นิด้าโพล ชี้ชัด ประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อ “ม็อบสามกีบ” มีผู้อยู่เบื้องหลัง เกิดความขัดแย้งกันเอง!?!

2449

นิด้าโพล ชี้ชัด ประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อ ม็อบสามกีบ มีผู้อยู่เบื้องหลัง ย้อน สมบัติ ทองย้อย เคยออกมาแฉ ม็อบมีเจ้าของ

จากกรณีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้มีการชุมนุมของคนเมียนมาในประเทศไทย โดยมีการชุมนุมที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย ถนนสาทรเหนือ เพื่ออ่านแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการทำรัฐประหารในเมียนมา และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี

โดยเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้เกิดเหตุปะทะกัน ระหว่างกลุ่มการ์ดวีโว่และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ประกาศขอให้ทางกลุ่มยุติ แต่การ์ด wevo ของม็อบราษฎรที่นำโดยนายปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้ ไม่ยอมเลิกทั้งยืนกรานจะชุมนุมต่อ จากนั้นทางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน พร้อมโล่และกระบองจึงได้เข้าสลายการชุมนุมม็อบราษฎร โดยตั้งแถวเคลื่อนขบวนมาจาก ถ.ปั้น ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างตำรวจ และกลุ่ม wevo ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ข้าวของต่างๆ ขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ และขณะที่ตำรวจเคลื่อนขบวนบีบเข้ากระชับพื้นที่ ก็เกิดเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน บาดเจ็บ 2 นาย ขณะเดียวกัน ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ชุมนุมได้ 3 คน

ต่อมานายสมบัติ ทองย้อย หัวหน้าการ์ดเสื้อแดง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีเจ้าของม็อบ โดยระบุข้อความว่า

พูดถึงเจ้าของม็อบโดยบอกว่า วันที่เราบอกว่า #ม๊อบมีเจ้าของ #เขาเล่าว่า พวกติ่งทั้งหลายมาด่ากู ทัวร์ลง จนท่าเต็ม หาว่ากูเพ้อเจ้อ อิจฉา หิวแสง อยากมีบท อย่างนี้ อย่างนั้น พอมาวันนี้ทุกคนก็ได้รู้แล้วว่า ม๊อบมีเจ้าของจริงๆ และใครเป็นเจ้าของม๊อบ ใจคอจะไม่มาขอบคุณ หรือขอโทษกูกันบ้างเลยหรือที่มาบอก ใจร้ายฝุดๆ

ซึ่งในม็อบครั้งนี้มีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในการชุมนุมครั้งนี้ด้วย จึงทำให้หลายคนพุ่งเป้าถึงประเด็นของเจ้าของม็อบที่นายสมบัติกล่าวถึงหลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าของม็อบที่แท้จริงนั้น เป็นใครกันแน่

ล่าสุด ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กลุ่มราษฎร หรือม็อบสามนิ้ว ณ เวลานี้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา   และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว ณ เวลานี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการมีแกนนำกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.60 ระบุว่า มีแกนนำ ขณะที่ ร้อยละ 32.40 ระบุว่า ไม่มีแกนนำ

ส่วนการมีผู้อยู่เบื้องหลังของกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.25 ระบุว่า มีผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่ ร้อยละ 34.75 ระบุว่า ไม่มีผู้อยู่เบื้องหลัง ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับข่าวความขัดแย้งภายในกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้ว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.22 ระบุว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล รองลงมา ร้อยละ 25.48 ระบุว่า เป็นความไม่เข้าใจกันชั่วคราว ร้อยละ 16.88 ระบุว่า เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริง และร้อยละ 16.42 ระบุว่า เป็นกลลวงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกฝ่ายตรงข้าม

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรม/กิจกรรมของกลุ่มราษฎรหรือม็อบสามนิ้วที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 20.23 ระบุว่า เป็นการต่อสู้ด้วยวิถีทางแบบประชาธิปไตย ขณะที่ ร้อยละ 6.54 ระบุว่า ต่อสู้ด้วยวิถีทางนอกเหนือจากแบบประชาธิปไตยเพื่อให้ได้ชัยชนะ  ร้อยละ 16.20 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการเอาแต่ใจไม่เคารพในกฎหมายของบ้านเมือง ขณะที่ ร้อยละ 2.51 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพในกฎหมายของบ้านเมือง  ร้อยละ 9.89 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ขณะที่ ร้อยละ 8.90 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น  ร้อยละ 9.13 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพและไม่รับฟังความคิดเห็นต่าง ขณะที่ ร้อยละ 8.29 ระบุว่า แสดงออกถึงการเคารพและรับฟังความคิดเห็นต่าง  ร้อยละ 4.26 ระบุว่า เป็นการแสดงออกด้วยการพูดความเท็จและบิดเบือนข้อมูล

ขณะที่ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า แสดงออกด้วยการพูดข้อเท็จจริงและเหตุผล ร้อยละ 3.57 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้ที่ไม่ยึดหลักสันติวิธี ขณะที่ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า แสดงออกถึงการต่อสู้ที่ยึดหลักสันติวิธี   ร้อยละ 3.50 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้จิตสำนึกรับผิดชอบ ขณะที่ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า แสดงออกถึงการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามอย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบ  ร้อยละ 2.97 ระบุว่า เป็นการแสดงออกถึงการเคารพในความเท่าเทียมกัน ขณะที่ ร้อยละ 0.76 ระบุว่า แสดงออกถึงการแบ่งชนชั้น   และร้อยละ 19.32 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ