จีนและรัสเซียพร้อมแบ่งปันวีคซีน!?! เพิ่มบารมีในโลกและพันธมิตร ขณะสหรัฐและยุโรปกอดไว้ใช้เอง ประกาศให้เงินช่วยโลกมากที่สุดไร้ความหมาย??

1663

ประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐและยุโรป ต่างดำเนินแผนการฉีดวัคซีนโควิดแบบ “America First” และ “Europe First” ทำให้วัคซีนหายากและมีราคาสูง ทั้งๆที่ผลิตก่อน ใช้ก่อน ประกาศสรรพคุณดีเลิศก่อนประเทศอื่นๆ แต่ประเทศจีนและรัสเซียต่างได้ประโยชน์ทั้งด้านภาพพจน์ การค้าและการเมือง จากการบริจาคและขายวัคซีนราคามิตรภาพในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจนที่เรียกร้องต้องการ สะท้อนภาพแนวคิดตะวันตกที่เห็นแก่ตัว เอาตัวรอดหวังผลประโยชน์ทางการค้ามากจนลืมไปว่า โลกต้องการความช่วยเหลือ ต้องการการแบ่งปัน วันนี้บารมีการยอมรับจากนานาชาติทั่วโลกจึงตกแก่จีน รัสเซียและอินเดียไปโดยปริยาย

ประเทศมหาอำนาจฝั่งตะวันออกที่มีบทบาทอย่างโดดเด่นในการพัฒนาวัคซีนและแบ่งปันล่าสุดได้แก่

-ประเทศจีนจัดส่ง 1 ล้านโดสต่อสัปดาห์ไปทั่วแอฟริกาและฉีดวัคซีนให้กับชาวเติร์กประเทศตุรกีจำนวน 7 ล้านคนฟรี 

-ประเทศรัสเซีย ให้ความช่วยเหลือแก่อาร์เจนตินา ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งใน 50 ประเทศที่หันไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซียเพราะไม่สามารถทำสัญญากับผู้ผลิตตะวันตกได้แม้แต่รายเดียว

-ประเทศอินเดียมีโครงการ“ มิตรภาพ” บริจาควัคซีนประเทศยากจนจำนวน 49 ประเทศ

โครงการโคแวกซ์ หรือ Covax ย่อมาจาก Covid-19 Vaccines Global Access Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ระดับโลก ซึ่งดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก พยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมในปัจจุบัน โดยบอกว่า มีการให้วัคซีนกว่า 39 ล้านโดสแล้วในประเทศที่ร่ำรวยอย่างน้อย 49 ประเทศ แต่ประเทศที่ยากจนกว่ามีการให้วัคซีนไปแค่ 25 ล้านโดสเท่านั้น

ในขณะเดียวกันการแข่งขันเพื่อแซงหน้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเชื้อโรคมีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาในหลายพื้นที่ทั่วโลก 

ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต่างติดพันอยู่กับ การจัดการปัญหาวิกฤตสุขภาพและปัญหาทางการเมืองในประเทศ และพลเมืองของสหรัฐและประเทศในยุโรปต้องการฉีดวัคซีนก่อน แม้จะมีกลุ่มต้านก็ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ

ปักกิ่งสามารถขยายองค์กรการกุศลและส่งเสริมการทูตด้านวัคซีนได้โดยปราศจากแรงกดดันด้านประชาธิปไตย รัสเซียมีเสรีภาพที่จะทำข้อเสนอที่ดีให้ทั่วโลกด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน  และรัฐบาลเครมลินกำลังโน้มน้าวให้คนรัสเซียใช้วัคซีนพื้นบ้านที่ผลิตโดนท้องถิ่นด้วย

จีนและรัสเซียต่างเผชิญกับความท้าทายกับปัญหาภายในประเทศ สำหรับประเทศจีนอุปสรรคคือประสิทธิภาพของวัคซีน  มีบางพื้นที่มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ และในที่สุดปักกิ่งก็จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้กับประชาชน1.4 พันล้านคน ซึ่งในปัจจุบันยังมีอีก 97 เปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ในขณะที่วัคซีนสปุตนิคไฟว์ (Sputnik V) ของรัสเซียมีประสิทธิผล 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ประสบปัญหาในการผลิตให้ได้ทันและมากพอใน 15 แห่งทั่วโลก

รัฐบาลอินเดียซึ่งสหภาพยุโรปเป็นกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวีคซีนในการใช้  และได้ปิดกั้นผู้ผลิตหลักของอินเดียไม่ให้นำไปใช้แพร่หลายในยุโรป  ทั้งนี้สถาบันเซรุ่ม (Serum Institute) ของอินเดียมีแผนการจัดส่งวัคซีนที่ผลิตได้ 50 เปอร์เซ็นต์ไปต่างประเทศ ตามที่ซีอีโอของสถาบันนายเอดาร์ พูนนะวัลลา (Adar Poonawalla) กล่าว

ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม COVAX จะเริ่มกลายเป็นผู้จัดหาวัคซีนรายใหญ่ให้กับประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นประเทศร่ำรวยประเทศหนึ่ง โฆษกรัฐบาลโคลัมเบีย กล่าวถึงข้อตกลงทวิภาคีกับผู้ผลิตวัคซีนตะวันตกสี่ราย ได้แก่ Pfizer / BioNTech, AstraZeneca, Moderna และ Johnson & Johnson จะส่งมอบวัคซีนอีก 39 ล้านโดสที่โคลอมเบียสั่งซื้อไว้แล้ว นั่นคือCOVAX เป็นคนกลางที่ไม่ได้จัดส่งวัคซีนให้ประเทศยากจนเท่านั้น เสมือนหนึ่งเป็นผู้รวบรวมวัคซีนให้ใครก็ตามที่ต้องการจัดซื้อผ่านด้วย

ปัจจุบันนี้วัคซีนของจีนและรัสเซีย เป็นที่สนใจของรัฐบาลหลายประเทศ สั่งซื้อตรงเพราะมีให้บริการตามการร้องขอ การจัดเก็บไม่ยุ่งยาก นายวิคเตอร์ ออร์บัน (Viktor Orbán) นายกรัฐมนตรีฮังการีได้ซื้อวัคซีนทั้งของจีนและรัสเซีย และทำให้ผู้นำสหภาพยุโรปอื่น ๆไม่พอใจ  เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Focus เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 ว่า ภาระหน้าที่ของเขาคือการได้รับวัคซีนให้มากที่สุดโดยเร็วที่สุด เขากล่าวว่า“ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวัคซีนตะวันออกหรือวัคซีนแบบตะวันตก มี แต่วัคซีนที่ดีและวัคซีนที่ไม่ดี” 

ประเทศเซอร์เบียที่อยู่ใกล้เคียง ได้แถลงการณ์เกี่ยวกับการเข้าถึงวัคซีนของจีนและรัสเซีย  ทั้งนี้จีนและรัสเซียพยายามที่จะมีอิทธิพลในคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกมานานแล้ว ผ่านทางด้านสนับสนุนการเงินและให้เงินกู้โครงสร้างพื้นฐานและการลงทุน สหภาพยุโรปคอยขัดขวางและ ปัจจุบันนี้ขวางไม่อยู่ เพราะการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยนไป  “ฉันเขียนจดหมายถึงสี จิ้นผิง ในเดือนตุลาคมและราคาก็ลดลงอย่างมาก” นายอเล็กซานเดอร์ วูคิก (Aleksander Vučić)ประธานาธิบดีเซอร์เบีย  กล่าวกับสื่อท้องถิ่นด้วยความภูมิใจที่ได้ข้อตกลงราคาที่พอใจ

ประเทศเล็ก ๆ เซเชลส์ (ประชากร 98,000 คน) ได้รับความทุกข์ทรมานจากการเสียชีวิตจากโรคโควิด -19 เพียงครั้งเดียว แต่ได้รับวัคซีนฟรี 150,000 วัคซีนแล้วซึ่งเป็นเงินบริจาคจากอินเดียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เจ้าหน้าที่ได้ฉีดวัคซีน 2 ใน 3 ของประชากรมากกว่าประเทศใด ๆ ยกเว้นประเทศอิสราเอล

ประเทศทางตะวันตกต่างกักตุนวัคซีนไว้ใช้เอง เหลือแล้วถึงบริจาค

เช่นประเทศแคนาดา: รัฐบาลได้สั่งซื้อวัคซีนประมาณ 7 ครั้งสำหรับประชาชนทุกคน และหวังว่าจะได้รับการอนุมัติเพียงพอสำหรับการใช้งานเพื่อไม่ให้ขาด หากมีปริมาณส่วนเกินหลายล้านจึงจะแบ่งปันไปยังประเทศอื่น ๆที่เป็นสมาชิก COVAX 

 

อิสราเอล: เป็นประเทศแรกที่ประชาชน 90 เปอร์เซ็นต์ของอิสราเอลได้รับการฉีดวัคซีนและรัฐบาลกำลังเปลี่ยนเข้าสู่โหมดผู้บริจาคอย่างช้าๆ นายกรัฐมนตรีเบนจามินเนทันยาฮู  แถลงผ่านทางโฆษกกล่าวย้ำว่า เงินบริจาคในประเทศของเขาจะยังคงเป็นแค่ “ปริมาณเชิงสัญลักษณ์” จนกว่าชาวอิสราเอลทุกคนที่ต้องการฉีดวัคซีนจะได้รับการฉีดวัคซีน การบริจาคของอิสราเอล เพียง 5,000 โดสให้กับหน่วยงานแห่งชาติปาเลสไตน์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ

ด้านสหรัฐอเมริกา: ประธานาธิบดีโจไบเดนยืนยันเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมาว่าสหรัฐฯยังมีปริมาณวัคซีนมากพอที่จะฉีด ให้ทุกถิ่นที่อยู่ของชาวอเมริกัน ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม และประกาศช่วยเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ COVAX แต่ไม่ได้เสนอบริจาควัคซีนแต่อย่างใด

สหราชอาณาจักร: จัดซื้อไว้พอกับประชาชน หากมีเหลือคาดจะพร้อมบริจาคหรือขายในราคามิตรภาพสำหรับประเทศที่ยากจนในช่วงปลายฤดูร้อน  

วัคซีนในวันนี้ ไม่ว่าเป็นของฝั่งตะวันตกหรือตะวันออก ยังไม่สามารถรับประกันได้ถึง 100% ในการยับยั้งเชื้อโรคอุบัติใหม่กลายพันธุ์อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ที่ชัดเจนที่สุดตลอดช่วงเวลา 1 ปีกว่าที่ต้องเผชิญการระบาดใหญ่ ประชาชาติทั่วโลก และประเทศไทย ได้เห็นชัดเจนแล้วว่า เมื่อโลกเผชิญภัย ประเทศไหนที่น่าคบหา จะตะวันออกหรือตะวันตก จะคอมมิวนิสต์หรือประชาธิปไตยไม่สำคัญเท่า น้ำใจ แบ่งปันและไม่ฉวยโอกาส เมื่อประเทศไทยมีวีคซีนจากต่างประเทศแล้ว ก็อย่าลืมหันมามองวัคซีนที่กำลังผลิตโดยคนไทย ซึ่งมาจากสมุนไพรไทยด้วย มิเช่นนั้นเราก็คงต้องตกอยู่ใต้อาณัติของ บริษัทยายักษ์ใหญ่ข้ามชาติ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง