จากกรณีเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปทอดพระเนตรวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เสด็จพระราชดำเนินถึงทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย นายแอลลัน เจมส์ มักคินนัน เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การทูต และเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย และคู่สมรส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
จากนั้น เสด็จเข้าห้องประทับรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย ในสมุดที่ระลึก แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องพิธี เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติดื่มถวายพระพรแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
ต่อจากนั้น เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึก และกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย พร้อมทั้งกราบบังคมทูลเชิญทอดพระเนตรวีดิทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการภาพถ่าย “การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเครือรัฐออสเตรเลียของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี 2505 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเครือรัฐออสเตรเลีย” ตามลำดับ สมควรแก่เวลา จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ
จากกรณีนี้เอง ล่าสุด ในโซเชียลฯ มีการแชร์โพสต์จากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่โพสต์ข้อความว่า ส่วนตัวดิฉันชื่นชม (ซึ่งอาจเป็นการมิบังควรที่จะใช้คำนี้) สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินีในเรื่องการเลือกฉลองพระองค์ที่ถูกกาลเทศะ ให้เกียรติวัฒนธรรม ผู้คนในถิ่นที่พระองค์เสด็จไปเยือน จะเห็นได้จากการเสด็จจังหวัดต่าง ๆ ที่ฉลองพระองค์ตามวัฒนธรรมของจังหวัดนั้น ๆ เสมอ พระองค์เสด็จสถานทูต ฉลองพระองค์ตัวนอกด้วยผ้าที่พระองค์เลือกให้มีลายเฉกเช่นเดียวกับที่ชนเผ่าอะบอริจินวาดลายบนผิวหนัง ฉลองพระองค์ตัวในเป็นสีเนื้อ เพื่อให้เปรียบเสมือนลายผ้าตัวนอกนั้นคือลายวาดบนร่างกายชาวอะบอริจิน สมเด็จพระนางเจ้าไตร่ตรองทุกรายละเอียด discrete และ considerate พระองค์ทำให้ดิฉันระลึกถึงเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ที่มีรายละเอียดการแต่งกายองค์เช่นเดียวกัน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
อย่างไรก็ตาม จากโพสต์ดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อย้อนไปดูจะพบว่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระองค์ท่านทรงกายให้เกียรติสถานที่ ทุกที่ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไป ดังเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563 เพจเฟซบุ๊กสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ โพสต์ว่า พสกนิกรที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จในหลวงและพระบรมราชินี ต่างปลื้มปีติ เมื่อเห็นฉลองพระองค์ด้วยผ้าปาเต๊ะ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปักษ์ใต้
ฉลองพระองค์กี่เพ้าสีแดงเข้ม ตกแต่งลวดลายดอกไม้ จับคู่กับรองพระบาทสีเดียวกัน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ถนนเยาวราช
และในวันที่ 18 ธ.ค. 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในการพระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ ประจำปี 2563 ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และเสด็จฯ ไปในการพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัล แก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2561 และพระราชทานรางวัลแก่ผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ประจำปี 2561 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีฉลองพระองค์ชุดบานง