Redem สั่งบุกทิ้งขยะใส่ศาล ย้อนรอย คดีเพนกวิน-อ.เสื้อแดง ละเมิดอำนาจศาลคุกหนักมาแล้ว !!

3045

จากกรณีที่ กลุ่ม REDEM ที่ประกาศนัดหมาย ลงถนนชุมนุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ นัดชุมนุมจาก 5 แยกลาดพร้าว ไปศาลอาญารัชดา ขนขยะมาทิ้งหน้าศาล

ซึ่งเปิดให้มวลชนแนวร่วมได้ทำการโหวตบนสื่อสังคมออนไลน์ แพลตฟอร์มเทเลแกรม มาตั้งแต่ 20.00 น. วันที่ 3 มี.ค. โดยระบุว่า “ผลโพลสรุปแล้ว 2,286 เสียงจาก 4,810 เสียงมวลชน REDEM 6 มีนานี้!

อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่ม REDEM ที่จะมาการเคลื่อนมวลชนไปที่ศาลอาญารัชดา และจะนำขยะมาทิ้งที่หน้าศาลนั้น มองว่า อาจความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล หรือหมิ่นศาลได้

หากย้อนไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ที่นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำกลุ่มคณะราษฎร ได้ยืนขึ้นตะโกนส่งเสียงดัง และใช้กล้องถ่ายภาพลงโฆษณา เพื่อชักชวนให้บุคลอื่นๆ เดินทางมาชุมนุมในบริเวณศาล เพื่อขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล รวมทั้งไลฟ์สดภาพและเสียงเหตุการณ์การชุมนุมในบริเวณศาล ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆ โดยการกระทำของนายพริษฐ์ ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล ทั้งยังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลอาญา ถือว่า เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

ต่อมาวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่ศาลอาญา ได้นัดไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาลหมายเลขดำ ลศ. 9/2563 ที่ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลอาญา กล่าวหา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ผู้ถูกกล่าวหาเรื่องละเมิดอำนาจศาล โดยศาลได้เบิกตัวนายพริษฐ์ จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งขณะถูกควบคุมตัวอยู่ภายในรถของกรมราชทัณฑ์ นายพริษฐ์ ก็ได้ชู 3 นิ้ว ผ่านกระจกมาตลอดทางจนมาถึงศาล

นายอานนท์ นำภา ทนายความนายพริษฐ์ ผู้ต้องหาต้องหาที่ถูกเบิกตัวจากเรือนจำได้แถลงว่าผู้ต้องหาอายุ 22 ปี เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ยอมรับว่าได้พูดถ้อยคำดังกล่าว แต่เป็นการพูดไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้มีเจตนาที่จะรบกวนกระบวนการพิจารณาคดีของศาล และไม่ได้หยุดทันทีที่เจ้าหน้าที่ห้าม แต่พอเวลาผ่านไปถึงคิดขึ้นได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมยืนยันว่าจะไม่ทำอีก

โดยที่ตัวแทนผู้อำนวยการศาลอาญาขึ้นแถลงว่า เมื่อได้รับการขอโทษและจะไม่กระทำอีกของผู้ต้องหาก็ไม่ติดใจเอาความ ศาลพิเคราะห์เเล้ว การกล่าวของผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นการกล่าวจริง เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนกล่าวโดยสำคัญผิด และเป็นอารมณ์ชั่ววูบและเมื่อผู้กล่าวหากระทำไปก็ไม่ได้กระทำผิดซ้ำอีก และเพื่อเป็นการแก้ไขบรรเทาผลร้ายผู้ต้องหาได้ทำคำแถลงขอโทษพร้อมที่จะเผยแพร่ข่าว การกระทำของผู้ต้องหาเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบโดยมีการเข้าใจและสำคัญผิดเกี่ยวกับการดำเนินคดี นายอานนท์ และนายภาณุพงศ์ เมื่อผู้กล่าวหาแถลงไม่ติดใจประกอบกับพิจารณาอายุการศึกษาที่ยังศึกษาอยู่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะดำเนินคดี

รวมทั้งกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุก 1 เดือน ต่อสุดสงวน สุธีสร อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงร่วมวางพวงหรีดหน้าศาลแพ่งรัชดาฯ และชูป้ายข้อความ วิจารณ์การทำหน้าที่ของศาลแพ่ง คดีที่ กปปส. ฟ้องเพิกถอนการออกประกาศ ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาผูกติดไว้กับประตูรั้ว เพื่อแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าว

โดยกรณีดังกล่าวนางสุดสงวน อาจารย์ประจำ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ นายพิชา ทนายความ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 – 3 ให้การรับสารภาพ โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ให้จำคุกนางสุดสงวน อาจารย์ประจำ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ นายพิชา ทนายความ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 – 3 คนละ 1 เดือน

ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 – 3 อุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น นายพิชา ทนายความผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์จึงจำหน่ายคดีเฉพาะผู้ถูกล่าวหาที่ 3 ออกจากสารบบความ ส่วนนางสุดสงวน อาจารย์ประจำ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ศาลอุทธรณ์ เห็นว่ารับราชการเป็นอาจารย์ในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มีตำแหน่งถึงรองศาสตราจารย์ ถือว่าได้ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการ จึงเห็นควรให้ลงโทษกักขังผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แทนโทษจำคุก จึงพิพากษาแก้ เป็นให้เปลี่ยนโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นกักขังแทน มีกำหนด 1 เดือน โดยนางสุดสงวน ได้ยื่นประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งศาลพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกันเป็นเงินสด 50,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องติดตามกันต่อไปสำหรับการชุมนุมของกลุ่ม REDEM ในวันที่ 6 มีนาคมนี้ ว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ และการเคลื่อนไหวจะมีท่าทีอย่างไร จะเข้าข่ายฐานความผิดละเมิดอำนาจศาลหรือไม่