หลังจากที่เป็นประเด็นให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความเหมาะสมไปแล้ว สำหรับกรณีที่ “นายสมเกียรติ จันทรสีมา” ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ได้ออกมายืนรอหน้าสถานี ให้การต้อนรับ “ไผ่ ดาวดิน” และก๊วนเดินทะลุฟ้า เข้ามานั่งพัก และมีการต้อนรับอย่างอบอุ่น แม้ว่าตัว “ไผ่ ดาวดิน” จะเข้าเรือนจำไปแล้ว ด้วยกรณีที่ทำผิดมาตรา 112 และไม่ได้รับการประกันตัว
เหตุการณ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 ขบวนเดินทะลุฟ้าที่นำโดย ไผ่ ดาวดิน ได้เดินทางจากเส้นรังสิต มาจนถึงเส้นวิภาวดี และได้นั่งพักบริเวณลานได้หน้าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมี “นายสมเกียรติ จันทรสีมา” ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ให้การต้อนรับ พร้อมให้สัมภาษณ์ด้วยว่า “การเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมแวะพักว่า พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่กลาง ให้กับทุกกลุ่มนี่ก็เป็นหน้าที่เราต้องช่วยดูแลให้ประชาชนมีประกันเสรีภาพในการแสดงออก แต่อีกด้านก็พยายามจะช่วยดูแลเรื่องของความปลอดภัยด้วย”
ในแง่ของการชุมนุมที่ผ่านมาทางกลุ่มดำเนินการราบรื่นมาโดยตลอด กลุ่มที่เข้ามาเราก็เห็นเป็นประชาชนที่เขามีความเดือดร้อนอยู่ หน้าที่เรา เราต้องเป็นเสียงหนึ่งให้กับคนในสังคมได้รับรู้ว่ามีคนที่เขาเดือดร้อนจากเหตุการณ์ อาจจะเอาเสียงของภาครัฐหรือคนที่เกี่ยวข้องมาตอบให้กับเขาด้วย
จากเหตุการณ์และคำพูดดังกล่าว ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า “ไทยพีบีเอส” เป็นสื่อสาธารณะที่รับเงินจากรัฐบาล ซึ่งปี 2563 ที่ผ่านมา มีการใช้งบไปมากถึง 2,953.86 ล้านบาท ภายใต้ผังการบริหารดังนี้
จากข้อมูลกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. หรือ ไทยพีบีเอส มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง : ประธานกรรมการนโยบาย
2. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช : กรรมการนโยบาย ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น การเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
3. นางสาวอุษาสินี ริ้วทอง : กรรมการนโยบาย ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น การเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุสรณ์ ธรรมใจ : กรรมการนโยบาย ด้านการบริหารจัดการองค์กร
5. นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา : กรรมการนโยบาย ด้านการบริหารจัดการองค์กร
เเละในส่วนของ คณะกรรมการบริหารสถานี ได้เเก่ นายโยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (ประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่นายสถานีโทรทัศน์)
สำหรับ“นายสมเกียรติ จันทรสีมา” ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS มีประวัติที่น่าจับตามองถึงแนวคิดที่ สนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบและกลุ่มเดินทะลุฟ้า ดังนี้
ภารกิจงาน ปัจจุบัน
เป็นผู้อํานวยการสํานักเครือข่ายสื่อสาธารณะ
ผู้อํานวยการสํานักเครือข่ายสื่อประชาสังคม
ผู้อํานวยการสํานักเครือข่ายสื่อพลเมือง
ม.ค. 52 – ปัจจุบัน
รับผิดชอบการผลิตข่าวและรายการจากเครือข่ายสื่อสาธารณะ ร่วมพฒนาและ
ยกระดับเครือข่ายสื่อสาธารณะชุมชน เพื่อให้มีศักยภาพในการผลิตข่าวและรายการที่
มีคุณภาพเปนเครือข่ายร่วมสื่อสาธารณะทุกระดับที่ร่วมกันพัฒนาสังคม
ประวัติการทํางาน หัวหน้าโต๊ะข่าวพลเมือง ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
พ.ค. 51- ธ.ค. 51
-ดูแลกระบวนการฝึกอบรมนักข่าวพลเมือง และการออกอากาศช่วงข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส
-ผู้จัดการโครงการส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ม.ค. 51 – ก.ย. 51
– พัฒนาพื้นที่นําร่องเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการการพนัน และผลักดันให้มีนโยบายแห่งชาติ
ว่าด้วยการพนัน
-บรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ก.ย. 48 – ม.ค. 51
-ดูแลรับผิดชอบการผลิตข่าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านพื้นที่ Irsaranews.org
-บรรณาธิการสํานักข่าวออนไลน์ประชาไท
เม.ย. 47 – ส.ค. 48
-ควบคุมดูแลการผลิตข่าวทางเว็บไซต์ prachatai.com
-ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน(ปXป)
ก.พ. 44 – มี.ค. 47
-รับผิดชอบการผลิตจุลสารประชาธิปไตยเพื่อประชาชน(ปxป)
-เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคสนาม โครงการนักสืบสายน้ำ ประจําสํานักงานเชียงใหม่
ก.ค. 41 – ก.พ. 44
-รับผิดชอบงานฝึกอบรมฯ และจัดทําคู่มือนักสืบสายน้ำ สําหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาใน
พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ลําพูน
ประจํากองบรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว
ก.พ. 41
-นักเขียนประจากองบรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว
-ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว โต๊ะข่าวสิ่งแวดล้อม/เศรษฐกิจมหภาค ผู้จัดการรายวัน
-ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจมหภาค หนังสือพิม์ FINANCIAL DAY
-ผู้สื่อข่าวประจํากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน (โต๊ะข่าวการเมือง/โต๊ะข่าว
เศรษฐกิจ)
การศึกษา คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2531 -2534
ประสบการณ์ – อาจารย์ที่ปรึกษาจุลนิพนธ์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย
ศิลปากร
– บรรณาธิการสํานักข่าวชาวบ้าน (พ.ศ. 2550 – 2551)
– บรรณาธิการหนังสือ “ปักหมุด เทใจ บันทึกประสบการชีวิตเหยี่ยวข่าวอิศรา”(พ.ศ.2549)
– ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ประจําจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2541-2542)
– ประสานงานรายการ “สู่ยุคภูมิปัญญาไท” ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (พ.ศ. 2539)
– ผู้ช่วยบรรณาธิการ จุลสารไทยคดีศึกษา สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(พ.ศ.2533-2534)
– ผู้ช่วยอาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2532-2534)
– นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2534)
จากประวัติของนายสมเกียรติ จันทรสีมา จะเห็นว่า จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นนายกองค์การนักศึกษาด้วย ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่ม 3 นิ้ว มีรุ้ง ปนัสยา , เพนกวิน รวมอยู่ด้วย ทั้ง 2 คนล้วนมาจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังเคยเป็นบรรณาธิการที่ประชาไท ซึ่งแน่นอนว่า ตอนนี้ก็ชัดเจนว่าประชาไท เลือกนำเสนอข่าวการชุมนุมแบบไหน เลือกฝั่งชัดเจน อย่างวันที่มีเหตุการณ์จับแอมมี่ เนื่องจากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงร.10 ประชาไทก็ได้นำเสนอบทความ เรื่อง “ย้อนดูศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเคยชี้เผารูปกษัตริย์เป็นเสรีภาพในการแสดงออก” โดยในบทความเป็นการพูดถึง คำตัดสินของศาลสเปนในคดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ฆวน การ์ลอสที่ 1 และพระราชินีโซเฟีย และคำตัดสินศาลสิทธิมนุษยชนยุโร เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561
ซึ่งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในการประท้วงที่สเปน สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่กระกระทำดังกล่าวต้องไม่ใช่การทุษร้ายด้วยวาจา (Hate Speech)
และบทความดังกล่าว ได้ถูกง “นายปิยบุตร แสงกนกกุล” เลขาธิการคณะก้าวหน้า นำไปขยายต่อในประเด็นเดียวกัน โดยพูดถึงคำตัดสินคดีของ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ตัดสินเรื่องการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อดึงให้ประชาชน 3 นิ้ว รู้สึกว่า การกระทำดังกล่าวของ “แอมมี่” นั้นไม่ชอบธรรมในมุมมองของกลุ่มที่ต้องการล้มล้างสถาบัน
แน่นอนว่าจากประวัติการทำงานของผู้อํานวยการสํานักเครือข่ายสื่อสาธารณะ และการกระทำที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2564 นำมาซึ่งคำถามว่า ในงบปีละเกือบ 3,000 ล้าน ทำไมองค์กรสื่อสาธารณะถึงไม่เป็นกลาง และยังนำเสนอเข้าข้างม็อบที่ไม่ได้ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างที่กล่าวอ้าง แกนนำแต่ละคนก็มีคดีติดตัว จากการชุมนุมที่ปราศรัยจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด การแสดงออกสนับสนุนจนเกินหน้าเกินตา ไม่ใช่แค่ทำให้คนที่รักสถาบันรับไม่ได้ แต่มันคือความไม่เหมาะไม่ควร เมื่อเป็นองค์กรสาธารณะ ก็ย่อมต้องนึกถึงความรอบคอบในการนำเสนอ เพราะเมื่อเข้าข้างม็อบ 3 นิ้วที่ต้องการล้มเจ้า องค์กรก็จะถูกเหมารวมไปด้วยว่า เป็นสื่อล้มเจ้า ที่รับเงินจากภาษีประชาชน