อัษฎางค์ ลากไส้ ไอ้โม้ง แก้วิกิพีเดียใส่ร้ายสมเด็จย่า สะเทือนถึง จุฬาฯ ถือหางให้ท้าย นักวิชาการล้มเจ้า!?!

3337

อัษฎางค์ ลากไส้ ไอ้โม้ง แก้ไขข้อมูลวิกิพีเดีย ใส่ร้ายสมเด็จย่า-ในหลวงร.9 สะเทือนถึง จุฬาฯถือหางให้ท้าย วิทยานิพนธ์ล้มเจ้าของณัฐพล ใจจริง??

จากกรณีที่วิกิพีเดีย ก็ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นผู้นำในการรัฐประหารเมื่อปี 2490 โดยระบุข้อความว่า รัฐประหาร พ.ศ. 2490 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เวลา 23.00 น. ต่อเนื่องถึงเช้าวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ นำกำลังยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

รัฐประหารดังกล่าวเป็นการร่วมมือระหว่างพันธมิตรกลุ่มจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และกลุ่มนิยมเจ้า เพื่อโค่นอำนาจของกลุ่มปรีดี พนมยงค์ (ซึ่งประกอบด้วยอดีตสมาชิกเสรีไทยและทหารเรือบางส่วน) โดยอาศัยช่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรรายงานว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหารด้วย[1]:64 ผลของรัฐประหารทำให้กลุ่มปรีดีและคณะราษฎรหมดอำนาจไป และแม้จอมพล แปลก พิบูลสงครามจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากนั้นแต่ก็ไม่ได้มีฐานอำนาจของตนเอง การเมืองไทยต่อมาอยู่ในช่วง “ผู้นำสามเส้า” จนถึงปี 2500

โดยข้อมูลในวิกิพีเดีย มีการอ้างอิงข้อมูลมาจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491–2500)ของนายณัฐพล ใจจริง ที่กำลังตกเป็นประเด็นอยู่ก่อนหน้านี้ ที่มีการเขียนข้อมูลใส่ร้ายโจมตีสถาบันพระพระมหากษัตริย์ว่าเข้าแทรกแซงการเมือง ซึ่งวิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าว ได้ถูกระงับการเผยแพร่ และยังมีการอ้างอิงหนังสือของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เรื่อง “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” ของณัฐพล ใจจริงด้วย

ล่าสุดทางด้าน นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่มีคนเข้าไปแก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดีย ใส่ร้ายสมเด็จย่าและในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยระบุข้อความว่า

ลากไส้ไอ้โม้ง ที่อ้างอิงบทความทางวิชาการของ จุฬา มาให้ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์ ประวัติศาสตร์รัฐประหารของวิกิพีเดีย ที่ถูกไอ้โม้แก้ไข โดยการอ้างอิงตำราที่เขียนโดย ณัฐพล ใจจริง ดุษฎีบัณฑิต จากรัฐศาสตร์ จุฬา ที่ได้ดอกเตอร์มาด้วยการนั่งเทียนเขียนประวัติศาสตร์ปลอม ที่ให้ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ยินดียินร้าย กรือคิดจัดการกับความชั่วช้าสามานย์นี้เลย ซึ่งทำให้สังคมรู้สึกว่า จุฬายังคงถือหางให้ท้าย การบิดเบือนประวัติศาสตร์ของณัฐพล ใจจริง
ซึ่งจะมีอาจจะคนแอบบคิดไปว่า จุฬาฯ สมรู้ร่วมคิดกับเขาด้วยหรือไม่ เพราะท้ายที่สุด ทั้งตัวณัฐพล และลิ่วล้อก็ยังคงอ้างอิงว่า เป็นผลงานประวัติศาสตร์ภายใต้สถาบันเก่าแก่ของชาติที่ชื่อว่า คณะรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราขานพระนามในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือไม่ก็ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่ในวิดิพีเดียเขียนว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” นั้นเป็นลดพระเกียรติด้วยสำเนียงของพวกต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทำกันอยู่เสมออย่างชัดเจน
รวมทั้งการโยงว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 พอพระทัยที่มีการทำรัฐประหาร รวมถึงข้อความที่ระบุว่า..
สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรรายงานว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหารด้วย นั้นเป็นการให้ร้ายป้ายสีอย่างชั่วช้ามาก ผมกำลังค่อยๆ นั่งเขียนที่ละนิดละหน่อยตามเวลาที่มี และจะเผยแพร่เพื่อลากไส้ไอ้โม้งคนชั่วตนนี้
โปรดติดตามรายละเอียดทั้งหมดต่อไป เร็วๆ นี้

ซึ่งกรณีของนายณัฐพล ใจจริง ที่ได้มีการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา [พ.ศ.2491-2500] ซึ่งได้มีการบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายสถาบันว่า สถาบันเข้ามาแทรกแซงการเมือง

ต่อมาทางด้าน ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบว่าข้อมูลในวิทยานิพนธ์ฉนับดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาเอง ไม่มีแหล่งอ้างอิง และทางนายณัฐพล ใจจริง ได้ทำหนังสือชี้แจงยอมรับข้อผิดพลาดและอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ เสนอขอแก้ใหม่ตัดประเด็นการเป็นประธานการประชุมออกไป แต่ผิดอย่างไรก็ไม่กระทบใจความหลักของทั้งเล่มแต่อย่างใด ทางคณะรัฐศาสตร์ได้หารือกันว่า ให้งดเผยแพร่และอ้างอิง แต่ทางสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันก็ได้นำข้อมูลดังกล่าวตีพิมพ์ขาย

ต่อมาทางด้าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง โดยขอความร่วมมือเครือข่ายห้องสมุดในห้พิจารณาระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ แจ้งเตือนผู้เขียนวิทยานิพนธ์อีกครั้งหนึ่งให้ดำเนินการระงับการเผยแพร่หรืออ้างอิงข้อมูลที่ผิดพลาดในวิทยานิพนธ์โดยด่วน
และทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเผยแพร่หรืออ้างอิงวิทยานิพนธ์ ซึ่งก็มีนักวิชาการหลายคนได้ออกมาให้ทางจุฬาลงกรณ์ ทบทวนถึงการอนุมัติปริญญาเอกของผู้เขียน ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์ก็ยังมิได้ดำเนินการใดๆเลย