ย้ายไปไหน ก็หนีไม่พ้น!! “คณะก้าวหน้า” ชวน “แก๊งสามกีบ” ใช้คลับเฮาส์ แอพพลิเคชั่นสุดอันตราย เคยทำจีนสะเทือนมาแล้ว!?
เมื่อช่วงวันที่ 16 ก.พ.64 ที่ผ่านมา ทางด้านของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยเป็นการชักชวนให้แก๊งสามกีบหันมาใช้แอพพลิเคชั่นใหม่ ที่มีชื่อว่า Clubhouse (คลับเฮาส์)
ซึ่งทางด้านของ นายปิยบุตร ได้เล็งเห็นว่า เตรียมใช้ แอพพลิเคชั่น Clubhouse (คลับเฮาส์) ในการนำเสนอประเด็นวิชาการ-การเมือง ซึ่งทุกท่านก็คงจะทราบกันดีว่าจะไปในทิศทางใด โดยได้โพสต์ข้อความว่า
“เพิ่งสมัคร Clubhouse ได้ 2-3 วัน กำลังฝึกเล่นอยู่ ยังใช้งานไม่คล่องเท่าไหร่ ถือเป็น platform ที่น่าสนใจไม่น้อย น่าจะสามารถนำมาใช้ถกประเด็นวิชาการ-การเมือง หรือเผยแพร่รายการที่เคยทำในช่องทางอี่นๆ ได้ครับ”
โดยการเริ่มต้นเสวนาของนายปิยบุตร ในแอพพลิเคชั่น Clubhouse (คลับเฮาส์) ก็คือหัวข้อ “ขอใช้สิทธิ์ราษฎรอภิปรายการอภิปรายไม่ไว้วางใจ” โดยได้มี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ร่วมแชร์การชักชวนของนายปิยบุตรผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัวด้วยเช่นกัน
ซึ่งการที่ทางด้านของ กลุ่มคณะก้าวหน้า หันไปใช้แอพพลิเคชั่น Clubhouse (คลับเฮาส์) ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากภาครัฐ เนื่องจากทางด้านของ Facebook และ Twitter ทางด้านของรัฐบาลได้ล็อคเป้าในการตรวจสอบอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ทางด้านของ คลับเฮาส์ นั้นมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการสนทนาทางด้านของการเมือง โดยเริ่มมีคนรู้จักเป็นอย่างมากจากหัวข้อ “ค่ายปรับทัศนคติ” ที่เขตซินเจียงของจีนมีจริงหรือไม่ , ไต้หวันควรได้รับเอกราชจากจีนหรือเปล่า เนื่องจากที่หลายๆคนกล้าพูดผ่านคลับเฮาส์ เนื่องจากว่า แอพพลิเคชั่นนี้มีความเป็นส่วนตัวและระวังภัยสูง จะไม่สามารถมีใครอัดเสียงผู้ที่พูดในแอพฯนี้ออกไปได้ รวมถึงไม่มีระบบการเซ็นเซอร์เนื้อหาการพูดคุยแต่อย่างใด
โดยทางด้านของ คลับเฮาส์ ค่อนข้างมีความน่ากลัวเพราะนักเคลื่อนไหวชาวจีนมักจะใช้ช่องโหว่ของ คลับเฮาส์ พูดคุยกันถึง “เรื่องต้องห้าม” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาวอุยกูร์ในซินเจียง การปราบปรามผู้ประท้วงฮ่องกง หรือความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีน และถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ทำให้ประเทศจีน สะเทือนมาแล้วก่อนหน้านี้
ถึงอย่างไรก็ตามล่าสุดทางด้านของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า กระทรวงดิจิทัลฯ และเจ้าหน้าที่รัฐได้ติดตาม การใช้งานของ แอพพลิเคชัน Clubhouse ตั้งแต่แรกที่มีผู้เริ่มใช้งาน ซึ่งแม้ว่าการใช้งานเป็นลักษณะกลุ่มปิดที่ต้องมีเพื่อนเชิญเข้าร่วมกลุ่มก็ตาม แต่การใช้โซเชียลมีเดียทุกรูปแบบ หากใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะส่งผลดีต่อการใช้งาน เกิดผลดีต่อสังคม
แต่ทั้งนี้ ก็ฝากเตือนไปยังผู้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว ว่า หากไม่ระมัดระวังใช้ในทางที่ผิด เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่น สร้างความเสียหาย ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทันที เช่นเดียวกับที่ได้ติดตามตรวจสอบการใช้งานโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย