Truthforyou

เปิดประวัติแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ!?! มือขวาไบเดนหัวหน้าทีมอินโด-แปซิฟิกต้านจีน เล็งปักหมุดอาเซียน บีบเลือกข้าง

ท่ามกลางความยากลำบากโควิด-19 ระบาดทั่วโลก สหรัฐกลับแสดงบทบาทคุกคามประเทศต่างๆให้ทำตามความต้องการ โดยไม่ใยดีกับปัญหาโรคระบาดที่เบียดเบียนประชาชนทั่วโลกมากไปกว่า เดินสายรุกคืบยุทธศาสตร์ต้านจีนอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักมือวางอันดับ1 ของปธน.โจ ไบเดน แห่งสหรัฐ  หัวหน้าทีมยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกต้านจีน นายแอนโทนี บลิงเคนรมว.ต่างประเทศสายเหยี่ยวมาดนุ่ม ที่เชื่อว่าการทูตที่ดีต้องมีกองกำลังป้องปรามหนุน  เขาเป็นผู้มีบทบาทนำเสนอนโยบายการค้า TPP ปักหมุดเอเชีย ตั้งแต่สมัยอดีตปธน.โอบามา ได้ประกาศในวุฒิสภาจะต้องทวงการนำของสหรัฐจากจีนในทุกพื้นที่  จับตามาตรการกีดกันการค้ากับไทยและการคว่ำบาตรเมียนมา บีบคั้นเลือกข้างให้ต้านจีน

นายแอนโทนี่ บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐ เข้าทำงานวันแรกที่กระทรวงต่างประเทศ ปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปกล่าวปราศรัยที่อาคารที่ทำการของกระทรวงต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ยืนยันว่าจะทำงานร่วมกับพันธมิตรของสหรัฐ เพื่อเผชิญความท้าทายต่างๆในปัจจุบัน ทั้งการระบาดของโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกวิกฤติเศรษฐกิจ ภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมด้านสีผิว และอันตรายจากการสั่นคลอนเสถียรภาพและความมั่นคงจากประเทศที่เป็นศัตรู และว่าทั่วโลกกำลังต้องการความเป็นผู้นำของอเมริกา

วันที่ 27 ม.ค.2564 วุฒิสภาสหรัฐลงมติรับรองบลิงเคนอย่างเป็นทางการ ด้วยคะแนนเสียง 78-22 และเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคนที่ 71 ของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสำคัญสูงสุดในคณะรัฐมนตรีและอยู่ในลำดับที่ 4 ของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี หากว่าประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และประธานวุฒิสภา ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

นายบลิงเคน วัย 58 ปี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยิว เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศสหรัฐสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามาเขาเป็นผู้ช่ำชองในเวทีระหว่างประเทศมากว่า 20 ปี ระหว่างตอบคำถามต่อคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐ เขาเปิดเผยจุดยืนในการเป็นนักการทูตตลอดมาว่า การทูตจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องมีกองกำลังป้องปรามสนับสนุนด้วย 

บลิงเคนกล่าวว่าเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายจากจีน อิหร่าน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ และยังสัญญาว่าจะฟื้นฟูภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของสหรัฐในสายตาประเทศอื่นให้กลับคืนมาอีกครั้ง รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐด้วย

บลิงเคน เชื่อว่า ทั่วโลกกำลังต้องการความเป็นผู้นำของสหรัฐและสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเผชิญความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทั้งการระบาดของโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก วิกฤติเศรษฐกิจ ภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมด้านสีผิว และอันตรายจากการสั่นคลอนเสถียรภาพและความมั่นคงจากประเทศที่เป็นศัตรู

จะว่าไปแล้ว บลิงเคน ไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ปีที่แล้ว เขาได้ทวิตแสดงความยินดีในโอกาสก่อตั้งอาเซียนครบ 53 ปี พร้อมระบุว่า อาเซียนมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสาธารณสุขโลก เป็นศูนย์กลางความมั่งคั่งและความมั่นคงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในวิกฤตต่างๆอย่างแน่นอน ตอนนั้นมั่นใจด้วยว่า ผู้นำสหรัฐจะเป็นโจ ไบเดน

ในสมัยที่ บลิงเคน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐในรัฐบาลอดีตปธน.บารัก โอบามา เขาได้เดินทางมาเยือนหลายประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมา และในการกล่าวสุนทรพจน์งานเลี้ยงอาหารค่ำการประชุมสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียนที่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2558 ที่อินโดนีเซีย บลิงเคน กล่าวว่า ตอนที่รับตำแหน่งใหม่ได้ถามปธน.โอบามาว่าอยากให้เขามุ่งทำงานในเรื่องใด ซึ่งประธานิบดีโอบามาก็ตอบทันทีว่า เอเชีย  นอกจากนั้นบลิงเคน เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งข้อตกลงการค้าเสรีของประเทศในแถบแปซิฟิก(ทีพีพี) และมีบทบาทอย่างมากในปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งเราจะได้เห็นบทบาทของสหรัฐที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะในเวทีอาเซียนและทะเลจีนใต้

บลิงเคนเองทำงานด้านกิจการต่างประเทศให้กับรัฐบาลวอชิงตันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2537 และมีบทบาทมากขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายความมั่นคงให้กับไบเดน ในสมัยยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี ตามด้วยการดำรงตำแหน่งรองที่ปรึกษาด้านนโยบายความมั่นคงประจำทำเนียบขาว และตำแหน่งสุดท้ายของบลิงเคน ก่อนสิ้นสุดยุคของประธานาธิบดีบารัค โอบามา คือ รมช.การต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐในอนาคตจะเป็นการหวนคืนสู่เวทีพหุภาคี บนพื้นฐานของ “ความเป็นสายเหยี่ยวอย่างแนบเนียน” และจีนจะยังคงเป็นเป้าหมายหลัก โดยบลิงเคนเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายแห่ง เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ว่านโยบายต่างประเทศของอดีตปปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้สถานะของสหรัฐ “อ่อนแอลง” เปิดโอกาสให้รัฐบาลปักกิ่งได้เปรียบโดยปริยาย ดังนั้นในอนาคต สหรัฐต้องทวงคืนบทบาทนี้ให้ได้

ยุทธศาสตร์ “ปักหมุดเอเชีย”ในสมัยโอบามา ต่อมาเรียกว่ายุทธศาสตร์ “ปรับดุลอำนาจในเอเชียแปซิฟิก” ในสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา และเกี่ยวข้องกับนโยบายการค้าครอบคลุมเอเซีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยกำลังให้ความสนใจอย่างมากเรียกว่า ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Agreement หรือTPP ในประเทศไทยยังนิยมเรียกชื่อว่า ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement ซึ่งเป็นชื่อเดิมของข้อตกลงนี้  เป็นข้อตกลงการค้าฉบับที่เรียกได้ว่า เป็นมารดาแห่งข้อตกลงการค้าทั้งหลายทั้งปวงของสหรัฐฯ เนื่องจากชาติต่างๆ ซึ่งมาร่วมเจรจาทำข้อตกลงกันนั้นมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับ 40% ของจีดีพีโลกทีเดียว

บลิงเคนได้รับคำวิจารณ์จากนักการทูตด้วยกันว่า เป็น “นักการทูตของนักการทูต” ที่พูดเนิบๆ แต่มีความรอบรู้ในนโยบายต่างประเทศ ทั้งนี้ หลังจากนางฮิลลารี คลินตัน แพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดี ให้กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อปี 2559 นายบลิงเคนก็ได้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา เวสต์เอ็กเซค (WestExec) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาแก่บรรดาบริษัท เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ของเอเซีย-แปซิฟิก

ไม่แปลกที่ภาคเอกชนไทย และหน่วยงานภาครัฐล้วนตั้งความหวังไว้อย่างสูงว่า เมื่อปธน.สหรัฐชื่อโจ ไบเดน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ แอนโทนี บลิงเคน คงมีแต่เรื่องดีๆทางการค้าและการลงทุนกับไทย  แต่เดี๋ยวก่อน อ่านความคิดที่บลิงเคนประกาศในวุฒิสภาสหรัฐ  ฟังท่าทีประกาศชนจีนทุกเวที แบบนี้แล้ว ก็ควรคิดใหม่ ไม่ควรประมาทท่าทีนุ่มนวล ที่เนื้อแท้ “อเมริกาคือผู้นำ”ของเขา  ไทยควรเตรียมรับมือ ตั้งรับมาตรการกีดกันการค้า ด้วยข้อหา ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดประชาธิปไตย และอื่นๆอีกมากมายจะดีกว่า???

Exit mobile version