ปัญหาในเมียนมากระทบไทยมากขึ้น ล่าสุดสื่อบริวารตะวันตกสร้างประเด็นไทยส่งเสบียงหนุนกองทัพพม่า เพื่อให้เกิดการณ์วิพากษ์วิจารร์โจมตีรัฐบาลไทย เป็นอีกยุทธวิธีบีบไทยและอาเซียนให้เปลี่ยนท่าที กดดันเมียนมาให้หนักกว่าการยืนยันไม่แทรกแซงกิจการภายในตามกฎบัตรอาเซียน
เพราะเมียนมาเป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ มีชายแดนประชิดกับจีน และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับจีนต่อเนื่องมาหลายปี ความขัดแย้งปั่นป่วนยุ่งเหยิงในเมียนมา เป็นไปตามที่ฝ่ายตะวันตกต้องการ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้จีนสามารถมีทางออกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย จากมณฑลยูนนานผ่านไปทางอ่าวเบงกอลได้ เป็นแผนการสำคัญอย่างหนึ่งในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกปิดล้อมจีนของสหรัฐฯ
สถานการณ์ความตึงเครียดในประเทศเมียนมา ทั้งการประท้วงและการปราบปรามสลายการชุมนุมประท้วงนับวันดุเดือดมากขึ้น การเคลื่อนไหวของสหรัฐและพันธมิตรตะวันตก เดินหน้ากดดันทุกภาคส่วน โดยอาศัยสื่อบริวารทั้งต่างประเทศและในประเทศโหมกระพือข่าว สร้างภาพให้รัฐบาลเฉพาะกาลของเมียนมาเป็นรัฐล้มเหลว ทั้งทางการเมืองภายในประเทศ การเมืองระดับนานาชาติสากล ยังคงเหลือพันธมิตรอาเซียน ที่ยังดำรงท่าทีความเป็นกลางไม่แทรกแซงกิจการภายในกัน เท่ากับไปขวางการรุกคืบของฝ่ายตะวันตกอีกทางหนึ่ง
จึงเปิดเกมใหม่ เมื่อมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติ ยังไม่สะเทือนรัฐบาลเมียนมา อาจด้วยความคุ้นชินที่ถูกคว่ำบาตรมาโดยตลอด ขยายตัวสู่มาตรการกดดันด้านเศรษฐกิจปากท้องของชาวบ้าน สื่อนอกและสื่อไทยที่เป็นเครือข่ายตะวันตกหลายฉบัย พากันโหมโจมตีกองทัพไทย และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยว่า สนับสนุนเสบียงกองทัพเมียนมา บทรายงานส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเอื้ออาทรต่อกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาอย่างเต็มที่ ภายใต้ข้อหา “เผด็จการ-ไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน”
แม้เรื่องการค้าขายชายแดน ไทย-เมียนมาที่ทำกันมาตามปกติ ก็ถูกย้อมสีให้เป็นเรื่องไทยส่งสเบียงไทยหนุนกองทัพพม่าไม่อยู่ข้างประชาชน จนทางนายกรัฐมนตรีและกองทัพไทยต้องมาแถลงข่าวปฏิเสธรายงาน เรื่องการส่งข้าวสาร 700 กระสอบ ไปช่วยกองทัพพม่าชายแดนริมแม่น้ำสาละวิน ความจริงก็คือ การขนส่งข้าวสารตามเป็นการค้าขายตามพรมแดนตามปกติแบบเปิดเผย โดยแม่ทัพภาค 3 พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ ชี้แจงว่า “นี่ไม่ใช่การส่งเสบียงให้ทหารเมียนมา แต่ทางเมียนมาฝากซื้อข้าวของ ข้าวสาร ของใช้ต่างๆ จากฝั่งไทยเป็นปกติอยู่แล้ว”
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันเสาร์ที่20 มี.ค.2564 ว่า การช่วยเหลือใดๆ โดยตรงที่ออกมาจากไทยไปยังพม่าที่อยู่ภายใต้การรัฐประหารนั้น จะเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักออกมาจากนานาชาติ โดยเฉพาะโลกตะวันตกที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลนางอองซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยพม่า และเช่นเดียวกัน บีบีซีภาคภาษาไทยยิ่งย้อมสีให้เข้มข้นขึ้นอีกว่า
กะเหรี่ยง KNU อ้างว่า การปิดล้อมพื้นที่ในเขตอิทธิพลของ KNU ในเมียนมา ทำให้กองทัพเมียนมาต้องหันมาลำเลียงสินค้าผ่านทางไทยแทน
ว่าเข้าไปนั่น ทั้งพ่อค้า ชาวบ้านและทางการเมียนมาเค้าซื้อขายสินค้ากันระหว่าง ชายแดนไทย-และเมียนมามานาน เรื่องเดียวกันแต่บิดมุมมองให้เป็นเรื่องร้ายแรง เพียงเพราะต้องการเอาชนะทางการข่าว ทางการเมือง ไม่สนใจเรื่องความลำบากเดือดร้อนของประชาชนที่ยังต้องดำเนินชีวิตประจำวัน ยังต้องกินข้าว ใช้ของจำเป็นอยู่
ซึ่งชายแดนไทยที่ติดกับรัฐฉาน สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS หรือ SSA) ที่นำโดยพลเอกเจ้ายอดศึก ประกาศให้การคุ้มครองผู้ที่หลบหนีการกวาดจับจากทางการพม่า ทำให้สถานการณ์หลายพื้นที่เกิดความตึงเครียด
ในเรื่องนี้พลเอกเจ้ายอดศึก เปิดเผยว่า ยังไม่มีรายงานว่า บริเวณชายแดนรัฐฉาน-ไทย มีการขนส่งเสบียงให้กับทหารพม่าแต่อย่างใด
ในด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐบาลเฉพาะกาลของเมียนมา คาดว่าการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านและในเอเชียจะยังดำเนินต่อไป แม้จะถูกคว่ำบาตรจากทางตะวันตก
อ่อง นายง์ อู (Aung Naing Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของสหภาพแรงงานกล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว Bloomberg ว่า “เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ เราคาดว่านักลงทุนดั้งเดิมจะยังคงทำธุรกิจที่นี่ รัฐบาลของพวกเขาไม่ได้บอกให้ บริษัทของพวกเขาไม่ลงทุนหรือทำธุรกิจในเมียนมา ดังนั้นเราจึงคาดหวังว่านักลงทุนจากประเทศเหล่านี้จะยังคงมาที่นี่ต่อไป”
เมียนมาไม่ได้เพิ่งจะมาถูกคว่ำบาตรหลังการรัฐประหาร แต่ความสนใจในการลงทุนจากตะวันตกลดลงหลังจากรัฐบาลลพเรือนของเมียนมาและกองทัพถูกกล่าวหาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาตั้งแต่ปี 2560 หลังจากนั้นเมียนมาได้มุ่งเน้นไปที่ประเทศต่างๆในเอเชีย เช่น สิงคโปร์และจีนเพื่อแสวงหาการลงทุนจากต่างประเทศ
อ่อง นายง์ อูซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงในสมัยรัฐบาลพลเรือนมาตั้งแต่ต้นปี 2016 กล่าวว่า
“การประกันความปลอดภัยและการคุ้มครองโครงการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญของเรา นั่นคือเหตุผลที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยถูส่งไปในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้นเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้น เราจะปกป้องพวกเขาไม่ให้ถูกทำลาย”
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2016-17 จนถึงเดือนมกราคม 2021 การลงทุนจากสหรัฐและยุโรปมีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือน้อยกว่า 8% ของ FDI ที่ไหลเข้ามาในประเทศเมียนมาทั้งหมด การลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานั้นคือ 45% มาจากสิงคโปร์ตามด้วยจีนที่ 14%