Truthforyou

ศาลรธน.นัดฟังคำวินิจฉัยปมแก้รธน.แล้ว ขณะสว.ขู่โหวตคว่ำวาระ3 สกัดสสร.รื้อหมวดสถาบัน

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารข่าวระบุว่า ศาลรัฐธรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ

กรณี ประธานรัฐสภาขอให้ศาสรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐรรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวก้บหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) (เรื่องพิจารณาที่ 4/2564) ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสมัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 พิจารณาญัตติด่วนกรณีที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณา มีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ หน้าที่และอำนาจของรัฐภาตามรัฐรมญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)

โดยผลการลงมติในญัตติดังกล่าวว่าที่ประชุมรัฐภาเสียงข้างมาก มีมติเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามญัตติ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ประธานรัฐสภา (ผู้ร้อง) ส่งเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจรณาวินิฉัยตามรัฐรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ (2) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐนตรี หรือองค์กรอิสระ ซึ่งการยื่นคำร้องต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2) คือ ต้องเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว และในกรณีที่ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับหน่วยงานใด ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าในคราวประชุมของรัฐสภาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมรัฐสภาเห็ว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาและมีมติโดยเสียงข้างมากให้ส่งปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)

กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2) ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้ผู้เกี่ยวข้อง คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายสมคิด เลิศไพทูรย์ และนายอุดม รัฐอมฤต ทำความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่กำหนดโดยให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในวันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 และนัดประชุมครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2564

ล่าสุด 4 มี.ค. 64 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสาร ระบุว่า
วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ ดังนี้
ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 21 วรรคนึ่ง (2)
กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภา
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) (เรื่องพิจารณาที่ 4/2564)
ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่
9 กุมภาพันธ์ 2564 พิจารณาญัตติด่วนกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายสมชาย
แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ
หน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210ㆍ วรรคหนึ่ง (2) โดยผลการลงมติที่ประชุมรัฐสภา
เสียงข้างมากเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามญัตติ
ดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2564 ประธานรัฐสภา (ผู้ร้อง) ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และให้พยานผู้เชี่ยวชาญรวม 4 คน จัดทำ
ความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่กำหนดซึ่งพยานผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 คน จัดส่งความเห็นดังกล่าวและยื่นต่อ
ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ต่อมานายประเสริฐ จันทรรวงทอง และคณะ ยื่นคำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง
และความเห็น ฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2564 ต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ผลการพิจารณา
ศาลพิจารณาคำร้องขอส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นดังกล่าวแล้วเห็นว่า แม้คดีนี้
เป็นคดีเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งที่ประชุมของรัฐสภา
มีมติให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและประธานรัฐสภาส่งเรื่องต่อศาล มิใช่การกระทำของสมาชิก
รัฐสภาเป็นรายบุคคล แต่เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาล จึงสั่งรับไว้เพื่อประกอบการพิจารณา

ต่อจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
และมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา
ปรึกษาหารือ และลงมติ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 นาฬิกา

ขณะเดียวกัน นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ช่วงกลางเดือน มี.ค.ว่า ส่วนตัวจะเป็นหนึ่งเสียงที่ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 3 เพราะเชื่อว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเจตนาจะแตะหมวด 1 และ 2 ที่ ส.ว.ห้ามแก้ไข และมั่นใจว่า จะมี ส.ว.เกิน 84 เสียง ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 เช่นเดียวกับตน เห็นได้จากการลงมติแก้รัฐธรรมนูญวาระ 2 เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2564 ในมาตรา 256/13 เรื่องการห้าม ส.ส.ร.แก้ไขหมวด 1และ 2 ที่ ส.ว.พยายามให้เพิ่มเติมข้อความว่า ให้รวมถึงการห้ามส.ส.ร.แก้ไขเนื้อหาอีก 38 มาตราที่เกี่ยวกับสถาบันเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ด้วย แต่ปรากฏว่าที่ประชุมลงมติด้วยคะแนน 349 ต่อ 200 ไม่ให้เพิ่มเติมถ้อยคำตามที่ ส.ว.ต้องการลงไป แสดงให้เห็นว่า ส.ส.ยังมีเจตนาให้แตะการแก้หมวด 1 และ 2 ได้ เพราะ 349 เสียง ไม่ใช่มีแค่เสียงฝ่ายค้าน แต่ยังมีเสียงพรรคร่วมรัฐบาลร่วมอยู่ด้วย


“ส.ว.หลายคนเห็นตรงกันว่า ควรโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ส่วนจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดชุมนุมใหญ่ของม็อบราษฎรตามมาหรือไม่นั้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด บ้านเมืองจะขึ้นอยู่กับม็อบไม่ได้ ถ้าไปยอมตามม็อบกดดัน แล้วถ้าตนขนม็อบมาบ้าง ต้องทำตามตนหรือไม่ ถ้า ส.ว.ปล่อยร่างรัฐ ธรรมนูญผ่านวาระ 3 ได้ การประท้วงจะไม่สิ้นสุด อีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญและปกป้องสถาบันต้องออกมา กลายเป็นความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ยิ่งปล่อยไปความขัดแย้งยิ่งรุนแรง ส.ว.จึงปล่อยผ่านไม่ได้ ยืนยันอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด” นายกิตติศักดิ์กล่าว

Exit mobile version