วอยซ์ทีวี ปล่อยคลิป รุ้ง ปนัสยา พูดชัดเจน ศาลฯอยู่ฝั่งม็อบ พยายามช่วยเหลือยื้อคดี พร้อมโจมตีสถาบัน

11325

ความจริงค่อยๆหลุด!! “วอยซ์ทีวี” ปล่อยคลิป “รุ้ง ปนัสยา” พูดชัดเจน “ศาลฯอยู่ฝั่งม็อบ” พยายามช่วยเหลือยื้อคดี พร้อมโจมตีสถาบัน ด้วยคำหยาบคาย ก่อนรีบลบออก!!

เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 9 ก.พ.64 ได้มี การชุมนุมของ ม็อบคณะราษฎร บริเวณสกายวอล์ก สี่แยกปทุมวัน โดยได้ออกมาประท้วงที่ศาลได้ฝากขัง นายอานนท์ นำภา , นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ , นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ นายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ในฐานความผิด ม.112 , ม.116 , ม.215 รวม 11 ข้อหา จากกรณีชุมนุม ม.ธรรมศาสตร์-สนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563

แต่ที่น่าสนใจคือในการปราศรัย ที่นำโดย น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง โฆษกม็อบราษฎร มีบางช่วงบางตอนที่ทางด้านของ Voice TV ได้นำมาออกอากาศ โดยเป็นการ หมิ่นศาล และจาบจ้วงสถาบันฯอย่างรุนแรง โดยมีเนื้อหาใจความประมาณว่า

“ศาลส่งสัญญาณมาให้เรา(คณะราษฎร) ว่า เขาจะยื้อได้ถึงแค่วันที่ 14 นี้เท่านั้น ศาลที่เขาอยู่ฝั่งเราที่เขาพยายามช่วยเรา เขายื้อให้ได้ถึงแค่วันที่ 17 เพราะเขาถูกกดดันลงมาเยอะมาก ถูกกดดันมาจากข้างบน ข้างบนที่ว่าคือใคร อำนาจเหนือใคร อำนาจเหนือศาลไปอีกหรอ”

นอกจากนี้ยังได้โยงว่าคนข้างบนนั้นคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับได้ตั้งคำถามต่อด้วยว่า ไหนว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งใช้คำที่หยาบคายจะสุดจะรับได้ ซึ่งทั้งหมด Vocie TV เป็นสถานีที่ได้นำมาออกอากาศโดยไม่มีการปิดคำพูดใดๆ ทำให้หลายๆคนมองว่า Voice TV อาจจะเป็นการกระทำความผิดร่วม หรือไม่!? แต่ล่าสุดทางด้านของ Voice TV ได้ลบคลิปดังกล่าวออกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หลักฐานทุกอย่างได้ถูกส่งต่อกันเป็นวงกว้าง

ซึ่งหากย้อนกับไปเมื่อประมาณ วันที่ 25 ก.ย.63 ทางด้าน กลุ่มไทยภักดี และเครือข่าย เคยได้เดินทางไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเอาผิดสถานีโทรทัศน์ วอยซ์ ทีวี (Voice TV) ตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีที่ วอยซ์ ทีวี ถ่ายทอดสด การปราศรัยกิจกรรมชุมนุม “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” ที่จัดโดยแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย.

นอกจากนั้น ในวันที่ 20 ต.ค.63 ทางด้านของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ก็ได้เสนอศาลปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกช่องทางของ Voice TV และศาลก็ได้สั่งปิดทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ของวอยซ์ทีวีแล้ว เป็นระยะเวลาหนึ่ง

โดยต่อมาในวันที่ 21 ต.ค.63 ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของดีอีเอส ที่ขอให้ระงับหรือปิดช่องทางการเผยแพร่ของสื่อวอยซ์ทีวีทุกช่องทาง เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองเรื่องการแสดงออกความคิดเห็นมิใช่มุ่งประสงค์ปิดช่องทางซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 35 และมาตรา 36 บัญญัติห้ามรัฐปิดสื่อมวลชนเพื่อลิดรอนเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร