เทียบ กปปส. ศาลให้ประกัน กับแกนนำ 3 กีบนอนคุก เพราะไม่สำนึกศาลเมตตาหลายครั้งแต่ก็ยังผิดซ้ำ ๆ

1554

จากกรณีวันที่ 8 มี.ค. 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้อง น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก ผิดมาตรา 112 ส่วน อีก15 แนวร่วม ผิด มาตรา 116 และ อีก 11 ข้อหา พร้อมนำตัวส่งศาล และค้านประกัน

โดยพบว่าในวันดังกล่าว ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ไปสังเกตการณ์และให้กำลังใจ 18 นักกิจกรรม กรณี “19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” สืบเนื่องจากพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 นัดฟังคำสั่งฟ้องคดีทั้งหมดและยื่นฟ้องต่อศาลอาญาทันที

ในบางช่วงบางตอนนายปิยบุตรยังกล่าวว่า ยังระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 “การใช้ ป.อาญา ม.112 ห้ำหั่นกันแบบนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย หากคิดว่าจะต้องจัดการเอากฎหมายปิดปาก ผมเห็นว่าวิธีการนี้ปิดปากไม่ได้ ถ้าเห็นว่าพวกเขามองสถาบันไม่เหมือนคนรุ่นก่อน การเอาไปขังคุกไม่ช่วยอะไร ไม่มีทางเปลี่ยนวิธีคิดแน่นอน ยิ่งจับยิ่งบานปลาย ยิ่งยัดข้อหายิ่งบานปลาย อยากฝากผู้มีอำนาจทั้งหลายคิดทบทวนให้ดี การเอา ม.112 หรือ ม.116 มาปิดปาก ไม่ได้ประโยชน์ต่อใครเลย ต่อให้แกนนำถูกจับกุม การชุมนุมก็เดินหน้าต่อ”

ปิยบุตร อธิบายว่าการใช้กฎหมายความมั่นคงไม่สามารถสร้างทัศนคติที่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ แต่การเปิดพื้นที่ให้พูดคุยกันอย่างปลอดภัยต่างหากคือทางออก พร้อมบอกว่าผู้มีอำนาจไม่ควรมองว่ากลุ่มนักกิจกรรมที่มีความคิดเห็นวิพากย์วิจารณ์รัฐบาลเป็นอาชญากร แต่เป็นผู้ที่อยากให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและเป็นประชาธิปไตยต่างหาก

“อยากฝากถึงบุคคลผู้มีอำนาจกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด หลักใหญ่ใจความที่ควรคำนึงถึงคือกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เป็นคนที่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง อยากให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ หากคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพเป็นหลักก็จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง นอกจากนั้นแล้วตามรัฐธรรมนูญสันนิษฐานไว้ว่าทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อน สิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรม คนฆ่าคนตาย หรือค้ายาเสพติด ยังได้รับการปล่อยชั่วคราว คนเหล่านี้ถูกกล่าวหาในคดีการเมืองแต่กลับไม่ได้รับปล่อยตัว” เลขาธิการคณะก้าวหน้า ทิ้งท้าย

ทั้งนี้ ยังมีการเปรียบเทียบไปถึงว่า เกิดความไม่ยุติธรรมในคำตัดสินของศาล โดยเทียบไปที่ทางแกนนำ กปปส. ที่ถูกตัดสิน และภายหลังศาลอนุญาตให้ประกันตัว ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยทั้ง 8 ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จำเลยที่ 1, นายชุมพล จุลใส จำเลยที่ 3, นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จำเลยที่ 4, นายอิสสระ สมชัย จำเลยที่ 5, นายถาวร เสนเนียม จำเลยที่ 7, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ จำเลยที่ 8, นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพุทธะอิสระ จำเลยที่ 16 และเรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ นั้น

โดยพบว่าสาเหตุที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวนั้น เนื่องจากว่าทางกปปส.นั้นกระทำผิดแต่ไม่เคยติดคุก ซึ่งต่างจากกลุ่มของแกนนำม็อบ ที่กระทำความผิดเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ แม้ว่าศาลจะเมตตาปล่อยตัวออกมาเพื่อไม่ประพฤติดังเดิม แต่แกนนำก็ไม่ได้สนใจสำนึกใด ๆ กลับเดินหน้าปลุกปั่น ชุมนุม และจาบจ้วงสถาบันฯ ไม่หยุดหย่อน

ทั้งนี้อีกหนึ่งข้อสังเกต ที่เกิดขึ้น ภายหลังมีกระแสของแกนนำกปปส. ไม่ว่าจะฟังคำพิพากษา ตัดสิน นอนเรือนจำ จนนำมาสู่การประกันตัว ทำให้ทางฝั่งม็อบ 3 นิ้ว นำหลาย ๆ เรื่องราวมาตอบโต้และโจมตีการตัดสินของศาล 3 นิ้วนำไปโยงกับการคุมขัง 4 แกนนำราษฎร และเห็นได้ชัดว่า เมื่อกระแสรักชาติกลับมาอีกครั้ง ม็อบ 3 นิ้วก็เริ่มไปไม่เป็น หัวเสียที่คนไทยส่วนใหญ่ ชื่นชมและลุกฮือปกป้องแกนนำกปปส. โดยเหตุการณ์เล่านี้ น้อยนักที่ม็อบ 3 นิ้วจะเคยเจอ จนนำมาสู่การทะเลารุนแรงในก๊วนแกนนำและม็อบ มีการแฉรายวัน ถึงความเน่าเฟะเบื้องหลัง

อีกทั้ง เมื่อลองพิจารณาดูจะพบว่า ในฝั่งกปปส. วันที่ต้องเผชิญชะตากรรมรับคำตัดสินด้วยกัน ก็ไม่มีใครหนีหาย หรือพาลโทษกันในเรื่องของอดีต ไม่มีการใส่ร้ายป้ายสี หรือแฉกันเหมือนที่ม็อบ 3 นิ้วทำ นอกจากนี้แกนนำกปปส. ได้มีจุดยืนชัดเจนว่า สู้เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และทำได้จริง แม้จะมีคดีอยู่ ก็ยังยึดมั่นในสิ่งที่ทำ ทางด้านลุงกำนันสุเทพ ก็บอกไว้ด้วยว่า ไม่ว่าเราจะสุขหรือทุกข์ ใครจะติดคุก หรือรอด เราก็จะไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน

แต่เมื่อมาดูทางฝั่งม็อบ 3 นิ้ว ที่บอกว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่สุดท้ายก็มีการแย่งชิงอำนาจ อมเงินบริจาค โกงกันเองหลายครั้ง ก็คงจริงอย่างที่นายสมบัติลงทุนแฉ ว่าม็อบนี้ไม่มีความจริงใจ ยามรักเงินกี่บาทก็ทุ่มให้กันได้ พอหมดรัก ก็เอาออกมาประจาน จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมวันที่มีการปล่อยตัวแกนนำราษฎร ไม่ว่าจะกี่ครั้งที่ผ่านมา เราถึงไม่ได้เห็นภาพมวลชนมากมายขนาดนี้มารอรับ เหมือนกับฝั่งกปปส. ที่ได้กลับมาปลุกพลังคนรักชาติให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง