ชาญวิทย์-ส.ศิวรักษ์!?! 2 เฒ่าเฝ้าปฏิวัติสังคม ออกแรงโหนม็อบ แบกสังขารให้ท้ายเด็กโจมตีเจ้า!?

2169

จากกรณีกลุ่มราษฎรนำโดย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งได้จัดกิจกรรมเดินทะลุฟ้า จากจังหวัดนครราชสีมา มายัง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมระยะทาง​ 247.5​ กิโลเมตร​ ใช้เวลาเดิน​ 17​ วัน​ เดินมาถึงจุดหมายอนุสาวรีย์​ประชาธิปไตย​ เวลา​ 15​.25​ น.​

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม นายสุลักษ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ กล่าวเปิดกิจกรรมเดินทะลุฟ้าว่า รัฐบาลไหนที่ไม่ให้พูดอย่างอิสระเสรี รัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลอัปรีย์ เป็นรัฐบาลจังไร เช่นรัฐบาลของประยุทธ์ เป็นต้น ฉะนั้นการที่ท่านทั้งหลายออกมาเดินขบวน ขอให้เดินขบวนด้วยสันติ อดทน เพราะว่าเราต้องเอาชนะพวกทรราชให้ได้ แม้ว่าประยุทธ์จะอ้างว่าไม่ได้เป็นเผด็จการแล้ว อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว ก็เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม

แม้ว่าขบวนการของเราอาจจะไม่ใหญ่โตไม่มาก แต่ทุกคนที่มาร่วมมีธรรมะเป็นพื้นฐาน อย่าลืมว่าสมัยนี้เราทำอะไรทั่วโลกรู้หมดเลย เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าเราจะมีจำนวนน้อย คนจำนวนน้อยคือคนที่ต้องสู้ เสียสละด้วยความยินดีเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนทั้งหลาย ตนเอาใจช่วยขอให้เดินทางด้วยความอดทน อัปรีย์จะต้องไปจังไรจะต้องแพ้

ทั้งนี้ การเดินทางมีการถือธงแดง และมีป้ายข้อความต่างๆ เช่น รัฐสวัสดิการแบบทั่วหน้า เราไม่ต้องการรัฐสวัสดิการแบบชิงโชค, ปล่อยเพื่อนเรา และต้องไม่เจ็บเพิ่ม, ลดความเหลื่อมล้ำ คืนความเป็นธรรมให้ประชาชน โดยการเดินจะแวะพักทุกๆ 4 กิโลเมตร ระยะทางทั้งหมดรวมกว่า 26 กิโลเมตร

ต่อมา เมื่อวันเสาร์ (6 มีนาคม 2564) ได้เริ่มต้นขบวนที่แยกเกษตรมุ่งหน้ามาอนุสาวรีย์​ประชาธิปไตย​ ถนนราชดำเนินกลาง ทั้งนี้ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กลุ่มเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ก็ร่วมขบวนเดินทะลุฟ้าด้วย
โดยนายชาญวิทย์ ระบุว่า “เป็นห่วงเป็นใยไผ่และทุกคนที่ถูกจับกุมคุมขังอยู…ผมร่วมเรียกร้องว่า ไผ่และผู้ที่ถูกจับกุมอยู่ควรจะได้รับการประกันตัวและต่อสู้ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ส.ศิวรักษ์ ได้เขียนหนังสือ ชื่อ 2475 อภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยังไม่เสร็จ โดยมีนายชาญวิทย์มาร่วมเขียนคำนำให้ โดยมีบางช่วงบางตอนที่น่าสนใจ ระบุว่า
‘อะไรที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น ก็ได้เห็นกันแล้ว และอะไรที่เคยเห็น ๆ กันมาชั่วชีวิต ก็อาจจะไม่ได้เห็นอีกต่อไป’

ผมก็เชื่ออย่างที่สุลักษณ์เชื่อว่า สถาบันใด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันกษัตริย์ ที่สุลักษณ์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ)ที่คงทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์นั่นแหละสถาบันนั้น จะยั่งยืนอยู่ต่อไปตราบนานแสนนานตราบเท่าที่ได้สำนึกถึงความจำเป็นที่จะต้อง “ปฏิรูป” ให้มีความเป็นสมัยใหม่ สากลเฉกเช่น สหราชอาณาจักร กับยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นให้เป็นไปตามคำเรียกร้องของเยาวชน คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

แล้วเผชิญหน้ากับ ‘การปฏิวัติรุนแรง’ดังเช่นจีน รัสเซีย เยอรมนี ออตโตมัน ออสเตรีย/ฮังการี และยุโรปตะวันออก

หากพิจรณาจากชื่อหนังสือของส. ศิวรักษ์ และแนวทางการเขียนคำนำของนายชาญวิทย์ แล้ว จะเห็นถึงทัศนคติที่ทั้งสองมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และสภาวการณ์เมืองไทย ว่ามีทิศทางเช่นไร และเหตุใดจึงยอมแบกสังขารตัวเองไปโผล่ในวันที่ไผ่และไมค์จัดกิจกรรมเดินเท้ากัน?