Truthforyou

แม่ยก-พ่อยกปัดพัลวัน? ย้อนเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของ 3 กีบถูกแฉมีอีแอบรับเงินสถานทูต-NGO ต่างชาติ

ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการจัดม็อบชุมนุม สำหรับเรื่อง “เงินบริจาค” เพราะที่ผ่านมามีข่าวที่ทำให้ภาพลักษณ์ของม็อบนั้นติดลบเป็นอย่างยิ่ง เพราะบ่อยครั้งที่มีการออกมาแฉกันเองถึงเรื่องโกงเงินบริจาค อมเงินงบจัดชุมนุม หรือแม้กระทั่งการแฉว่าท่อน้ำเลี้ยงม็อบนั่นเองที่เป็นคนอมเงินบริจาค???

และยิ่งทำให้เป็นประเด็นดราม่าไปมากกว่านั้น เมื่อทุกครั้งที่มีการแฉเรื่องอมเงินบริจาคเหล่าแกนนำ กลับนิ่งเฉย ไม่ออกมาแสดงความบริสุทธิ์ใจใด ๆ

ล่าสุด ก็เกิดเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาอีกครั้ง กรณีวานนี้ (8 มี.ค. 2564) เมื่อ ทราย เจริญปุระ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กระบุว่า “ทุกวันนี้เวลาทำงาน (ใช่ยังทำงานอยู่, ยังมีงานอยู่ กำลังจะเปิดกล้องอีกเรื่อง) จะพูดเสมอว่าเอาตังค์ไปทำม็อบ ซึ่งที่พูดนั่นก็ไม่ได้พูดเล่น แต่หมายความตามนั้นจริง ๆ ก็ไล่กันมาเรื่อยตั้งแต่แฟลชม็อบ ม็อบมีเวที ไม่มีเวที มีเครื่องเสียง โดนสลาย หน้ากาก เสื้อกันฝน โดนหมาย รับหมาย เป็ดยาง จะนะ แรงงาน บางกลอย โคราช ขอนแก่น พม่า เชียงใหม่ ป้าย ธง สี เหมืองแร่ ทำแคมป์ ส่งข้าว ส่งน้ำ ห้องน้ำ ดูคนเจ็บ คนไม่เจ็บ ทำงานเดินฯลฯ ดูแลจัดการสุดมือสุดกำลัง

ทุก ๆ การสมทบเราไม่เคยใช้เปลืองเปล่า ทุกปลายทางที่ของไปลงคือเห็นได้ชัดเจน ตัวเราก็ไปทำงาน ทำของเราไป ทำตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก เพราะเรารู้ว่าเรารับเอาความตั้งใจของทุกคนที่เขาฝากมาเอาไว้ที่เรา ก็นั่นแหละ บัญชีหมิมเราดูแลคนเดียว คนเดียวจริง ๆ วิธีกระจายงานก็เรื่องนึง แต่ไม่ใช่การกระจายบัญชีแน่ ๆ เรารักน้องทุกคนเท่ากัน พวกเขาเหนื่อยและหนักพอแล้ว เราหวังว่าสิ่งที่เราทำจะช่วยผ่อนอะไรได้บ้าง รู้ว่าทั้งหมดนี้อาจจะไม่มีความหมายอะไรกับใครเลย และเอาเข้าจริงก็ไม่รู้จะพูดอะไร เราคิดของเราง่าย ๆ แค่ว่าเราทำ เราทำอะไรได้จงทำ ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่ทำเพื่อน้องและผู้กล้าทุกคนที่เดินร่วมทาง”

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของม็อบเรื่องเงินบริจาคนั้นถูกมองในด้านลบอยู่แล้ว เพราะถ้าหากย้อนไปดูตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งม็อบ ปลุกระดมมวลชนมาชุมนุมนั้น เกิดกระแสดราม่าเรื่องนี้มาหลายครั้ง

โดยวันที่ (18 ส.ค. 2563) ในโซเชียลมีเดียมีการเผยแพร่ข้อความจากเฟซบุ๊ก Pumiwat Rangkasiwit หรือ นายภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมนวชีวิน (New Life Network) โพสต์ว่า “ผมจะไม่มีวันสู้เพื่อประชาธิปไตยอีกต่อไปแล้ว จะสู้แบบไหน ก็สู้แค่เพื่อให้ได้ผู้กดขี่คนใหม่ และทิ้งคนอื่น ๆ ไว้ข้างหลัง หักความฝันของคนที่ถูกทิ้งไว้กลางทาง พี่ ๆ ก็ดูไว้นะครับ ว่าผมเป็นมดงานพวกพี่มากี่ปี เป็นหนึ่งในคนที่พวกพี่บีบเค้นแรงงาน ให้เป็นบันได ให้เป็นที่เหยียบย่ำจนสามารถไปรับเงินสถานทูต นั่งรับเงินเดือนในตำแหน่งสำคัญ ๆ รับงานจาก NGO ต่างประเทศ เคลื่อนไหวตามการล็อบบี้ หรือตกเศษเงินให้น้อง ๆ หน้าใหม่ แต่ตัวเองหักไว้กินเอง 90% ผมไม่เอาด้วยหรอก ประชาธิปไตยส้น…นี่ที่ทำให้ผมต้องเสียเพื่อน เสียความรู้สึกกับคนที่ผมรัก เสียคนที่เคยเคียงข้างกันเป็นมิตรภาพที่งดงาม” ซึ่งเรื่องนี้เองก็เกิดการแชร์วิจารณ์กันอย่างมาก

ต่อมาที่อีกหนึ่งกรณีตัวอย่าง เมื่อวันที่ (26 พ.ย. 2563) ในโลกโซเชียลฯ เมื่อมีการตั้งคำถามและติดแฮชแท็ก #แจงรายจ่ายม็อบด้วยจ้า ถึงการรับบริจาคเงินเพื่อเป็นท่อน้ำเลี้ยงของม็อบ หลังจากเหตุการ์ดยิงกันเองในม็อบหลังยุติการชุมนุม บริเวณสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยดราม่าฟาดกันในกลุ่มของม็อบ ทำนองว่า เงินที่มีคนโอนเข้ามาบริจาคให้ม็อบนั้น คนที่ดูแลเงินบริจาคหรือ “ท่อน้ำเลี้ยง” เอาไปใช้จ่ายอะไรบ้าง ขอให้แจกแจงรายละเอียดเพื่อความโปร่งใส เท่าที่เห็นมีแต่การจ่ายเงินที่ไร้สาระ เช่น ซื้อเป็ด ซื้อเอเลี่ยนยักษ์ ตัวละสองหมื่นห้า โชว์ในม็อบ แต่กลับไม่ซื้อเซฟตี้ให้การ์ด

เป็นที่แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงท่อน้ำเลี้ยงม็อบ โซเชียลต่างชี้ไปที่ “ทราย เจริญปุระ” ผู้ซึ่งเป็น “ท่อน้ำเลี้ยง” ให้ม็อบมาตั้งแต่ต้น ๆ ร่วมกับ “เฮียบุ๊ง” ปกรณ์ พรชีวางกูร ว่ากันว่ารายรับ-รายจ่ายของม็อบ “ทราย และ เฮียบุ๊ง” จะเป็นคนรู้เรื่องดี แต่ก็ปฏิเสธที่จะแจกแจงรายจ่ายตามที่พวกเดียวกันขอมา โดย ทราย อ้างว่าที่ไม่ชี้แจงเงินบริจาคเนื่องจากมีผู้บริจาคหลายคนไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผยชื่อ

ขณะที่ นายปกรณ์ ยืนยันว่า ไม่ขอแจงรายละเอียดว่าเรื่องเงินแม้แต่บาทเดียวว่านำไปใช้ในส่วนใดบ้าง พร้อมย้ำว่า เพียงคนที่ทำงาน รู้เท่านั้นพอ โดยตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม เป็นต้นไป จะขอลดบทบาทในเรื่องของการสนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจะเหลือเพียงการดูแลผู้บาดเจ็บจากการชุมนุม

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่ากรณีของ ทราย เจริญปุระ และ บุ๊ง ปกรณ์ นั้น ถูกแฉเรื่องเงินบริจาคมาตั้งแต่ต้น แต่ทั้งคู่ก็ยังนิ่งเงียบไม่ออกมาแจงบัญชีใด ๆ ซึ่งหลายคนบอกว่านี่เป็นการแสดงความไม่บริสุทธิ์ใจหรือไม่?

Exit mobile version