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อย จนเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ และสั่นคลอนประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย โดย คานธี ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน เพื่อสั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษ แล้วประชาชนเป็นล้าน ๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวคานธี

และเมื่อ คานธี ถูกจับกุม ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น จนเกือบกลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลัง คานธี ได้รับอิสระในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดบานปลายนี้ คานธี รู้สึกเสียใจมาก จึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วัน

ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้ง ๆ ที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู แต่องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธี จึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม จากการยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่อสู้ของคานธีที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่าคานธีนั้นประกาศอดอาหารเป็นการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ณ ตอนนั้น ซึ่งไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับกรณีที่ชาญวิทย์ยกเรื่องอดอาหารชื่นชมนายพริษฐ์ ที่อยู่ในคุก อันเนื่องมาจากการกระทำผิดกฎหมายมาตราต่าง ๆ และหนักสุดคือ ทำผิดมาตรา 112 ถึง 18 ครั้ง