อัษฎางค์ ยก “ขุนพล กปปส.” พลีชีพรักษาความศักดิ์สิทธิ์กฎหมาย เทียบ “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” หนีคดีออกนอกประเทศ เนรคุณแผ่นดิน!?! 

2332

อัษฎางค์ ยก “ขุนพล กปปส.” พลีชีพรักษาความศักดิ์สิทธิ์กฎหมาย เทียบ “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” หนีคดีออกนอกประเทศ เนรคุณแผ่นดิน!?!

ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดี กลุ่มกปปส. ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส.กับพวกรวม 39 คน เป็นจำเลยความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ก่อการร้าย ล้มล้างระบอบการปกครอง มั่วสุมชุมนุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยยื่นสำนวนฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2561

ศาลอาญาพิพากษาจำคุก นายสุเทพ 5 ปี และพวกรวม 26 คน โดยมีโทษจำคุกแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 9 ปี 24 เดือน ส่วนข้อหาความผิดฐานกบฎและก่อการร้ายยกฟ้อง เพราะพฤติการณ์ชุมนุมไม่มีการใช้กำลังประทุษร้ายบุคคลใด เพื่อล้มล้างการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร จึงไม่เป็นความผิดตามฐานดังกล่าว ส่วนข้อหาอื่นพิพากษาจำคุก

คำพิพากษาของศาล ก็มีจำเลยที่ถูกเพิกถอนสิทธิการเมือง 5 ปี ได้แก่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และนายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. เนื่องจากศาลอาญาสั่งเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของพวกเขาเป็นเวลา 5 ปี และมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเมือง ของนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ, ร.ต. แซมดิน เลิศบุศย์, นายสำราญ รอดเพชร และนางทยา ทีปสุวรรณ ทำให้เธอไม่สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

ล่าสุดทางด้าน นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว ยกเทียบกับประวัติศาสตร์ของพันท้ายนรสิงห์ ที่ยอมพลีชีพเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย โดยระบุข้อความว่า

“พันท้ายนรสิงห์”
วีรบุรุษผู้ยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระมหากษัตริย์
เมื่อครั้งที่พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึง”ตำบลโคกขาม”ซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน
เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ ในเวลาเช้าตรู่ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 พ.ศ. 2247 แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา พร้อมกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งไว้บูชาพร้อมกัน
ขุนพล กปปส นำทัพสู่กับอำนาจจากรัฐบาลที่เผาบ้านเผาเมือง โดยที่รับรู้อยู่ว่าการกระทำบางสิ่งบางอย่างมีความเสี่ยงและอาจหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย แต่ยอมเอาอนาคตของตนเองมาเสี่ยง เพื่อหวังให้ชาติและประชาชนพ้นภัย
เมื่อเสร็จศึก ก็ไม่คิดหนีหน้าไปไหน รอต่อสู้เพื่อพิสูจน์ตนเองว่า การกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมายนั้น ทำลงไปด้วยใจบริสุทธิ์ โดยไม่มีทางเลี่ยง เพื่อต่อสู้กับนักการเมืองที่มีอำนาจล้นมือล้นเมือง
พันท้ายนรสิงห์ วีรบุรุษผู้ยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระมหากษัตริย์ พันท้ายเนรคุณ คือคนขี้ขลาด ที่วิ่งหนีไปแก้ตัวไป แต่ไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองผิดหรือไม่ผิด หนีไปก่อนที่จะฟังคำพิพากษาด้วยซ้ำ คนที่วิ่งหนี เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าตัวเองทำผิด จึงไม่กล้าพิสูจน์ตนเอง “ว่าเป็นนรสิงห์ หรือเนรคุณแผ่นดิน”
ซึ่งหลายคนก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าว โดยนำไปเปรียบเทียบกับการหลบหนีของทักษิณ ชินวัตร และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หนีออกนอกประเทศ
ในกรณีของนายทักษิณ ชินวัตร หลังถูกยึดอำนาจข้ามโลกระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่มหานครนิวยอร์ก ในคืน 19 กันยายน 2549 เนื่องจาก ทักษิณ มีคดีทุจริตติดตัวนับ 10 คดี เขาใช้เวลาต่อสู้จนรัฐบาลนอมินีในนามพรรคพลังประชาชนได้สถาปนาอำนาจเป็นรัฐบาล ทำให้เขาได้กลับมากราบแผ่นดินเกิดอีกครั้ง และใช้สิทธิต่อสู้คดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะคดีทุจริตที่ดินรัชดา แต่ระหว่างทางการสู้คดีได้ขออนุญาตศาลเดินทางออกนอกประเทศไปเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2551 เพื่อไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งเพื่อหนีคดี หลังจากนั้น ทักษิณ พยายามส่งสัญญาณถึงผู้มีอำนาจ ขอเจรจาทั้งเรื่องคดีความเพื่อนำไปสู่การกลับเข้าประเทศหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ กลับไทยไม่ได้จนถึงวันนี้
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้หนังสือเดินทางของประเทศกัมพูชา เดินทางออกจากประเทศไทยและต่อไปยังประเทศที่สาม หลังจากหลบหนีคดีรับจำนำข้าวที่ประเทศไทย
ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 ส.ค.60 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สวมหมวกสีดำ ใช้หน้ากากอนามัยปิดบังใบหน้าพร้อมเลขาส่วนตัว นั่งรถยนต์เมอร์สิเดสเบนซ์ออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบกับ “พ.ต.อ.” นายหนึ่ง ที่ขับรถยนต์ตราโล่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มารอพบที่บริเวณ ลานจอดรถห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ย่านวัชรพล ก่อนจะมีรถ 2 คันมุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านชัยพฤกษ์ ก่อนที่รถทั้ง 2 คันจะหายเข้าไปภายในบ้านพักของพ.ต.อ.คนดังกล่าว
ต่อมาน.ส.ยิ่งลักษณ์พร้อมเลขาฯ และ”พ.ต.อ.” ได้ขับรถยนต์โตโยต้าแคมรี่ออกจากหมู่บ้าน ไปมีนบุรี ใช้ถนนสุวินทวงศ์ มุ่งหน้า อ.พนมสารคาม อ.เขาหินซ้อน ไปยังจ.สระแก้ว ก่อนถึงอ.อรัญประเทศประมาณ 22.00 น. ก่อนไปสิ้นสุดที่บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟอรัญประเทศ โดยมีรถกระบะสีทึบสี่ประตูเปิดไฟฉุกเฉินรออยู่ และมีชายร่างสูงใหญ่นำตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์พร้อมเลขา ขึ้นรถกระบะ ออกจากจุดนั้น โดย จุดสุดท้ายที่น.ส.ยิ่งลักษณ์และเลขา หายตัวไปคือบริเวณชายแดนอรัญประเทศ ซึ่งติดกับประเทศกัมพูชา และจากจุดนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์และเลขา จะใช้เส้นทางธรรมชาติหลบหนีออกไปจากประเทศไทย และได้เดินทางต่อไปยังประเทศสิงคโปร์เพื่อพบกับนายทักษิณ ชินวัตรและเดินทางพร้อมกับนายทักษิณไปยังนครดูไบ