ปิยบุตร ชอบใจ ศาลฯไม่ได้ตัดสินตามแค่ “รัฐธรรมนูญ” หลุดปากวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

2544

ถูกใจสายจาบจ้วง!? ปิยบุตร ชอบใจ ศาลฯไม่ได้ตัดสินตามแค่ “รัฐธรรมนูญ” หลุดปากวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างประเทศ!?

จากกรณีที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา ตัดสินยกคำร้อง คำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือ DE เป็นผู้ร้องขอ ที่ทางด้านของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้พูดประเด็น “วัคซีนพระราชทาน” โดยเป็นการพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเห็นได้ชัด

ล่าสุดในวันที่ 9 ก.พ.64 ทางด้านของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ก็ได้รีบออกมาพูดถึงประเด็นดังกล่าวในทันที ผ่านทางด้านของเฟสบุ๊คส่วนตัว Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งเป็นการพูดถึงบทบาทของศาลในการคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล พร้อมกับยกย่องว่านี่คือบรรทัดฐานใหม่ ซึ่งในส่วนหนึ่งนั้นมีเนื้อหาใจความที่น่าสนใจว่า ศาลฯไม่ได้ตัดสินตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังได้อ้างถึงข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีเนื้อหาใจความบางตอนประมาณว่า

“นี่เป็นนิมิตรหมายที่ดี ศาลท่านไม่ได้อ้างแต่รัฐธรรมนูญ แต่ท่านยังได้อ้างถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ศาลท่านนำมาใช้ด้วย ตรงนี้หมายความว่าแนวทางการตัดสินคดีเกิดขึ้นแล้ว ถ้าหากกระทรวงดิจิทัลขอมาให้สั่งปิดเว็บไซด์ให้หน่อย ศาลท่านก็จะมานั่งดูก่อนว่ามาตรการสั่งให้ปิด มาตรการสั่งให้ลบ ได้สัดส่วนหรือเกินกว่าเหตุหรือไม่ มีความจำเป็นหรือพอเหมาะพอควรหรือไม่

นี่เป็นมาตรฐานในการวัดว่ามาตรการในการจำกัดเสรีภาพต่างๆ เหล่านี้พอสมควรแก่เหตุหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในคำวินิจฉัยของศาล ท่านยังได้เน้นให้การตีความคำว่า อาจกระทบต่อความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องตีความโดยเคร่งครัดและเป็นภาวะวิสัย ซึ่งภาวะวิสัยหมายถึงเป็นเรื่องที่วิญญูชนทุกคนเห็นแล้ว เห็นพร้องต้องกันว่าเป็นเช่นนั้นมิใช่มุมมองของคนใดคนหนึ่ง”

ซึ่งจากที่ ปิยบุตร ได้กล่าวมานี้ค่อนข้างที่จะไปตรงกับประเด็นที่ทางด้านของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ไว้ในวันที่ 9 ก.พ.64 ซึ่งเล็งเห็นถึงความผิดปกติของคำวินิจฉัยบางประการ ในทำนองที่ว่า เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมาก มากจนแทบจะมองไม่เห็นถึงความมั่นคงแห่งรัฐและความมั่นคงแห่งองค์พระประมุข โดยมีรายละเอียดดังนี้

คำพิพากษาของศาลอาญายกเลิกการปิดกั้น​Facebook.​Live.​วัคซีนของธนาธร
เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมาก​ ราวกับเสรีนิยมเน้นสิทธิเสรีภาพอย่างสุดโต่ง​ และพิจารณาให้น้ำหนักประเด็นความมั่นคง​ โดยเฉพาะความมั่นคงแห่งรัฐและความมั่นคงแห่งองค์พระประมุขในฐานะองค์รัฏฐาธิปัตย์ค่อนข้างน้อยกว่ามาก​จริงๆ​

นอกจากนี้ยังวินิจฉัยว่าคำสั่งปิดกั้นของศาลก่อนหน้านี้มิชอบทำให้ผมอ่านแล้วตกใจมากอาจจะกลายเป็นว่าองค์คณะตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ก่อนหน้านี้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่​ น่าตกใจมากว่าตุลาการใยจึงหักคำพิพากษากันเองรุนแรงมากจนตุลาการอีกองค์คณะดูเหมือนจะวินิจฉัยผิด

ย้อนกลับมาที่คำวินิจฉัยอันเน้นหนักไปที่สิทธิเสรีภาพไว้สูงมากกว่าความมั่นคงแห่งรัฐมากนั้น​ ทำให้ข้าพเจ้าอดคิดไม่ได้ว่าตุลาการแต่ละคนก็อาจจะมีหลักคิดความเชื่อที่แตกต่างกันมากและสะท้อนให้เห็นประจักษ์ชัดได้ในคำวินิจฉัยที่แตกต่างกันไป

ข้าพเจ้าอ่านคำวินิจฉัยในฐานะกษัตริย์นิยมและอนุรักษ์นิยมด้วยความห่วงใยยิ่งว่า​ สิทธิและเสรีภาพที่ข้ามเส้น​ แท้จริงแล้วอาจจะขัดต่อหลักกฎหมายได้และขัดแย้งกับศีลธรรม​ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม​ และอาจจะเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงของรัฐ​ ชาติ​ และแม้แต่องค์รัฎฐาธิปัตย์ได้ในอนาคตอันใกล้

ข้าพเจ้าถือว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาแล้วถือว่าดีทั้งนั้น​ แก้ไขไม่ได้แล้ว​ คำพิพากษาเป็นการวางรากฐานกฎเกณฑ์และควบคุมพฤติกรรมสังคม​ ดังนั้นตุลาการก็ต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมดุจเดียวกัน
ข้าพเจ้าขอใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการโดยหลักสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะและของประเทศด้วยความเคารพ
ยิ่ง​เยี่ยงวิญญูชน และมิได้มีประสงค์จะก้าวล่วงอำนาจศาลแต่ประการใด