เปิดประวัติ “ลูกไม้ ญาณิศา” เพื่อนสาวแอมมี่! จากเกียมอุดมไม่ก้มหัวเผด็จการ เจ้าของวลี “ต้องการเปลี่ยนเกม”! วันนี้ทั้งคู่เกมแล้วกับคดีเผาพระบรมฉายาลักษณ์?
จากกรณีที่มีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ บริเวณหน้าเรือนจำคลองเปรม ซึ่งมีผู้ต้องหาในคดีนี้คือ นายไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ หรือ แอมมี่ โดยมีหลักฐานภาพจากกล้องวงจรปิดที่ปรากฎชายคล้าย แอมมี่ ขณะกำลังปีนขึ้นไปบนกำแพงเพื่อเผาพระบรมฉายาลักษณ์ ต่อมาแอมมี่ได้รับสารภาพเรียบร้อยแล้วว่า ได้ลงมือเผาพระบรมฉายาลักษณ์จริง
สำหรับในคดีนี้ มีความคืบหน้าไปเรื่อยๆแล้ว โดยมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่นำตัวเพื่อนสาวของแอมมี่มาสอบปากคำด้วย ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเจ้าตัวมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร แต่จากข้อมูลของตำรวจระบุไว้ตามกล้องวงจรปิดที่ปรากฏภาพผู้หญิงอยู่กับแอมมี่ในช่วงก่อเหตุด้วย
ทั้งนี้จากที่ ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับ นายไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ หรือ แอมมี่ กับพวกอีก 2 คน ที่429/2564 ลง 2 มี.ค. 2564 ในข้อหาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และถูกจับกุมได้ที่บริเวณห้องเช่า ไม่มีเลขที่ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมา เมื่อกลางดึกของเมื่อคืนที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัว เพื่อนสาวคนสนิทของนายแอมมี่ มาสอบสวน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศในวันนี้ ซึ่งอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิทางเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวมาสอบสวนเสียก่อนเลยจึงยังไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ
สำหรับเพื่อสาวคนสนิทของแอมมี่ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะเป็น ลูกไม้ ญาณิศา วรารักษพงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นใหม่ ที่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจน และกล้าแสดงออก โดยสมัยเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ได้ก่อตั้ง “กลุ่มเกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ” เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน
ทั้งนี้ ลูกไม้ยังมีความคิดเห็นในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าสนใจบางส่วนในงานเสวนา “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับการเมืองไทยร่วมสมัย” โดยเจ้าตัวเคยระบุว่า ถ้าเปลี่ยนระบบและค่านิยมที่สร้างสังคมขึ้นมาอย่างไม่เท่าเทียม ตัวผู้เล่นจะเปลี่ยนไปเอง หากเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ผู้มีอำนาจ จะหนีไม่พ้นมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นภายใต้ระบบและวิธีคิดแบบเดิมทหารเทคโนแครต หรือ นายทุน จะมีคนใหม่ๆขึ้นมา ต้องเปลี่ยนระบบ ไล่ได้ตั้งแต่ระบบข้าราชการรวมศูนย์ ระบบยุติธรรม ตุลาการ แม้กระทั่งค่านิยมของคน และมองว่าต้องเปลี่ยนเกม เช่น 3 ข้อเรียกร้อง หยุดคุกคามประชาชน แก้รัฐธรรมนูญ ยุบสภา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเกม
ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอลุกขึ้นมาเรียกร้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบโรงเรียน สนใจสังคม ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครองไทย เธอได้เคยให้สัมภาษณ์กับ นิตยสาร A Day ไว้ว่า มันเริ่มจากว่าดารานักแสดงในสหรัฐที่ชื่นชอบออกมาแสดงความเห็นและแสดงจุดยืนทางการเมือง เราก็ติดตามข่าว เรียนรู้ข้อมูลจากตรงนั้น แล้วสืบค้นต่อเองจนเราได้รู้จักกับสำนักคิดต่างๆ ทั้งฝั่งที่เป็นเดโมแครต ฝั่งที่เป็นรีพับลิกัน ฝั่งเสรีนิยมใหม่ ฝั่งอนุรักษนิยม คือยังไม่ได้ลงลึกมาก แต่ก็ได้รู้ว่าการเมืองกระทบกับผู้คนยังไง กระทบกับสิทธิมนุษยชนยังไง ทำให้เราเห็นความสำคัญของการเมืองมากขึ้น
โชคดีว่าที่บ้านก็เป็นสายการเมืองระดับหนึ่ง พอเราเริ่มสนใจก็สามารถดูข่าวร่วมกับพ่อแม่ได้ ได้ฟังความคิดเห็นของพ่อแม่ อาจจะไม่ถึงขั้นแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย แต่ว่าการได้ยินเขาคุยกันก็ช่วยทำให้เรามีชุดข้อมูลเบื้องต้น แล้วก็ค่อยไปศึกษาเองจากในทวิตเตอร์ และเริ่มซื้อหนังสือมาอ่าน
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงคำพูดใยวงเสวนาที่พูดถึงการเปลี่ยนเกม ว่า คนเราไม่ได้เกิดมาแล้วบ่มเพาะตัวเอง แต่เราถูกสร้าง ถูกป้อนข้อมูล ถูกหล่อหลอมด้วยสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ด้วยคนรอบตัว ด้วยระบบระบอบที่ทั้งสังคมร่วมกันสร้างมากี่ร้อยกี่พันปีแล้วก็ไม่รู้ ดังนั้นแทบทุกปัญหาจึงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะใครคนหนึ่ง เราไม่สามารถชี้หน้าใครแล้วบอกว่าเขาเป็นต้นตอของปัญหา แล้วก็เอาเขาออกไปจากสังคม สุดท้ายเราก็จะเห็นว่าปัญหายังคงอยู่เหมือนเดิม เพราะโครงสร้างในสังคมก็จะผลิตคนใหม่ๆ มาทำร้ายสังคมต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับเรื่องการประท้วงที่โรงเรียนเตรียมอุดมเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 มันเกิดจากว่า ผอ.ออกคำสั่งโยกย้ายตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรมก่อนหน้าวันเกษียณของตัวเองไม่กี่วัน ถามว่า ผอ.เป็นคนร้ายเพียงคนเดียวหรือ เขาอาจจะทำผิดจริง แต่ว่าอะไรทำให้เขาได้มาอยู่ตำแหน่งนี้ตั้งแต่ต้น เราก็ต้องมองกลับไปที่ระบบการศึกษาและระบบราชการรวมศูนย์ แล้วอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจจนกลายเป็นระบบราชการที่ตัดขาดจากประชาชน อะไรทำให้ ผอ.ต้องแบ่งพรรคแบ่งพวก ต้องคอยเกาะอยู่กับระบบอุปถัมภ์เพื่อที่จะได้ตำแหน่งในโรงเรียนขนาดใหญ่ เพื่อผลประโยชน์ที่มากขึ้น แล้วอะไรที่ทำให้มีทั้งโรงเรียนใหญ่-เล็ก ก็เพราะว่าระบบการศึกษาและการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่กรุงเทพฯ ใช่ไหม มันคือแนวคิดทุนนิยมใช่ไหมที่ทำให้การศึกษากลายเป็นสินค้า มันคือโครงสร้างหลายๆ โครงสร้างที่เกื้อหนุนกัน สมมติเราไล่ ผอ.คนนี้ออกได้ ในอนาคตก็มี ผอ.คนใหม่มาทำอะไรแบบนี้เหมือนเดิม เราถึงต้องเปลี่ยนเกม ไม่ใช่เปลี่ยนผู้เล่นในเกม