Truthforyou

กองทัพเรือทุ่มงบฯกว่า 2,000 ล้านบาท!?! ดันศูนย์ซ่อมฯอู่ตะเภาแจ้งเกิด ขณะการบินไทยเร่งเจรจาหาผู้ร่วมทุนให้ทันส่งแผนฟื้นฟูฯ

ความคืบหน้าศูนย์ซ่อมอากาศยาน เรียกสั้นๆว่า MRO เป็นโครงการสำคัญของ EEC ที่จะผลักดันไทยเป็นฮับการบิน โดยการบินไทยได้สิทธิ์บริหาร แต่ยังไม่สามารถเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนได้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย อุตสาหกรรมการบินยังอ่วม แต่ได้กองทัพเรือซึ่งรับผิดชอบงานโครงสร้างพื้นฐาน เป็นแม่งานหลักเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ วงงบฯประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ประมูล 4 โครงการได้ผุ้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว ปี 2564 นี้ลงมือก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ตามแผน

วันที่ 17 ก.พ.2564 กองทัพเรือ (ทร.) ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครนงการ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO)อู่ตะเภา ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโครงการเม็กกะโปรเจ็กต์  “ฮับการบินภูมิภาค” ตั้งอยุในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี โดยกองทัพเรือเป็นแม่งาน สร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการทั้งหมด และ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการบริหารศูนย์ซ่อมอากาศยาน และปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถเจรจาหาผู้ร่วมทุนได้

ในด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทร.เป็นเจ้าภาพหลักนั้น ปี 2563 ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้าง ผลักดันการประกวดราคาไปทั้งสิ้น 4 โครงการมูลค่า 1,890 ล้านบาท ได้แก่

  1. งานจ้างปรับถมดินและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง งานก่อสร้างศูนย์ซ่อม 660 ล้านบาท  ซึ่งเอกชนผู้ชนะประมูลได้แก่ บริษัทอิตาเลียนไทยดิเวลลอปเมนต์ จำกัด(มหาชน)โดยเสนอราคาต่ำสุด 880 ล้านบาท
  1. จ้างควบคุมงานถมดินและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 16.5 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูลได้แก่ บริษัท โชติจินดา คอนซัลเตนท์ จำกัด
  2. จ้างปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อม วงเงิน 1.18 พันล้านบาท ผู้ชนะประมูลคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่วิศวกรรม โดยเสนอราคาต่ำสุด 996 ล้านบาท

4.จ้างควบคุมงานปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 วงเงิน 29.6 ล้านบาท ผู้ได้รับคัดเลือกคือ กลุ่มที่ปรึกษาบริษัทอินเด็กซ์ ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัด  บริษัท สแปน จำกัด บริษัท ดีเคต คอนซัลแตนส์ จำกัด และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด

ในการนี้ทางบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยืนยันเจตนารมย์แผนการบริหารจัดการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ในแผนฟื้นฟูทีจะต้องจัดทำส่งศาลล้มละลายกลางในวันที่ 3 มีนาคม 2564

นายเชิดพันธ์ โชติคุณ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายช่าง การบินไทย ออกมาระบุแผนการดำเนินการโครงการ MRO ของการบินไทยเป็นไปตามแผนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาหาผู้ร่วมลงทุน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งได้ขยับแผนระยะเวลาการเปิดบริการไปเป็น ปี2567

ขณะเดียวกัน “การบินไทย” ได้เร่งฝ่ายช่างหารายได้หนุนองค์กรไปก่อน โดยลงนามร่วมกับ “กองบินตำรวจ” เหมาซ่อมอากาศยานและการฝึกอบรม กวาดรายได้แตะปีละ 1,000 ล้านบาท การบินไทยจะรับจ้างดำเนินการเหมาซ่อมบำรุงอากาศยานของกองบินตำรวจ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 60 ลำ ประกอบด้วย เฮลิ คอปเตอร์ และเครื่องบินโดยสารหลายประเภท โดยส่วนหนึ่งการบินไทยจะทำการซ่อมบำรุงเอง และอีกส่วนหนึ่งจะว่าจ้างบริษัทอื่นดำเนินการต่อ

สำหรับการเจรจาหาผู้ร่วมทุนจะยังเร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด เพราะต้องระบุในแผนฟื้นฟูก่อนส่งให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาในวันที่ 3 มี.ค. 2564

 

ส่วนแผนการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ในส่วนที่การบินไทยรับผิดชอบบริหาร จะดำเนินการในพื้นที่ 210 ไร่ เป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ โดยแบ่งระยะการลงทุนช่วง ในระยะแรก ปี 2565-2583 ลงทุน 6,400 ล้านบาท โดยการบินไทยลงทุนเอง 2,000 บ้าน ที่เหลือเป็นเอกชนลงทุน ในการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ เป้าหมายรองรับการซ่อมบำรุงเครื่องบินได้ 80-100 ลำ

เป้าหมายสร้างรายได้ ปีแรก 400-500 ล้านบาท จากการซ่อมอากาศยานปีละ 10 ลำ คาดการณ์การเติบโตรายได้เฉลี่ยปีละ 2% ระยะเวลา 50 ปี รายได้รวม 2 แสนล้านบาท

Exit mobile version