Truthforyou

แกนนำสามกีบนอนคุกต่อ วืดประกันตัวรอบ 4 อดีตพระพุทธะอิสระ ฟาด รุ้ง อ้างศาลอยู่ข้างม็อบ!?!

อดีตพระพุทธะอิสระ ฟาดหน้า รุ้ง งอแงอ้างศาลอยู่ข้างม็อบไม่สำเหนียกทำผิดซ้ำซาก ด้าน 4 แกนนำนอนคุกต่อ วืดประกันตัวรอบที่ 4!?!

จากกรณี ที่ศาลอาญาชั้นต้นมีพิพากษาจำคุก ในคดีแกนนำ กปปส. ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส.กับพวกรวม 39 คน ต่อมาศาลฯ ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แกนนำ กปปส. ทั้งหมด 8 คน คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ , นายชุมพล จุลใส , นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์, นายอิสสระ สมชัย , นายถาวร เสนเนียม , นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ , นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ อดีตพระพุทธะอิสระ, เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ โดยตีราคาประกันคนละ 8 แสนบาท โดยห้ามจำเลยที่ 1 เดินทางออกนอกประเทศ

ในขณะที่แกนนำม็อบคณะราษฎร คือ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีชุมนุม 19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร รวมทั้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัว

โดยทางเพจ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า 27 ก.พ. 64 เวลา 10.15 น. ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 64 ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร รวมทั้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ ชิวารักษ์ ในคดี #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ Mob Fest ทั้งสองคดีมีข้อกล่าวหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 รายละเอียดของการอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวของศาลชั้นต้นมีเนื้อหา โดยสรุปว่า

1.จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 64 โดยใช้เงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 400,000 บาท เพิ่มสูงขึ้นจากการขอปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งก่อน และมีศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลคลที่น่าเชื่อถือ เป็นนายประกันจำเลยทั้งสี่ จึงมีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และการปล่อยตัวไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาคดี
2. จำเลยไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไม่มาตามกำหนดนัด กล่าวคือ
เมื่อพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกจำเลยมารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและปฏิบัติตามนัดของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกนัด ในวันนัดส่งตัวฟ้องคดี จำเลยก็เดินทางมาศาลตามกำหนดของพนักงานอัยการโจทก์ และประการสำคัญโจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัว
สำหรับคดีความผิดลักษณะเดียวกันนี้ พริษฐ์เคยได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1012/2563 และ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.63 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ในคดีหมายเลขดำที่ ฝ.500/2563 ของศาลจังหวัดธัญบุรี พริษฐ์ก็ไม่เคยหลบหนีแต่อย่างใด หรือไม่ไปตามนัดแต่อย่างใด
อานนท์ นำภา เคยได้รับการปล่อยประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1437/2563 ,ได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.971/2563 และศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ก็เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ นำภา ซึ่งอานน์ได้เดินทางไปศาลในทุกคดีตามกำหนดนัดโดยตลอดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด
3. จำเลยทั้งสี่คนเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ยังไม่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ จำเลยเป็นเป็นเพียงคนที่ถูกฟ้องเท่านั้น ยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้กระทำผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และสิทธิดังกล่าวยังได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรค 2 และในคดีข้อหาทางการเมืองคดีอื่น แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดลงโทษจำคุกจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็อนุญาตให้ประกัน อันถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา จึงขอศาลอุทธรณ์ให้ประกันตัว เพื่อให้จำเลยได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม
4. จำเลยทุกคนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน กล่าวคือ
4.1) พริษฐ์ ชิวารักษ์ เป็นนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างช่วงการเรียนการสอนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทำรายงานต่าง ๆ และเข้าสอบให้ครบตามกำหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย และหากต้องถูกคุมขังไว้ต่อ โดยไม่ได้รับการประกันตัว ก็จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ อาจจะทำให้เรียนไม่จบ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตของเพนกวิน
4.2) อานนท์ นำภา ประกอบวิชาชีพทนายความ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องเดินทางมาศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบว่าความหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายในคดีสิทธิมนุษยชนหลายคดี และตลอดทั้งมีนาคม 64 และเดือนอื่น ๆ ก็ต้องทำหน้าที่ทนายความจำเลยที่ศาลอาญาและศาลอื่น ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย
4.3) หมอลำแบงค์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม.ประกอบอาชีพเป็นหมอลำ ก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด
4.4) สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประกอบอาชีพรับจ้างอิสระ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้เชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และหลักสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเดือดร้อน ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบากทางด้านชีวิตความเป็นอยู่และทางด้านเศรษฐกิจ ระบบกฎหมายพังทลายลง ไร้ซึ่งหลักนิติรัฐ นิติธรรม เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกหย่อมหญ้าเช่นนี้ ก็คงมีเพียงอำนาจศาลเท่านั้น ที่จะช่วยถ่วงดุล ตรวจสอบ คานอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงเป็นเสาหลักอันสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ช่วยสร้างหลักประกันสิทธิและฟื้นฟูให้ระบบกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว
อาศัยเหตุผลตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยทั้งสี่จึงขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ด้วย เพื่อให้จำเลยทั้งสี่ได้มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม จำเลยขอให้คำมั่นว่าจำเลย จะไม่หลบหนี และจะปฏิบัติตามนัดของศาลโดยเคร่งครัด หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใด ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดกำหนดวงเงินหลักประกันตามควรแก่กรณี และจำเลยทั้งสี่ยินดีวางหลักประกันตามวงเงินที่ศาลเรียกต่อไป

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ได้พูดในขณะที่ปราศัยเมื่อวันที่ 9 ก.พ.64 ในประเด็นที่ มีศาลคอยส่งสัญญาณช่วยยื้อคดี โดยมีใจความว่า ศาลส่งสัญญาณมาให้เราว่า เขาจะยื้อได้ถึงแค่วันที่ 14 นี้เท่านั้น ศาลที่เขาอยู่ฝั่งเราที่เขาพยายามช่วยเรา เขายื้อให้ได้ถึงแค่วันที่ 17 เพราะเขาถูกกดดันลงมาเยอะมาก ถูกกดดันมาจากข้างบน ข้างบนที่ว่าคือใคร อำนาจเหนือใคร อำนาจเหนือศาล

ซึ่งถือว่าการพูดในประเด็นดังกล่าวของ รุ้ง ค่อนข้ามเป็นเรื่องใหญ่และส่งผลกระทบอย่างเป็นวงกว้าง และข้อความดังกล่าวของ รุ้ง ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นศาลฯ และจาบจ้วงสถาบันอย่างชัดเจน

และต่อมาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ รุ้งได้เคลื่อนไหวแฃ้วโพสต์ข้อความถึงศาลอีกครั้ง โดยระบุข้อความว่า “ตอนเด็ก ๆ เคยคิดว่าศาลคือผู้ปกป้องและรักษาความยุติธรรม พอโตมาถึงได้รู้ว่าไม่ใช่เลย”

ล่าสุดทางด้าน อดีตพระพุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย และอดีตแกนนำ กปปส. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กถึงกรณีของรุ้ง โดยระบุข้อความว่า

เอาไงเนี่ย รุ้ง

๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

พอตำรวจจับ ศาลปล่อย

พอตำรวจจับ ศาลปล่อย

รุ้งก็บอกว่า ศาลอยู่ฝั่งม็อบ

แต่พอศาลไม่ให้ประกันตัว ๔ แกนนำ ด้วยพฤติกรรมผิดเงื่อนไข ที่ศาลสั่งห้ามออกมาชุมนุม สร้างความวุ่นวายแก่บ้านเมือง

พวกหนูๆ ก็ไม่เคยสำเหนียก

ยังทำผิดซ้ำๆ ซากๆ เหมือนเดิม

คงเพราะหนูๆ เชื่อมั่นว่า ศาลเป็นพวกเดียวกับหนูล่ะสิ

พอเที่ยวนี้แกนนำ ๓ นิ้วถูกจับ ศาลไม่ให้ประกันตัว เพราะผิดเงื่อนไขมาหลายครั้ง หนูก็ออกมาโพสต์ คร่ำครวญว่า

“ตอนเด็กๆ คิดว่าศาลคือผู้ปกป้องและรักษาความยุติธรรม พอโตมาถึงได้รู้ว่าไม่ใช่เลย”

งั้นก็แสดงว่า ไอ้ที่หนูมโนเอาเองว่า ศาลอยู่ฝั่งม็อบ ๓ นิ้ว นั่นก็โกหกหละสิ หรือหนูๆ คิดว่าศาลจะยุติธรรมได้ก็ต่อเมื่อ ต้องเป็นข้างเดียวกับพวกม็อบ ๓ นิ้ว ใช่ไหมล่ะ

นี่มันประชาธิปไตยโลกไหนกันล่ะเนี่ย

ใครที่ให้ประโยชน์ ก็บอกเป็นพวกเดียวกัน

ใครที่ไม่ให้ประโยชน์ ก็ต้องเป็นศัตรูกันงั้นสิ

 

Exit mobile version