จากกรณีที่กองทัพเมียนมาประกาศ รัฐประหารยึดอำนาจปกครองโดยทางกองทัพอ้างว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นเป็นเหตุให้พรรค NLD ของอองซานซูจี ชนะการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมา การเมืองพม่ามีความพัวพันกับความน่าประหลาดใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการไปเยือยของ”อเล็กซานเดอร์ โซรอส” ลูกชายของจอร์จ โซรอส โดยเฉพาะก่อนที่ระดับผู้นำพม่าพบผู้นำจีนทุกครั้ง ในปี 2020 สีจิ้นผิง เป็นผู้นำจีนคนแรกในรอบ 19 ปี ที่ไปเยือนพม่าแสดงถึงการให้ความสำคัญมากในการเยือนครั้งนั้น, ประธานาธิบดีจีนปิดท้ายการเยือนด้วย “ข้อตกลงโครงสร้างพื้นฐาน” รวมถึง “ท่าเรือริมฝั่งมหาสมุทรอินเดียในเชิงยุทธศาสตร์”
ข้อตกลงในแผนมูลค่าหลายพันล้านสำหรับการพัฒนา “ท่าเรือเจ้าผิว Kyaukphyu” ที่อยู่ใน “รัฐยะไข่” ดินแดนที่มีปัญหาโรฮิงจา , ที่โครงการจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาซึ่งสามารถทำให้ “จีน” ไม่ต้องผ่าน “ช่องแคบมะละกา” ในการขนส่งสินค้าวัตถุดิบ, ซึ่งการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ต้องเผชิญกับฟันเฟืองปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจาก “อเมริกา” ที่คอยขวางอยู่
ซึ่ง “อเล็กซานเดอร์ โซรอส” ระบุไว้ในเพจโซเชียลมีเดียของเขาว่า “กลับไปทำงาน” ในเนปยีดอ ก่อนที่สีจิ้นผิงจะเดินทางไปเมียนมาร์
โดยในขณะนี้ ปี 2021, “จอร์จ โซรอส” อายุ 90 ปี ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาจุ้นจ้านจัดการ “การเมืองของพม่า” โดยเขาสนับสนุนองค์กรกว่า 100 องค์กรผ่าน “Open Society Foundation (OSF)” ตามที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของมูลนิธิ
โดย OSF ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกภายใต้โครงการที่มีป้ายชื่อเรียกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “สิทธิมนุษยชน” , “การศึกษา” , “สิทธิสตรี” , “สิทธิเด็ก” , “ประชาธิปไตยและสันติภาพ” นอกจากนี้ยังใช้เงิน 57.6 ล้านดอลลาร์ใน 4 ประเทศรวมทั้ง “พม่า” ในเอเชียแปซิฟิกในช่วงปี 2019
เขายังถูกระบุว่าเป็นผู้ที่มีศักยภาพอย่างสูงในการสร้าง “ปัญหาโรฮินจา”ในรัฐยะไข่ ( เมืองท่าเจ้าผิว : ที่จะเชื่อมกับคุนหมิงของจีน ) เพื่อชะลอสกัด “เส้นทางสายไหมใหม่ของจีน”
OSF ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้เปิดสำนักงานในพม่า, แม้ว่าจะต้องตัดบางองค์กรของ OSF ไปบ้างจากในองค์กรกว่า 100 แห่งในพม่า , เนื่องจากข้อกล่าวหาที่โจษขานทั่วโลกว่า OSF ของจอร์จโซรอส กำลังดำเนินการจุ้นจ้านแทรกแซงทางการเมืองของประเทศต่างๆผ่าน OSF
ในขณะที่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเยือนพม่าของลูกชายจอร์จ โซรอส ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หน้าโซเชียลมีเดียของเขาได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้พบกับ Dr Myo Thein Gyi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาของพม่าอย่างใกล้ชิด
ผ่านมาที่รัฐบาลทหารพม่าที่รู้เช่นเห็นไส้ของมหาอำนาจตะวันตก ปล่อยให้ OSF เข้ามาเปิดทำการให้เงินป่วนประเทศก็เพื่อแลกกับการไม่ถูกสหประชาชาติที่มหาอำนาจหนุนหลัง “คว่ำบาตร” ที่จะกระทบกับการค้าขายของประเทศ
อย่างไรก็ตาม นอกจากพม่าแล้ว จอร์จ โซรอสยังได้ให้การสนับสนุนองกรณ์ต่างๆในประเทศไทยที่หนุนหลังม็อบอยู่เช่น ilaw ซึ่งปราชญ์สามสีเคยกล่าวาเหตุที่ จอร์จ โซรอสพยายามแทรกแซงประเทศต่างๆ โดยเนื้อหาบางส่วนระบุว่า
” เบื้องหลังการผู้แทนราษฎร พรรค กรีนได้อภิปรายในสภาเยอรมนี โจมตีกล่าวพระมหากษัตริย์ไทยใช้พระราชอำนาจในดินแดนเยอรมนี เพื่อตีประเด็นปลุกปั่นให้ผู้คนออกมาชุมนุม ในวันที่14 ตุลาคม2563.
“พรรคกรีน” กับ โซรอส เชื่อมโยงกัยผ่านการโอนเงินระหว่างมูลนิธิ opensociety และ Heinrich Boll นั้นเอง
พวกเขาทำเป็นขบวนการแบบนี้มานานแล้ว โดยมีการเสนอเป็นกองทุนแล้ว ฝ่ายนักกิจกรรมไปรับมาทำงานมาทำนั้นเอง แล้วทำไม โซรอสต้องทำ? เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองโลก เพราะ โซรอสร่ำรวยจากพื้นฐานของ การค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ ความผันผวนทางการเงิน อีกทั้งอุดมการณของโซรอส นั้นมองเห็นว่าการที่ทำให้ โลกทั้งใบเชื่อมต่อกันโดยไร้พรมแดน เป็นเรื่องที่เขาได้ประโยชน์สูงสุด เป็นความเท่าเทียมที่ธุรกิจของเขาสามารถทำเงินได้ นั้นเอง โดยเขาเรียกว่าGlobalist
อุปสรรคสำคัญของการสร้างGlobalist คือ การที่ประชาชน มีชาติ มีกฏหมาย มีวัฒนธรรมที่แตกต่างต่อกัน มีอิสระเสรีต่อกัน ทำให้การค้าระหว่างประเทศนั้นทำได้ยาก เพราะ ทุกฝ่ายต่างมีเงื่อนใขเฉพาะ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินนั้นๆ
โซรอส จึงต้องทำลายกำแพงที่เรียกว่า Nationalismหรือ พวกชาตินิยม นั้นเอง
และหัวใจของความเป็นชาตินั้นผู้ปกป้องชาติก็คงไม่พ้น “นักรบผู้พิทักษ์” เช่น กษัตริย์. หรือ ทหารนั้นเอง จึงไม่แปลกใจที่ เวลานี้แนวคิด กลุ่มglobalismจะ มองสถาบันกษัตริย์และ สถาบันทหารเป็น สิ่งที่ขัดขวางการทำมาหากินของพวกเขา”