ด่วน!หิ้วเพนกวิน3แกนนำนอนคุกคดีม.112 ศาลไม่ให้ประกันเหตุทำผิดซ้ำซาก ขณะม็อบพล่านปลุกรวมพลทันที

2973

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ ที่ 8 ก.พ. 64 นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำม็อบคณะราษฎร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า

“อัยการมีคำสั่งฟ้องผม พี่อานนท์ และพี่สมยศในข้อหา 112 จากกรณีปราศรัยในชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันพรุ่งนี้ พวกผมจึงต้องไปขึ้นศาลอาญารัชดา เวลา 9.00 น. คงต้องลุ้นว่าจะมีการฝากขังหรือไม่”

ต่อมา เมื่อเวลา 13.50 น.วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวชี้แจงการสั่งคดีนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน , นายอานนท์ นำภา , นายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาที่ 1- 4 ซึ่งเป็นแกนนำและแนวร่วมกลุ่มราษฎร ว่า คดีมี 2 สำนวน เรื่องแรก (คดีชุมนุมม็อบเฟส) มีผู้ต้องหารายเดียว คือนายพริษฐ์ ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตาม ป.อาญา ม.112 , ยุยงปลุกปั่นฯ ตาม ป.อาญา ม.116 และชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 ได้มีคำสั่งฟ้องทั้ง 3 ข้อหา

สำหรับอีก 1 สำนวน คือ คดีชุมนุม ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. 2563 ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์-สนามหลวง ได้กล่าวหาผู้ต้องหาทั้งสี่ ในข้อหาตาม ม.112 , ม.116 , ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ป.อาญา ม.215, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ , ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ , กีดขวางทางสาธารณะฯ , ร่วมกันกีดขวางการจราจรฯ , ตั้งวางวัตถุบนถนนอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฯ , ทำลายโบราณสถานฯ , ทำให้เสียทรัพย์ฯ และร่วมกันโฆษณาเครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ รวม 11 ข้อหา พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสี่ทุกข้อหา

ส่วนที่ผู้ต้องหายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมมานั้น พนักงานอัยการคดีอาญา7 พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานที่ผู้ต้องหาจะให้สอบเพิ่มเติมนั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความเห็นและคำสั่งของอัยการ เนื่องจากในสำนวนมีพยานหลักฐานทำนองเดียวกันก็เพียงพออยู่แล้ว จึงไม่ดำเนินการตามหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของผู้ต้องหา หลังจากนี้ทางพนักงานอัยการจะนำผู้ต้องหาทั้งสี่ไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการให้สัมภาษณ์ของรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว นายพริษฐ์ หรือเพนกวิน ซึ่งเดินเข้ามาฟังการแถลงด้วยได้ถามนายประยุทธกลับ โดยย้ำถึงประเด็นตามหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ว่า หลักสิทธิเสรีภาพได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานสากลหรือไม่

นายประยุทธ ชี้แจงว่า งานโฆษกฯเป็นการนำผลการสั่งคดีของพนักงานอัยการมาเรียนต่อสื่อมวลชนเท่านั้น งานโฆษกไม่สามารถอธิบายในส่วนของสำนวนคดีได้ เพราะไม่ได้รับผิดชอบสำนวน และไม่แน่ใจว่าเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหรือไม่

นายพริษฐ์ จึงตอบโต้ว่า คดีนี้เป็นคดีที่ส่งผลต่อมาตรฐานสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต้องชี้แจงบรรทัดฐานการดำเนินงานขององค์กรอัยการเป็นอย่างไร คดีนี้เป็นคดีการเมือง กระบวนการยุติธรรมสามารถปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด

นายประยุทธ ชี้แจงว่า ตาม ป.วิ.อาญา มีหลักสันนิษฐานคนที่อัยการฟ้องเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิด ในส่วนสำนวนคดี อัยการพิจารณาแล้ว ถ้าพยานหลักฐานพอฟ้องก็ฟ้อง ประเด็นที่พูดสามารถนำไปต่อสู้ในชั้นศาลได้

นายพริษฐ์ จึงตอบโต้ว่า คดีนี้เป็นคดีที่ส่งผลต่อมาตรฐานสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ต้องชี้แจงบรรทัดฐานการดำเนินงานขององค์กรอัยการเป็นอย่างไร คดีนี้เป็นคดีการเมือง กระบวนการยุติธรรมสามารถปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด

นายประยุทธ ชี้แจงว่า ตาม ป.วิ.อาญา มีหลักสันนิษฐานคนที่อัยการฟ้องเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิด ในส่วนสำนวนคดี อัยการพิจารณาแล้ว ถ้าพยานหลักฐานพอฟ้องก็ฟ้อง ประเด็นที่พูดสามารถนำไปต่อสู้ในชั้นศาลได้

นายพริษฐ์ จึงกล่าวถึงพยานที่ให้สอบเพิ่มเติม จะพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน พร้อมกล่าวโจมตีว่าองค์กรอัยการ ว่า ไม่เห็นความสำคัญของการธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงออก

โดยนายพริษฐ์ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ทางเราได้ยื่นหนังสือขอให้อัยการสอบพยานเพิ่มเติมในประเด็นว่าการใช้กฎหมายมาตรา 112 ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล ทางโฆษกอัยการตอบว่าไม่จำเป็นต้องสอบพยานเพิ่มเลยจะฟ้องเลย ให้รอลุ้นเอาว่าศาลจะให้ประกันหรือไม่

เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไทยแคร์เรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชนมากน้อยเพียงใด”

ล่าสุดศาลสอบคำให้การพวกจำเลยแล้ว พวกจำเลยแถลงให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย โดยคดีดำ อ.286/2564 นัดวันที่ 15 มี.ค. นี้ เวลา 09.00 น. และคดีดำ อ.287/2564 นัดวันที่ 15 มี.ค. นี้ เวลา 13.30 น.

จากนั้นจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอปล่อยชั่วคราวในชั้นนี้ ศาลมีคำสั่งว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง อีกทั้งการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำๆ ต่างกรรมต่างวาระ ตามข้อกล่าวหาเดิมหลายครั้งหลายครา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งให้ทราบและคืนหลักประกันทั้งสองสำนวน และนำตัวส่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ