ทรราชย์สหรัฐสั่งระดมพลกลุ่มQUAD?!? กดดันอาเซียน บีบเมียนมากระทบไทย จับตาความมั่นคงทางทะเลอันตราย สหรัฐส่งเรือพิฆาตวนเวียนใกล้บ้าน

2248

ทรราชย์สากลสหรัฐเร่งเครื่องผลักดันอาเซียนบีบเมียนมาเต็มที่  จัดประชุมพันธมิตรควอด (QUAD)ที่ประกอบด้วย สหรัฐ-อินเดีย-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นกลุ่มแกนนำต้านจีนตามนโยบายอินโด-แปซิฟิกครั้งแรกของปีนี้ เรื่องรัฐประหารเมียนมา ขณะอินโดนีเซีย-มาเลเซียดันอาเซียนให้เปิดประชุมถกเรื่องเมียนมาแล้ว แต่ประธานอาเซียนยังไม่มีท่าทีตอบรับแต่อย่างใด จับตากองทัพเมียนมารับมือกระแสต้านที่เริ่มเคลื่อนไหวกว้างขวางขึ้นในเมืองใหญ่ ย่อมส่งผลกระทบต่อไทยทั้งเศรษฐกิจและการเมือง

เมื่อ 7 ก.พ.64  สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างการเปิดเผยของ จนท.รัฐบาลญี่ปุ่นระดับสูง ว่า สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดียมีแผนจะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำ 4 ประเทศ (QUAD) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยจะเน้นประเด็นการปกป้องภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกให้เสรีและเปิดกว้าง ในห้วงที่จีนขยายอิทธิพลในภูมิภาค ทั้งนี้ เมื่อวันที่  28 ม.ค.2564 นายซูกะ โยชิฮิเดะ นรม.ญี่ปุ่น และ ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสรัฐฯ หารือทางโทรศัพท์ โดยผู้นำสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ควรให้กลุ่ม QUAD ประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังคณะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แสดงท่าทีที่จะส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคีของกลุ่ม Quad อีกครั้ง โดยนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐระบุว่า เพื่อเป็นรากฐานสร้างนโยบายที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

อย่างไรก็ตาม การเจรจานี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอินเดีย ซึ่งมีท่าทีระมัดระวังต่อกรอบการทำงานนี้ และเป็นเพียงชาติสมาชิกเดียวของ Quad ที่มีพรมแดนทางพื้นดินติดกับจีนและปฏิบัติการนอกพันธมิตรความมั่นคงที่นำโดยสหรัฐ  เรื่องนี้หากเกิดการประชุมขึ้น คาดว่ากลุ่มผู้เข้าร่วมจะหารือเรื่องความร่วมมือเพื่อให้เกิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับท่าทีคุกคามทางทะเลของจีนในภูมิภาค และปัญหาการรัฐประหารเมียนมา

กระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ปธน.ไบเดนซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาและนายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ต่างเห็นพ้องในระหว่างการพูดคุยทางโทรศัพท์ว่าจะส่งเสริมกลุ่ม Quad

นอกจากนี้ ปธน.ไบเดนยังให้คำมั่นที่จะตอบโต้การใช้อำนาจทางเศรษฐกิจของจีนด้วยการสร้างพันธมิตรใหม่อีกครั้ง แม้จะยังไม่ชัดเจนว่ากรอบการทำงานของ Quad ภายใต้คณะทำงานของปธน.ไบเดนจะไปในทิศทางใดก็ตาม แต่คงไม่ต่างไปจากที่คณะทำงานของ อดีตปธน.ทรัมป์ทำไว้ เพราะมีเจตจำนงค์เดียวกันคือ ต่อต้านจีนอย่างถึงที่สุด

ทำไมสหรัฐต้องทุ่มสุดตัวมาวุ่นวายกับการยึดอำนาจในเมียนมามากเช่นนี้ เพราะวาระซ่อนเร้นของวอชิงตันที่ตอบสนองโดยรัฐบาลของนางอองซาน ซูจีถูกทำลายลงเมื่อกองทัพยึดอำนาจ  นางอองซาน ซูจีเติบโตในต่างประเทศและแต่งงานกับชาวอังกฤษ ซูจีจึงมีแนวโน้มเชื่อมั่นในแนวทางตะวันตก จนกลายเป็นหุ่นเชิดของมหาอำนาจอย่างเต็มใจ ภายใต้ประชาธิปไตยจอมปลอมแบบตะวันตก โอกาสแทรกแซง แบ่งแยกและปกครองทำได้ง่ายกว่า

สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาล เพื่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของเมียนมามาโดยตลอดแต่ไม่ได้ผล กองทัพเมียนมากำลังฟื้นคืนอำนาจอธิปไตยในแบบของพวกเขา  ต่อจากนี้กลุ่มควอด (QUAD)ซึ่งมีสหรัฐเป็นหัวหน้าแก๊ง จะแสดงบทบาทรุกเต็มที่ในอาเซียน และน่านน้ำทะเลจีนใต้อย่างแน่นอน

ในส่วนอาเซียน อินโดนีเซียและมาเลเซียมีการเคลื่อนไหวเรื่องการยึดอำนาจในเมียนมาแล้ว

วันที่ 5 ก.พ. 2564 ผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซียเตรียมเสนอจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนวาระพิเศษ เกี่ยวกับประเด็นที่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารและจับกุมตัวผู้นำฝ่ายพลเรือนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด แห่งอินโดนีเซีย เปิดเผยหลังหารือกับนายมูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่กรุงจาการ์ตาว่า ทั้งสองประเทศจะเสนอความเห็นดังกล่าวให้บรูไน ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปัจจุบันพิจารณาต่อไป

นายยัสซิน แถลงต่อสื่อมวลชนทางออนไลน์ร่วมกับนายวิโดโด โดยกล่าวว่า การทำรัฐประหารทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในเมียนมาต้องถอยหลัง

 

ด้านสำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า บรรดาชาติอาเซียนได้ออกแถลงการณ์หลังเหตุรัฐประหารในเมียนมา เพื่อย้ำเตือนถึงเป้าหมายที่ชาติสมาชิกพึงมีร่วมกันในการยึดมั่นต่อหลักรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งส่งเสริมให้จัดการเจรจา ความปรองดอง และการคืนสู่ความปกติสุขตามความมุ่งหวังและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนชาวเมียนมา และย้ำจุดยืนอาเซียนไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน

สำหรับประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตร QUAD ส่งบริษัทผลิตเบียร์ของญี่ปุ่น “คิริน” ยกเลิกบ.ร่วมทุนผลิตเบียร์ในเมียนมาหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารไม่กี่วัน เป็นการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกลายๆแม้ยังไม่ประกาศเป็นทางการโดยรัฐบาลก็ตาม

บริษัทคิริน โฮลดิ้งส์ ระบุว่า บริษัทขอยกเลิกข้อตกลงร่วมทุนสำหรับสินค้าประเภทเบียร์กับบริษัทเมียนมาร์ เอโคโนมิก โฮลดิ้งส์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา หลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร คิรินเปิดเผยว่า บริษัทมีความกังวลอย่างยิ่งต่อท่าทีของกองทัพเมียนมาที่ “ขัดต่อหลักการและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของทางบริษัท”

“หลังจากได้พิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว ทางบริษัทมีความจำเป็นต้องยกเลิกข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัทเมียนมา เอโคโนมิก โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนสวัสดิการของกองทัพเมียนมา” บริษัทคิรินเผยในแถลงการณ์ และระบุว่า “ทางบริษัทจะเร่งดำเนินการเพื่อให้การยกเลิกข้อตกลงนี้มีผลโดยเร็วที่สุด”

บริษัทคิรินได้ทำการลงทุนในเมียนมาเมื่อปี 2558 ตรงกับช่วงที่เมียนมามีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยได้ทำการตั้งบริษัทร่วมทุนสองแห่ง ได้แก่ บริษัทเมียนมา บริวเวอรี และบริษัทมัณฑะเลย์ บริวเวอรี โดยมีบริษัทเมียนมา เอโคโนมิก โฮลดิ้งส์เป็นคู่ค้า

หลังจากการประชุมพันธมิตรกลุ่มควอดผ่านไป เราอาจได้เห็นการเคลื่อนไหวกดดันทางเศรษฐกิจต่อเมียนมามากขึ้น แม้จะยังไม่มีการลงนามประกาศคว่ำบาตรอย่างเป็นทางการจากสหรัฐก็ตาม และประเทศไทยย่อมหนีไม่พ้น ได้รับแรงกระแทกทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า และต้องระมัดระวังด้านความมั่นคงทางทะเลเป็นสำคัญ จับตาแก๊งต้านจีนพันธมิตร QUAD ว่าจะมีการเคลื่อนไหวทางทหารอย่างไรในน่านน้ำทะเลจีนใต้

ล่าสุด เรือ USS Nimitx แล่นออกจากน่านน้ำย่านตะวันออกกลางมุ่งหน้าสู่ทะเลจีนใต้ ผ่านช่องแคบมะละกาแล้ว!