Truthforyou

ม็อบ 20 มีนา ไปต่อยากแล้ว? อีก13 แกนนำคอพาดเขียง อัยการนัดวันสั่งฟ้องม.112 เซ่นชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมัน!?!

ม็อบ 20 มีนา ไปต่อยากแล้ว? อีก13 แกนนำคอพาดเขียง อัยการนัดวันสั่งฟ้องม.112 เซ่นชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมัน!?!

จากกรณีที่ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้ประกาศนัดหมายการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 มีนาคม เวลา 18.00 น. ที่สนามหลวง โดยให้ผู้ชุมนุมร่วมพับเครื่องบินกระดาษ ทำเป็นจดหมายพาดพิงสถาบัน ส่งข้ามรั้ววัง โดยบอกว่า การต่อสู้ของผู้ถูกกดขี่ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ร่วมลั่นกลองรบและเคลื่อนพลไปพร้อมกัน และยุติการชุมนุมในเวลา 21.00 น. ไม่มีการเดินขบวน ไม่มีแกนนำ โดยภายในงานประกอบด้วยไฮไลท์คือ “ส่งสาสน์เรียกร้องให้มีการจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ” ร่วมกันแสดงพลังหยุดระบอบกษัตริย์เหนือรัฐธรรมนูญและทวงคืนประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน

ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ หลายคนมองว่า ม็อบไปต่อยากแล้ว เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจ กำลังเก็บหลักฐาน ทั้งเอกสาร วิดีโอ และภาพถ่าย เหตุการณ์การชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมัน ย่านสาทร กทม. เมื่อค่ำวันที่ 26 ตุลาคม 2563

โดยวันนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้นัดรวมตัวกันอยู่บริเวณแยกสามย่าน และจัดการปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ จนกระทั่งเวลา 18.00 น.จึงเริ่มมีการเคลื่อนขบวน ไปตามถนนพระราม 4 ผ่านแยกอังรีดูนังต์ เข้าสู่ถนนสาทรใต้ โดยมีการหยุดเดินเป็นระยะๆ จนกระทั้งเวลาประมาณ 18.50 น.หัวขบวนได้ไปถึงหน้าสถานทูตเยอรมันแล้ว

หลังจากที่ กลุ่มผู้ชุมนุมมเดินทางมาถึงสถานทูตเยอรมัน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 กองร้อยคอยดูแลความปลอดภัย ต่อมากลุ่มมวลชนได้ส่งตัวแทน 3 คน นำโดย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน และนางสาวภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ ยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่สถานทูต ก่อนที่จะอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตในเวลา 20.00 น. โดยการแถลงการณ์นี้เป็นภาษาไทย อังกฤษ และเยอรมัน ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงสถาบันฯ ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมได้ชูป้ายไวนิลพื้นสีดำพร้อมข้อความ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” หน้าสถานทูตด้วย

ซึ่งม็อบในวันที่ 26 ตุลาคมนั้น มีแกนนำผู้ชุมนุมประมาณ 16 คน ที่อาจเข้าข่ายถูกดำเนินคดี โดยแยกเป็นกลุ่มดังนี้ คือ กลุ่มยื่นเอกสารต่อนายจอร์จ ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย นายจตุพัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน นายวรินทร์ แพททริค แมคเบลน และน.ส.ภัศราวลี ธนกิจวิบูลย์หล หรือมายด์ อีกกลุ่มคือกลุ่มแกนนำผู้ชุมนุมที่อ่านแถลงการณ์ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน มีทั้งหมด 12 คน กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มผู้ปราศรัย เบื้องต้นมี 2 คน คือน.ส.ภัศราวลี หรือ มายด์ และ นายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่

1.น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ หรือมายด์
2.นายกรกช แสงเย็นพันธ์ หรือปอ
3.นายชนินทร์ วงษ์ศรี
4.น.ส.เบญจา อะปัญ
5.นายวัชรากร ไชยแก้ว
6.นายณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
7.นายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่
8.นายอัครพล ตีบไธสง
9.นายกฤษพล ศิริกิตติกุล
10.น.ส.สุธินี จ่างพิพัฒน์นวกิจ
11.น.ส.รวิสรา เอกสกุล
12.น.ส.ณัชชิมา อารยะตระกูลลิขิต
13.นายชลธิศ โชติสวัสดิ์
ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อรับฟังการนัดหมายในการรายงานตัวต่ออัยการ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 กรณีกิจกรรมชุมนุมที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย หลังจากที่ พนักงานสอบสวน ได้เดินทางมาส่งสำนวนให้กับทางอัยการ และทางอัยการ จะมีการนัดฟังคำสั่งฟ้อง ในวันที่ 25 มีนาคม 2564  ในข้อหามาตรา 112 และ มาตรา 116 ทั้ง 13 คน
อย่างไรก็ตาม คาดว่า การในการชุมนุมในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ทางกลุ่มแกนนำชุดดังกล่าวน่าจะลดบทบาทลง และคาดว่า จะไม่ได้รับการประกันตัว เช่นเดียวกับ กลุ่มแกนนำที่ถูกจำคุกไปก่อนหน้านี้ สำหรับแผนการรับมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการชุมนุมในวันที่ 20 มีนาคมนี้นั้น จะมีการแถลงในบ่ายวันนี้
Exit mobile version