จากกรณีที่นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกียวโต ผู้หลบหนีหมายจับ ในคดี 112 โดยไปขอลี้ภัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้โผล่สอนออนไลน์ให้กับนักศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมายในสังคม เนื่องจากนายปวินนั้นเป็นผู้ต้องหาคดีร้ายแรงและได้หลบหนีออกนอกประเทศ ทั้งยังมีพฤติกรรมโจมตีสถาบันหลักของชาติ สร้างความขัดแย้งในสังคมไทย เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศมาโดยตลอด
ทั้งนี้ ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์ อาจารย์เจ้าของวิชาดังกล่าว เคยโพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 63 ระบุว่า
“เทอมหน้าต้องสอนวิชาเศรษฐกิจ ASEAN จีน และญี่ปุ่น
ทำยังไงจึงจะเชิญอ.ปวิณ ให้ Live มาบรรยายได้หนอ”
และเเมื่อเรื่องดังกล่าวตกเป็นประเด็นทางสังคม จนทางคณะเศรษฐศาสตร์ต้องออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ปรากฎว่าอาจารย์เจ้าของวิชาก็มิได้มีท่าทีสลดต่อสิ่งที่ทำแต่ยังใด ยังได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพิ่มเติมว่า
“ถ้าพี่แค่เชิญศิษย์เก่ามาบรรยยายในรายวิชา มาเล่าเรื่องการปลูกพืชผัก ขุดสระน้ำ ทำเศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตพี่ก็จะง่ายสบาย.. แต่นักศึกษาจะไม่ได้อะไร และพี่จะอายที่มีปัญญาทำได้แค่นั้น!!
ดังนั้น ทางเลือกนี้ปล่อยให้คนบางคนที่มักง่ายกับการสอนทำไปก็แล้วกัน
พี่ไป way ของพี่ดีกว่า ชัดเจน แรงหนุนเยอะ ทุกคนไม่ต้องกังวลนะ”
อย่างไรก็ตาม จากประเด็นดังกล่าว ล่าสุด ดร.พงศ์ชิต ชิตพงศ์ บุตรชายของรศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า
“ถ้าไม่สำนึกในพระนามพระบิดา
ก็โบยบินไปหาที่สอนที่อื่น ให้ปวินหาที่สอนให้
กระผม ดร.พงศ์ชิต ชิตพงศ์
ลูกชาย รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์
อดีตอธิการบดี มอ.
พ่อพูดกับผมเสมอว่า…
“ในช่วงเวลาที่พ่อบริหาร มหาลัย พระนามพระบิดา
พ่อจะไม่มีทางให้พระนามท่านแปดเปื้อนเด็ดขาด”
“ลูกเป็นลูกพ่อ พ่อเชื่อมั่นในที่พ่อสอน
พ่อหวังว่า ลูกจะไม่ทำตัวชั่วนะ”
ปัจจุบัน พ่อผมไม่ได้เป็นอธิการบดี มอ. และ
พ่อผมตายไปแล้ว
เรื่องที่เกิดขึ้นที่คณะเศรษฐศาสตร์ มอ.
เป็นการวางแผนที่เลวร้าย
ร่วมสุมหัววางแผนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
อย่างน้อยก็ดีใจ ที่พ่อไม่ได้เห็นความอัปยศของ…
มหาลัย พระนามพระบิดา โดยคณาจารย์กลุ่มนึง”
ขณะเดียวกัน ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า
“อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ข้าราชในหลายมหาวิทยาลัย ลองดูชื่อมหาวิทยาลัย หรือหาข้อมูลที่มาของมหาวิทยาลัย ถ้าหากมีความกตัญญูควนจะระลึกถึงพระมกากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ที่มีพระมหากรุณานะคะ
การตั้งชื่อมหาวิทยาลัย ไม่ใช่สักแต่จะตั้ง คนที่เขาตั้งชื่อ เขาพิจารณาที่มาของการกำเนิดของมหาวิทยาลัยว่าเกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์พระองค์ใดที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
คนเราควรจะมีความกตัญญูนะว่าตัวเองมีกินมีใช้ มีงานทำ มีที่เรียนเพราะพระราชวงศ์พระองค์ใด ทรงมีพระกรุณาแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างไร ศึกษาหน่อยนะ
ศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้รู้ที่มาของมหาวิทยาลัย อย่าหลงใหลการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของนักการเมืองที่ต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์เลยนะคะ”