ชำแหละ ประวัติ “แกนรุ้ง” พฤติกรรม “การเมืองต่ำตม” หลังกลับจากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน USA สู่นักโทษคดี112

2978

หลังจากที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 ได้นัดผู้ต้องหา 18 คนฟังคำสั่งในคดีชุมนุม “19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร” เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย.2563 ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง ตามความผิด ม.112 , ม.116 และม.215

 


โดยมีแกนนำ 3 คนผิดตามข้อหา ม.112 ได้แก่

1.น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง

2.นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน

3.นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์

ส่วนอีก 15 คนที่เหลือ ผิดตามมาตรา 116 และมาตรา 215 ของประมวลกฎหมายอาญา พร้อมนำตัวส่งศาล และคัดค้านการประกัน

สำหรับทั้ง 3 คดี ที่พนักงานอัยการสั่งฟ้อง 18 แกนนำ ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี

ขณะที่ประมวลกฎหมาย มาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อ ความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี

ส่วนมาตรา 215 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แม้ว่า “รุ้ง ปนัสยา” จะออกมาบอกว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ และขอความเห็นใจว่าต้องได้รับการประกันตัวออกมาสู้ต่อ แต่ดูท่าว่าจะไม่เป็นผล วันนี้เราจะมาย้อนประวัติของ รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ที่อดีตเคยเป็นนักเคลื่อนไหวและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย จนได้มาเป็นแกนนำราษฏร และมีข่าวลือว่ามีเงินจากการนำม็อบ 20 ล้าน ก่อนจะตกเป็นผู้ต้องหาคดีม.112

โดยรุ้ง เกิดวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2541 เป็นนักเคลื่อนไหวและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย ทั้งนี้ยังเป็นโฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) อีกด้วย รุ้งเป็นที่รู้จักกันดีจากการอ่านข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ทั้งนี้สื่อถือว่าเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วง รวมถึงเป็นบุคคลที่สนิทสนมกับพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) หนึ่งในแนวร่วมของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เธอได้รับตำแหน่งโฆษกคณะประชาชนปลดแอก​ อย่างเป็นทางการ

พื้นเพเป็นคนจังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลาง ที่ประกอบอาชีพค้าขาย มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ สมัยที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา มักจะถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนเสมอ จนกระทั่งได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหรัฐ ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น

รุ้งมีความสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย รุ้งมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมือง สมัยที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง

หลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ้งเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ทั้งนี้ยังเข้าร่วมกับพรรคโดมปฏิวัติ และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เธอเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงในการคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคอนาคตใหม่

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 รุ้งถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 รุ้งได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนแอกเนส โจว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง ทั้งนี้เธอได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

ในวันที่ 2 ธันวาคม ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ เนื่องจาก นิติพงษ์ ห่อนาค แจ้งความฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ใน ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

รุ้งได้รับรางวัล 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของบีบีซีประจำปี 2020

และเมื่อครั้งที่รุ้ง ถูกจับกุม ในความผิดฐานยุบงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และ ข้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง คดีชุมนุมท้องสนามหลวง 19 กันยายน เจ้าตัวได้เปิดใจเล่าด้วยว่า ตนเองถูกจับตัดผมเหลือสั้นประบ่า และย้อมผมเป็นสีดำ ตามข้อบังคับและกฎในเรือนจำ อยู่ในชุดผู้ต้องขัง ผู้อนุญาตให้สวมแว่นตาได้ แต่ต้องเปลี่ยนกรอบใหม่เป็นแว่นกรอบพลาสติก ห้ามมีลวดลาย ซึ่งจะต้องสั่งตัดเพราะเป็นเลนส์พิเศษ ตนเองอยู่ได้ แม้แน่นขนัด โดยอยู่รวมกับผู้ต้องขังหญิง 48 คน ในห้องกักกัน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2564 ที่ได้มีการชุมนุมและเกิดเหตุปะทะหน้าศาลฎีกา พร้อมขอโทษที่คุมม็อบไม่อยู่ และในตอนนั้นเจ้าตัวยอมรับว่า รู้ว่าจะต้องติดคุกตามเพื่อน ๆ ทั้ง 4 คนก่อนหน้าไป ทำใจไว้แล้ว

โดยวันที่ 16 ก.พ. 2564 รุ้งบอกว่า “อัยการจะพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องตนเองในคดีมาตรา 112 หรือไม่ เพราะมันเป็นคดีเดียวกับทั้ง 4 แกนนำ เพราะธงมันออกมาชัดเจนแล้วว่าเขาต้องการให้เราเข้าไปถูกขังและไม่ได้รับการประกันตัว ซึ่งคาดเดาไว้ว่าพรุ่งนี้เราจะต้องถูกนำตัวเข้าเรือนจำ และแม้ตนจะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ก็คิดว่าไม่มีผลกระทบมากต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มราษฎร เพราะเราก็เป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งในกระบวนการนี้ เพราะยังมีคนอื่นที่พร้อมจะออกมาต่อสู้ และยังมีมวลชนอีกมากมายที่แม้ไม่มีแกนนำเขาก็พร้อมที่จะออกมาต่อสู้” ทั้งนี้คาดหวังว่าสถานการณ์การชุมนุมหลังจากนี้หากตนเข้าไปอยู่ในเรือนจำ จะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น