Truthforyou

ฟันฉับ “หลานไอติม” เข้าร่วม “พรรคก้าวไกล” แน่นอน แกล้งทำปากแข็ง แต่พฤติกรรมที่ทำ ไม่ใช่!?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ 22 มีนาคม 64 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลานชายของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงถึงกระแสข่าวว่า ตนเตรียมเข้าร่วมงานกับพรรคก้าวไกล โดยระบุว่า

“ตามกระแสข่าวที่ออกมา ผมขอชี้แจงว่าได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับพรรคก้าวไกลจริง เนื่องจากมีจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม คล้ายกัน และที่ผ่านมา ได้ร่วมงานกับพรรคในกิจกรรมต่างๆ เช่น การรณรงค์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องนโยบายที่พรรคเชิญคนนอกไปร่วมวงคุย และล่าสุดคือการไปบรรยายเรื่องการวิเคราะห์นโยบายที่กิจกรรมพัฒนาบุคลากรของพรรค
ปัจจุบัน งานหลักของผมคือการบริหารสตาร์ทอัพด้านการศึกษา ส่วนบทบาททางการเมืองในฐานะผู้สมัคร ยังคงเป็นเป้าหมายของผมในอนาคต และเมื่อถึงวันนั้น จะแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนครับ”

ขณะ เดียวกัน ทางด้านนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกระแสข่าว นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม จะเข้าร่วมกับพรรค ก้าวไกลว่า หลังนายพริษฐ์ลาออกจากสมาชิก ปชป. และกลุ่มนิวเดม ได้ร่วมทำกิจกรรมกับก้าวไกล เพราะมีแนวทางอุดมการณ์หลายอย่างหลายตรงกัน โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายพริษฐ์ตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า และร่วมกับ 4 กลุ่มการเมือง ทั้งกลุ่มไอลอว์ คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล ตั้งกลุ่มรี-โซลูชั่น เพื่อรณรงค์การแก้ไข เท่าที่ทราบขณะนี้ นายพริษฐ์ ยังไม่ได้ ตัดสินใจจะสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลหรือไม่ แต่มีแนวโน้ม ซึ่งพรรคกำลังขับเคลื่อน แคมเปญเพื่อเปิดรับสมัครว่าที่ผู้สมัครส.ส. นอกจากนี้พรรคเปิดรับอาสาสมัครที่ต้องการจะมาช่วยงานพรรค โดยนายพริษฐ์เป็นหนึ่งในอาสาสมัครเข้ามาช่วยงาน

ทั้งนี้ นายพริษฐ์ ได้เคยร่วมกิจกรรมกับพรรคก้าวหน้ามาแล้วหลายครั้ง อีกทั้งยังมีการเข้าร่วมชุมนุมกับม็อบปลดแอกด้วย
โดยย้อนไปตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 63 ที่ผ่านมา นายพริษฐ์ เคยเข้าร่วมการชุมนุกับกับกลุ่มประชาชนปลดแอก #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ โดยมีภาพขณะที่นายพริษฐ์ร่วมลงชื่อแก้รัฐธรรมนูญ

วันที่ 19 กันยา 63 นายพริษฐ์ เดินทางเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มปลดแอก โดยนายพริษฐ์ ร่วมในเวที “ล่า 5 หมื่นรายชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ”

วันที่ 11 ตุลาคม 2563 นายพริษฐ์ ได้ร่วมกับ คณะก้าวหน้า พร้อมพรรคก้าวไกล และกลุ่มiLaw เปิดตัวกลุ่ม “Re-solution : ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่” โดยเป็นการรวมตัวของ 4 กลุ่มการเมือง ได้แก่ คณะก้าวหน้า นำโดย นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า, นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ หรือ ไอติม ผู้ก่อตั้งกลุ่ม รัฐธรรมนูญก้าวหน้า, นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการ พรรคก้าวไกล และนายยิ่งชีพ อัชชานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)

14 ตุลาคม 63 นายพริษฐ์ ได้เข้าร่วมม็อบ ร่วมม็อบ 14 ตุลา พร้อมโพสต์ข้อความระบุว่า “ไปร่วมยืนยันจุดยืนว่าการแก้ รธน คือทางออก
1. รณรงค์ข้อเสนอ #ถึงเวลาสภาเดี่ยว ให้ยกเลิกวุฒิสภา
2. พูดคุยกับ #1ใน16ล้านเสียงกลับใจ ที่เคยโหวตรับ รธน ปี 59 แต่ต้องการแก้ รธน ในวันนี้ (@iLawclub)”

สำหรับเส้นทางชีวิตของนายพริษฐ์นั้น ปัจจุบันอายุ 29 ปี เกิดในครอบครัวที่มีชื่อเสียงของไทย มารดาของเขาคือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อลิสา วัชรสินธุ (สกุลเดิม เวชชาชีวะ) และเป็นพี่สาวคนโตของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์

โดยนายพริษฐ์นั้นจบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่ออายุ 9 ปี และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษที่โรงเรียนเตรียมมัธยมศึกษาและวิทยาลัยอีตัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เกียรตินิยมเหรียญทอง (อันดับ 1 ของรุ่น) จากวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ผู้เป็นน้า

ระหว่างที่ศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2557 นายพริษฐ์ได้รับเลือกเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และประธานชมรมโต้วาทีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งทำให้กลายเป็นคนแรกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ นายพริษฐ์เป็นที่รู้จักในวงกว้างในสังคมไทยจากการมาฝึกงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2552 สมัยที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในปี พ.ศ. 2561 ได้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเริ่มต้นอาชีพการเมือง โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ นายพริษฐ์ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “นิวเด็ม” ซึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ในพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับสุรบถ หลีกภัย บุตรชายของนาย ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ บุตรชายของนาย พนิช วิกิตเศรษฐ์ และคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์

เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 13 บางกะปิ วังทองหลาง (แขวงพลับพลาเท่านั้น) ใน การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งนั้นทางพรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียที่นั่งทุกที่นั่งในกรุงเทพมหานคร โดยเขตเลือกตั้งที่ 13 นายพริษฐ์ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับที่ 4

หลังการเลือกตั้งจบลงก็มีกระแสข่าวว่าสมาชิกรุ่นอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์เตรียมเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้พริษฐ์และสมาชิกกลุ่มนิวเด็มจำนวนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์นับเป็นจุดสิ้นสุดของกลุ่มนิวเด็ม

ไม่ใช่แค่นายพริษฐ์เท่านั้น ที่มีแนวทางเอนเอียงเบี่ยงเบนจากแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์และสานสัมพันธ์กับฝั่งก้าวหน้าก้าวไกล เพราะทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้เป็นน้าชายเองก็เคยแสดงจุดยืนต่อต้านพลเอกประยุทธ์ จันโอชาเช่นกัน แถมยังคยเข้าขากับนายธนาธรเป็นปี่เป็นขลุ่ย เช่น เมื่อวันที่10 มีนาคม 62
ปรากฎภาพนายธนาธรจับมือนายอภิสิทธิ์อภิสิทธิ์พร้อมรอยยิ้ม บรรยากาศปิดท้ายเวที THE STANDARD DEBATE ในรอบโบนัส ที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองชื่นชมกันและกัน โดยนายอภิสิทธิ์ได้กล่าวชื่นชมนายธนาธร โดยระบุว่า ธนาธรนนำนายเรื่องที่ไม่เคยเป็นประเด็นทาางการเมือง มาเป็นประเด็นทางเมืองได้ เป็นวาะระนโยบายที่ทำให้สังคมต้องถกต้องคิด ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับธนาธรหรือไม่ ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี

ต่อมา วันที่ 17 มีนาคม 62 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดประชันวิสัยทัศน์ของผู้นำพรรคการเมือง โดนมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แคนดิเดตนายกฯและประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย (พท.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่

ช่วงท้ายของการประชันวิสัยทัศน์เปิดให้นักศึกษาที่เข้ารับฟังร่วมซักถาม โดยคำถามสุดท้ายถามว่า เมื่อเข้าไปในสภาหลังเลือกตั้งแล้ว จะมีเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 ที่เป็นอุปสรรคของประเทศหรือไม่ ซึ่งตัวแทนทุกพรรคยืนยันว่า จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งลุกขึ้นยืนร่วมประสานมือกันทั้ง 5 ราย และนักศึกษาผู้ถามคำถามอีก 1 รายรวมเป็น 6 รายเพื่อเป็นพันธะสัญญาลานโพธิ์

อย่างไรก็ตามเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญนั้น แต่ละพรรคมีวิธีแตกต่างกันไป โดยนายอภิสิทธิ์ เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับคุณหญิงสุดารัตน์และนายมิ่งขวัญ ส่วนนายธนาธร เสนอเรื่องการแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ ด้วยการทำประชามติ

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น ปี 2559 นายอภิสิทธิ์นั้นเคยแสดงจุดยืนค้านร่างรัฐธรรมนูญ 60 โดยแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญในนามหัวหน้าพรรค และยึดจุดยืนอุดมการณ์พรรคประชาธิปัตย์โดยระบุว่า ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ 1.ทิศทางพัฒนาไม่ชัดเจน 2.การปราบโกงยังมีช่องโหว่ และ 3. ที่มา สว. เป็นประเด็นขัดแย้งในอนาคต

การประกาศจุดยืนที่มีแนวโน้มว่าเตรียมตัวไปซบอกพรรคก้าวไกลของนายพริษฐ์นั้น ทำให้เกิดคำถามว่าหลังจากการเลือกตั้ง ปี62 ผ่านพ้นไป นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากไม่ต้องการยกมือให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเช่นกัน นายอภิสิทธิ์ยังอยู่ในประชาธิปัตย์เพื่ออะไร ในเมื่อปนวทางของพรรคประประชาธิปัตย์นั้น ไม่ตอบสนองกับจุดยืนของนายอภิสิทธิ์อีกต่อไป นายอภิสิทธิ์ไม่สนใจตามหลานชายไปซบอกจับมือกับก้าวไกลบ้างหรือ

Exit mobile version