ศาลถูกท้าทาย ถึงเวลาปฏิรูป ก่อนพังทั้งระบบ! เพนกวินไม่ใช่กรณีแรกและกรณีสุดท้าย?

3818

จากกรณีชินวัตร จันทร์กระจ่าง หรือไบร์ท แกนนำราษฎรนนทบุรี เปิดเผยถึงบรรยากาศการพิจารณาคดีวันนี้ว่า โดย เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้ขออนุญาตแถลงต่อศาลถึงความอึดอัดที่อยู่ในใจ แต่ศาลไม่อนุญาตให้พูดในที่เปิดเผยนั้น

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่มาควบคุมตัว จึงเกิดความวุ่นวายขึ้น เพนกวินจึงประกาศความอึดอัดใจว่าเหตุใดศาลไม่ให้ประกันตัว ทั้งที่ยังไม่มีคำตัดสิน โดยเทียบเคียงกับคดี กปปส. ที่ตัดสินแล้วว่ามีความผิดแต่ได้ประกันตัว และไม่ต้องตัดผม พร้อมประกาศขอประท้วงด้วยการอดข้าว ดื่มแต่น้ำ จนกว่าจะได้รับการประกันตัว และยืนยันว่าหากตนเอง เพนกวิน ถูกกระทำการใดๆที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน อาทิ ถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ ขอให้ประชาชนภายนอกเรือนจำลุกขึ้นสู้ต่อรัฐเผด็จการ อีกทั้งมวลชนหนึ่งคนได้นำปัสสาวะขว้างหน้าบัลลังค์ศาล จากนั้น เจ้าหน้าที่ศาลได้นำตัวเพนกวิน ออกจากห้องพิจารณา

หากย้อนเหตุการณ์ไปพบว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เพนกวิน มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันศาล โดยก่อนหน้านี้ เพนกวิน หนึ่งในแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร ได้ละเมิดอำนาจศาล จากกรณีการปราศรัยที่หน้าบันไดศาลฯ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว นายอานนท์ นำภา และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก รวมทั้งการไลฟ์สด ภาพเสียงการชุมนุมหน้าศาล เรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลทั้ง 2 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563

ต่อมาวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ศาลอาญารัชดาฯ ได้นัดไต่สวนคดีดังกล่าว โดยนายอานนท์ ทนายของนายพริษฐ์ ได้แถลงว่า ผู้ถูกกล่าวหาอายุ 22 ปี เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ยอมรับว่าได้พูดถ้อยคำดังกล่าว เป็นการพูดไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้มีเจตนาที่จะรบกวนกระบวนการพิจารณาคดีของศาล และไม่ได้หยุดทันทีที่เจ้าหน้าที่ห้าม แต่พอเวลาผ่านไป ถึงคิดขึ้นได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ยืนยันว่าจะไม่ทำอีก ขณะที่ตัวแทนผู้อำนวยการศาลอาญาขึ้นแถลงว่า เมื่อได้รับการขอโทษและจะไม่กระทำอีกของผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่ติดใจเอาความ

กระนั้นยังมีประเด็นที่น่าพิจารณาจากบทความของนักวิชาการ ซึ่งได้หยิบเอากรณีกปปส.มาหลังมีคำสั่งปล่อยตัว 8 แกนนำ โดยรศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกมธ.การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความเรื่อง “ธรรมาภิบาลในกระบวนการยุติธรรม” โดยมีเนื้อหาบางช่วงระบุว่า

“ข่าวที่ศาลอาญาชั้นต้นส่งไม้ต่อให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยแทนว่าจะให้ประกันบรรดาแกนนำกปปส.หรือไม่ ทำให้บรรดาแกนนำกปปส.ต้องติดอยู่ในเรือนจำ 2 วัน 3 คืน ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ประกันตัวพวกเขาทั้งหมดออกมา แต่การใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นข้างต้นทำให้แกนนำจำนวนหนึ่งที่เป็นรัฐมนตรีและเป็นส.ส.เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมาคือพวกเขายังคงมีสถานะเป็นส.ส.อยู่หรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ? ปัญหาที่ไม่ควรเป็นปัญหาเลยในกรณีนี้ทำให้แกนนำเหล่านี้ต้องไปยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะความเป็นส.ส.ของพวกเขา เพราะเหตุว่ากกต.เห็นว่าแกนนำเหล่านี้ถูกจำคุกแล้ว จึงต้องพ้นจากความเป็นส.ส.ไปตามรัฐธรรมนูญ

ผมใคร่ตั้งคำถามว่าการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาชั้นต้นในกรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาธรรมาภิบาลของตัวผู้พิพากษาท่านนี้หรือไม่? หรือแท้ที่จริงแล้วเป็นการสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลในลักษณะทั่วไปของระบบศาลทั้งหมด?

ในช่วงประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา มีการต่อสู้ทางความคิดระหว่างหลักคิดเรื่องการมีรัฐบาลที่ดี (good government) กับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (good governance )ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน และความสัมพันธ์ระหว่างการมีรัฐบาลที่ดีกับการมีธรรมาภิบาลควรเป็นอย่างยิ่ง?

ผลต่อเนื่องจากการต่อต้านและเปิดโปงการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์คือคณะรัฐมนตรีชุดยิ่งลักษณ์และผู้ใกล้ชิดกว่า 10 คนได้ถูกศาลตัดสินให้จำคุกด้วยข้อหาทุจริตไปแล้วโดยเฉพาะคุณยิ่งลักษณ์ที่ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาทุจริตได้หลบหนีออกนอกประเทศไปโดยที่กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเอาตัวมาลงโทษตามกฎหมายได้

เพราะเหตุแห่งความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้ผู้ทุจริตรายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยคือทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ สามารถหลบหนีไปเสวยสุขอยู่ต่างประเทศ โดยไม่ต้องชดใช้การกระทำความผิดตามกฎหมายที่พวกเขาก่อขึ้น และยังได้ทิ้งปัญหาหนี้สินขนาดมหึมาให้รัฐบาลชุดปัจจุบันและประชาชนต้องช่วยกันแบกรับภาระค่าใช้จ่ายนี้แทน นอกจากนี้พี่น้องคู่นี้ยังทิ้งความขัดแย้งทางการเมืองและคดีความต่าง ๆ ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและสังคมไทยต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้งไปแทน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงเห็นว่าพลเอกประยุทธ์ควรดำเนินการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ตั้งแต่ตำรวจ ปปง.ดีเอสไอ อัยการ ศาล กรมราชทัณฑ์และทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดระบบการบริหารบ้านเมืองที่ดี โดยให้ความสําคัญในเรื่องผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของหน่วยงานหรือประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำหน้าที่ การรับผิดรับชอบต่อหน้าที่ การควบคุมคอรัปชั่น ความโปร่งใสและการใช้ดุลพินิจของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม”

นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นอันสั่นสะเทือนต่อวงการยุติธรรมแน่นอนกับสิ่งที่จำเลยอย่างเพนกวิน ได้กระทำ นั่นเพราะย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นพฤติกรรมที่ท้าทายอำนาจศาล สร้างแรงกระเพื่อม หากไม่มีการดำเนินการใดๆต่อผู้กระทำผิด ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของศาลอย่างเลี่ยงไม่ได้???