จากกรณีที่ เมื่อวันที่ นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน และแกนนำม็อบราษฎร โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กกล่าวถึงสถานการณ์ชุมนุมใหญ่ต่อต้านการรัฐประหารในเมียนมาว่า
“ถ้าพม่าชนะ จะกลายเป็นโดมิโน่มาถึงไทย กระแสการลุกขึ้นต้านเผด็จการทหารจะกระพืออีกครั้ง คราวนี้น่าจะแรง และเร็ว”
เนื่องจากในช่วงนี้ กระแสของม็อบเริ่มถดถอย จำนวนผู้เเข้าร่วมและให้ความสนใจหดหาย จนเหลือเพียงกลุ่มขนาดเล็ก ที่มักจะวิ่งตามเหล่าแกนนำไปก่อม็อบหน้าโรงพักที่แกนนำเข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้แกนนำพยายามที่จะหากระแสต่างๆมาห้อยโหน หวังเรียกความสนใจจากมวลชน
ดังเช่นล่าสุดที่ได้โหนการรัฐประหารของเมียนมาร์ โดยละเมอฟุ้งไปว่าชาวไทยจะลุกฮือจากกระแสในครั้งนี้ด้วย ถึงขั้นไปผสมโรงปลุกม็อบชาวเมียนมาร์ที่หน้าสถานทูตเมียนมาร์ แต่เหล่าแกนนำม็อบคณะราษฎรกับแย่งซีนผู้ประท้วงชาวเมียนมาร์อย่างหน้าตาเฉย ซ้ำร้ายการ์ดวีโวยังก่อความวุ่นวายจนเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บไปหลายราย
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ เหล่าแกนนำพยายามที่จะปลุกกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นมาตราที่เหล่าแกนนำคณะราษฎร ตกเป็นผู้ต้องหามากที่สุด โดยกฎหมายมาตรา 112 ระบุว่า ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”
ปัจจุบันแต่ละรายมีคดีติดตัวดังนี้
1 นายพริษฐ์ หรือ เพนกวิน 17 คดี (ในความผิด ม.112 ซึ่งคูณด้วย 3 เท่ากับว่า 51 ปี)
2 น.ส.ปนัสยา หรือ รุ้ง 9 คดี (ในความผิด ม.112 ซึ่งคูณด้วย 3 เท่ากับว่า 27 ปี)
3 นายอานน์ นำภา 8 คดี (ในความผิด ม.112 ซึ่งคูณด้วย 3 เท่ากับว่า 24 ปี)
4 นายภาณุพงศ์ หรือ ไมค์ 8 คดี (ในความผิด ม.112 ซึ่งคูณด้วย 3 เท่ากับว่า 24 ปี)
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ได้มีคดีของ นางอัญชัญ ปรีเลิศ อดีตข้าราชการกรมสรรพากร โดยอัยการโจทก์ระบุฟ้องความผิดจำเลยสรุปความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 12 พ.ย.2557 ถึง 24 ม.ค.2558 จำเลยได้กระทำผิดกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน ด้วยการใช้นามแฝง anchana siri, un un และ Petch Prakery ส่งข้อความเสียงของผู้ใช้นามแฝงว่า “บรรพต” ผ่าน www.youtube.com ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งมีเนื้อหาดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หลายครั้งหลายหน
โดยศาลพิพากษาว่าจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 29 กระทง รวมจำคุก 87 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 29 กระทง เป็นจำคุกทั้งสิ้น 29 ปี 174 เดือน
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลพิพากษาเช่นนี้ไม่ใเป็นการกลั่นแกล้งทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นขั้นตอนตามกระบวนกฎหมายและกระทงความผิด โดยประเทศไทยเคยมีการพิพากษาจำคุกถึง 4,355 ปี ในคดีฉ้อโกงต้อมตุ๋น ซินแสโชกุน
โดยศาลพิพากษา สั่งปรับจำเลยที่ 1 คือ บริษัท เวลท์เอเวอร์ จำกัด ของซินแสโชกุน เป็นเงิน 435,520,000 บาท สั่งให้ริบสินค้าของกลาง นอกจากนี้ ยังได้สั่งลงโทษจำคุก 4,355 ปี จำเลยที่ 2 คือ ซินแสโชกุน จำเลยที่ 5 เลขานุการ และจำเลยที่ 8 ผู้ดูแลด้านการเงิน จากความผิด 871 กระทง
แต่…ตามกฎหมายให้ลงโทษได้สูงสุด 20 ปี ส่วนจำเลยคนอื่นๆ ศาลยกฟ้อง