ฟู้ดเดลิเวอรีไทย 4.1 หมื่นล้านคึก!?! ธนาคารส่งแอพโรบินฮู้ด-อี๊ดเทเบิลลงชิงเค๊ก เขย่าเจ้าตลาด Gojek, Grab!

2335

การแข่งขันในธุรกิจฟู้ดดิลิเวอร์รี่และการขนส่งแบบออนดีมานด์ในประเทศไทย กำลังดุเดือดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นการแข่งขันของ “รายใหญ่” ที่ทุกรายต่างปรับกลยุทธ์ เปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำธุรกิจ พร้อมลุยตลาดไทยอย่างเต็มรูปแบบด้วยเทคโนโลยีและเม็ดเงินลงทุนที่มากกว่าเดิม บริการส่วนใหญ่คล้ายกัน ทั้งส่งอาหาร เรียกรถ รับส่งพัสดุ เพย์เมนท์ ชิงเค็กมูลค่าตลาด 4.1 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางกระแสข่าวอาลีบาบาฮุบแกร็บแล้ว ภาวะเช่นนี้ สะท้อนการทำธุรกิจรายย่อยแบบเอสเอ็มอียากเกิดในสนามนี้ ถ้าทุนไม่ใหญ่จริง สายป่านยาวได้ ต้องถอย 

นายอันเดร โซลิสต์โย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม โกเจ็ก (Gojek) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มขนส่งแบบออนดีมานด์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า โกเจ็กมีแผนที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเงินลงทุนและเทคโนโลยี ไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ สามารถเติบโตได้อีกมหาศาล จากที่ได้เข้ามาทำตลาดในนามของ “เก็ท(Get)” พบว่าทีมงานไทยมีความทุ่มเท จึงเชื่อว่าจะสามารถเข้ามาทำให้ธุรกิจยิ่งมีความแข็งแกร่ง อีโคซิสเต็มสมบูรณ์มากขึ้น เกิดประโยชน์กับทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และพันธมิตรคนขับ

เปิดตัวแอพพลิเคชั่น “Gojek” อย่างเป็นทางการ โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของบริษัท ได้แก่ บริการส่งอาหาร “โกฟู้ด(GoFood )” บริการเรียกรถจักรยานยนต์ “โกไรด์(GoRide)” บริการรับส่งพัสดุ “โกเซนด์(GoSend)” และบริการอีวอลเล็ต “โกเพย์ (GoPay) ผ่านแอพพลิเคชั่นที่พร้อมให้ดาวน์โหลดสำหรับทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์

โดยเมื่อ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา โกเวียต(GoViet) ซึ่งเป็นกิจการของโกเจ็กในเวียดนาม ได้เปิดตัวภายใต้แบรนด์โกเจ็กเช่นเดียวกัน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้ โดยมียอดการสั่งซื้อรวมหลายล้านครั้งภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่เปิดตัวปัจจุบัน โกเจ็กมียอดการดาวน์โหลด มากกว่า 170 ล้านครั้ง ร้านค้าพันธมิตรมากกว่า 5 แสนร้านค้า พันธมิตรคนขับมากกว่า 2 ล้านคน รวมทำตลาดอยู่ใน 215 เมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไทม์ไลน์แข่งเดือดรับสัญญาณเศรษฐกิจค่อยๆฟื้น

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี ปีนี้ของไทยครึ่งปีหลังดูคึกคัก เพราะมีการเปิดตัวผู้เข้ามาลงแข่งขัน เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะจากธนาคารไทย นอกเหนือไปจาก Grab, Get, Lineman, Food Panda ผู้โด่งดังและต่างได้รับความนิยม

-Get ปรับแบรนด์เป็นชื่อบริษัทแม่ Gojek สยายปีกทั้งไทยและเวียดนามไปพร้อมกัน: กรกฎาคม 2563

-Lineman ควบรวมกิจการกับ Wongnai เสริมความแกร่งเครือข่ายคนไทยนิยมชิมช้อปเที่ยว: สิงหาคม 2563

-ธนาคารไทยพาณิชย์เสนอ “โรบินฮู้ด:Robinhood”, ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว “อี๊ทเทเบิล:eatable”-กันยายน 2563

สมรภูมิขนส่งด้านฟู้ดเดลิเวอรีมีมูลค่าตลาดกว่า 4.1 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (ศูนย์วิจัยกสิกร) มองว่าการแข่งขันรุนแรงแต่กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อให้เติบโตในแพลตฟอร์มของบริษัท  ซึ่งจะสามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในระยะยาว การแข่งขันด้านโปรโมชั่นหรือราคา มีเป็นระยะ ไม่ต่อเนื่องและไม่เน้นเท่า ผลระยะยาวเพราะในวันนี้ธุรกิจฟูดเดลิเวอรีของต่างชาติ ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยยังไม่มีใครได้กำไรแม้แต่รายเดียว

จริงหรือว่าฟู้ดเดลิเวอรีไม่มีกำไร แต่เข้ามาแข่งกันตรึม

-Grab- ปี 2560 ทุน 361.68 ล้านบาท ขาดทุน 985.33 ล้านบาท, ปี 2561 ทุน 1,105.75 ล้านบาทขาดทุน 711.56 ล้านบาท, ปี 2562 ทุน 2,855,63 ล้านบาท ขาดทุน 1,650.11 ล้านบาท

-Gojek(เดิมใช้ Get) ปี 2562 ทุน 133.16 ล้านบาท ขาดทุน 1,137.30 ล้านบาท

-Food Panda ปี 2560 ทุน 206.03 ล้านบาท ขาดทุน 39.57 ล้านบาท, ปี 2561 ทุน 240.72 ล้านบาท ขาดทุน 138.80ล้านบาท, ปี 2562 ทุน 16.90 ล้านบาท ขาดทุน 1,264.50 ล้านบาท   

-Lineman ปี 2562 ทุน 49.88 ล้านบาท ขาดทุน 157.25 ล้านบาท

(*ที่มา: กรมพัฒนาการค้าฯ)

แม้ผลประกอบการโดยรวมจะไม่สวยงาม แต่ส่วนใหญ่รายใหญ่ยืนอยู่ได้เพราะ มีเงินทุนและเท็คโนโลยีพร้อมที่จะยันธุรกิจต่อเน่องหวังผลในระยะยาว เนื่องจากข้อมูลของลูกค้า-ความสนใจ, พฤติกรรมในการจับจ่าย, กำลังกซื้อและร้านค้าในเครือข่าย คือขุมทรัพย์ที่ธุรกิจต่างแสวงหา จะเห็นว่าบริษัทที่เริ่มทำฟู้ดเดลิเวอรรีไประยะหนึ่ง จะก้าวเข้าสู่บริการทางการเงินในระดับบุคคล ทำให้ไปแปลกใจเลยว่าธนาคารก็เข้ามาชิงแข่งขันเพื่อแบ่งเค๊กธุรกิจด้วย เป็นการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ครบวงจร ซึ่งอาจเป็นว่าที่ลูกหนี้ธนาคารต่อไปในอนาคต

ผู้เล่นหน้าใหม่ไม่ใช่ใคร-สถาบันการเงิน

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)เปิดตัวแอปพลิเคชันแพลตฟอร์มบริการในชื่อ Robinhood โดยเริ่มจากให้บริการส่งอาหารแก่ร้านอาหารขนาดเล็กหรือ SME โดยชูจุดแข็ง 4 ด้าน ทั้งการไม่เก็บค่าธรรมเนียมการใช้ การไม่เก็บค่าสมัคร การจ่ายเงินตรงสู่บัญชีร้านค้าภายใน 1 ชั่วโมง และพร้อมพาร้านอาหารขนาดเล็กเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ 

SCB ตังเป้าร้านอาหาร 20,000 ร้านในช่วงเปิดตัว และเพิ่มเป็น 40,000-50,000 ร้านในสิ้นปี นำร่องบริกานรในกทม.และปริมณฑล อนาคตขยายบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องและมุ่งเป็น Super App ในระยะยาว

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ส่ง Eatable แพลตฟอร์มสำหรับร้านอาหารและลูกค้า จุดขายคือไมเก็บค่าธรรมเนียม GP จากร้านอาหาร และร้านเลือกสายส่งได้เพื่อให้คุ้มค่ากับคำสั่งซื้อของลูกค้า ร้านอาหารไม่ต้องบวกราคา ให้บริการผ่าน Express Linkเหมือน Grab, Lalamove หรือ Skooter และเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนด้วยมินิโปรแกรม ไคไท่เตี่ยนไช่ (Kai Tai Dian Ca)ผ่านแอพวีแชท(WeChat)ปลายปีนี้