ท่านใหม่ จี้เดือด หาคนเผาพระบรมฉายาลักษณ์หน้าเรือนจำ อัษฎางค์ ยกเทียบคดี เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ!?!

4402

จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่บริเวณหน้าเรือนจำคลองเปรม ซึ่งก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร

ทางด้านของ ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า หนักข้อขึ้นทุกวันมันเกิดขึ้นได้อย่าง เจ้าหน้าที่หาคนทำหน่อย ครับ เลวชาติ ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว  อย่าปล่อยให้ไอ้พวกนี้อยู่หนักแผ่นดิน ตร ที่เคารพรัก อย่าแก้ตัวเพราะไฟฟ้าช็อต

ล่าสุดทางด้าน อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีไฟไหม้พระบรมฉายาลักษณ์ ทีหน้าเรือนจำคลองเปรม และได้นำไปเปรียบเทียบกับคดี 6 วัยรุ่น เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ เจอโทษหนักคุก 10 ปี โดยระบุข้อความว่า

ตัวอย่างการพิจารณาตัดสินคดี 6 วัยรุ่น ในข้อหาหมิ่นฯ เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่า จำเลยที่ 1-6 มีความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ซ่องโจร และวางเพลิงทำให้ทรัพย์สินราชการเสียหาย จึงสั่งให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 เป็นเวลา 5 ปี 20 เดือน แต่ลดโทษจากการรับสารภาพเหลือ 2 ปี 16 เดือน และจำเลยที่ 2 จำคุกเป็นเวลา 10 ปี แต่ลดโทษจากการรับสารภาพเหลือ 5 ปี
ซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขออุทธรณ์ แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้พิพากษา หลังพิจารณาคำขออุทธรณ์ โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ยกฟ้องในข้อหาความผิดหมิ่นเบื้องสูง แต่ยังเห็นว่า ทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาวางเพลิง และซ่องโจร
“การกระทำของจำเลยทั้งหก มุ่งประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อันได้แก่ ซุ้มประตูซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหกมีความมุ่งหมายที่จะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งหกในส่วนนี้ จึงเป็นความผิดเพียงฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น” ตอนหนึ่งของคำพิพากษาระบุ
“ความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งหกมีความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น กับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ให้ลงโทษฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด โดยรวมโทษกับความผิดฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน”
ส่วนเหตุการณ์ล่าสุดที่ม็อบเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 จะเป็นอย่างไร ต้องมาติดตามกันต่อไป

สำหรับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ทั้ง 2 คดี ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานไว้ด้วย คดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติอำเภอบ้านไผ่ ซึ่งมี ไตรเทพ กับพวกรวม 6 คน เป็นจำเลย มีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้

“เห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายประการแรกเสียก่อนว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งหกจะให้การรับสารภาพ แต่หากพิจารณาตามฟ้องโจทก์แล้วเห็นได้ชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกมุ่งประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอันได้แก่ ซุ้มประตูซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหกมีความมุ่งหมายที่จะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งหกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดเพียงฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 140,000 บาท และฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่เห็นพ้องด้วย และความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งหกย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ไม่ใช่มาตรา 210 วรรค 2 ทั้งนี้ กำหนดโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนี้เหมาะสมแล้ว

มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยทั้งหกหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกกับพวกเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง แม้จำเลยทั้งหกจะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งแล้วก็ตาม เห็นควรลงโทษจำเลยทั้งหกให้หลาบจำ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อบุคคลอื่น และแม้จะมีเหตุต่าง ๆ ตามที่จำเลยทั้งหกหยิบยกขึ้นกล่าวในอุทธรณ์ก็ยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอปราณีรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งหก

พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งหกมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นกับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 4 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 2 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 3 ปี เมื่อรวมโทษกับความผิดฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน ยกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น”