แค่ต้นเดือน “โพล” เดือดจัด ประชาชน 99% เชื่อมั่น “แก้ปัญหาในสภา” ไม่เห็นด้วยพาคนลงถนน!?!

2084

โพล ฟาดหน้าม็อบ ประชาชน 99 % เชื่อมั่น ต่อประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก้ปัญหาในสภา มากกว่า การพาคนลงถนน!?

จากกรณีที่กลุ่มคณะราษฎรได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการเคลื่อนไหว ปลุกระดมสาวกให้ออกมาชุมนุมเรียกร้องเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ เริ่มจาก “แฟลชม็อบ” ในสถาบันการศึกษาช่วงต้นปี 2563 สู่การชุมนุมใหญ่ที่จัดโดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ขยายเป็นการชุมนุมใหญ่-ย่อยในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มาจนถึงการชุมนุม “ทวงอำนาจคืนราษฎร” ที่ท้องสนามหลวงเมื่อ 19-20 ก.ย. ก่อนพัฒนาเป็นการชุมนุมของ “คณะราษฎร 2563” ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. และมีกิจกรรมต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

ซึ่งทางด้านของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า หากย้อนไปเมื่อครั้งที่มีสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือกลุ่มคณะราษฎร ธนาธรเองก็ได้ออกมาสร้างวาทกรรม ที่ว่า สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส ถ้าเราไม่ลุกขึ้นสู้ในวันนี้ ถ้าไม่ออกมายืนยันปกป้องเสรีภาพของพวกเราเองตั้งแต่วันนี้ วันพรุ่งนี้เราจะไม่เหลืออะไร ซึ่งหลายคนมองว่า เป็นการปลุกระดมให้กลุ่มเยาวชนออกมาก่อม็อบลงถนน ท่ามกลางการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และช่วงนั้นก็ยังอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายคนมองว่า เป็นการปลุกระดมเพื่อให้เยาวชนและประชาชน ออกมาต่อสู้ชุมนุมเรียกร้องตามเป้าหมายดังกล่าว

ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรและคณะก้าวหน้านั้น มุ่งเน้นโจมตีไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีการโพสต์ข้อความโจมตีสถาบันฯผ่านทางสื่อโซเชียลมิเดีย และยังมีการพ่นข้อความจาบจ้วงสถาบันอย่างโจ่งแจ้ง ทำให้แกนนำและแนวร่วมของคณะราษฎรหลายคนถึงดำเนินคดีในมาตรา 112 จนทำให้มีการปลุกกระแสสนับสนุนให้ยกเลิกม.112 เพราะมองว่า เป็นกฎหมายที่ใช้กลั่นแกล้งคนเห็นต่าง

ในขณะที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้ออกมาสนับสนุนให้ยกเลิก มาตรา 112 ด้วย โดยอาจใช้โอกาสยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ทั้งระบบไปในคราวเดียวกัน ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประมุขรัฐต่างประเทศ เอกอัครราชทูต ศาล เจ้าพนักงาน ไปจนถึงบุคคลธรรมดา ให้ไปว่ากล่าวกันทางแพ่ง และควรแก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาททางแพ่ง ให้มีเหตุยกเว้นความผิดในกรณีวิจารณ์โดยสุจริต เป็นประโยชน์สาธารณะ ด้วย การยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น เป็นทิศทางที่สอดคล้องกับหลักสากล และนานาอารยประเทศ ในศตวรรษที่ 21 ไม่ควรมีใครถูกจำคุกเพียงเพราะการใช้เสรีภาพในการแสดงออก และมองว่า สถาบันเป็นปัญหาของบ้านเมือง

ซึ่งก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมากว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะช่วยแก้ไขปัยหาของประเทศ แต่คิดว่าจะทำการล้มล้างสถาบันเพียงอย่างเดียว สังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรและคณะก้าวหน้า ว่ามีการพุ่งเป้าไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดทางด้าน นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สภา หรือ ลงถนน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 1,677 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 – 30 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา

เมื่อสอบถามประเด็นสำคัญใน การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 99.7 อยากเห็นการเมืองใหม่ที่สร้างสรรค์ในสภา มากกว่านี้ รองลงมาคือ ร้อยละ 98.8 ยังมองไม่ชัดในเป้าหมายของการอภิปรายว่าจะเกิดประโยชน์อะไรแก่ประชาชน ร้อยละ 98.1 ยังไม่เห็น ดาวเด่นของฝ่ายค้านที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และร้อยละ 97.5 รับรู้ถึงความขัดแย้งของฝ่ายค้านระหว่าง พรรคเพื่อไทย กับ พรรคก้าวไกลที่จะอภิปรายรัฐบาล

ที่น่าพิจารณาคือ ประเด็นที่ประชาชนต้องการให้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 ระบุการแพร่ระบาดของยาเสพติด รองลงมาคือ ร้อยละ 57.3 ระบุ บ่อนพนัน ร้อยละ 55.3 ระบุ การทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 54.9 ระบุ การขนแรงงานเถื่อน ร้อยละ 50.1 ระบุการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด ร้อยละ 46.5 ระบุ การปฏิรูประบบราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการปล่อยปละละเลย และร้อยละ 40.6 ระบุ การปล่อยปละละเลยให้เกิดการล่วงละเมิดคุกคามสถาบันหลักของชาติ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงจุดยืนการเมืองของประชาชน พบว่า ร้อยละ 38.0 สนับสนุนรัฐบาล ซึ่งมากกว่า กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มีอยู่ร้อยละ 14.1 และที่เหลือร้อยละ 47.9 เป็นพลังเงียบ ไม่ฝักใฝ่
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 99.1 เชื่อมั่นต่อ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแก้ปัญหาในสภา มากกว่า การพาคนลงถนน

สำหรับประเด็นของกฎหมายมาตรา 112 ทางซูเปอร์โพลก็ได้มีการสำรวจ โดยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ได้มีเปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย มาตรา 112 โดยเสียงของราษฎร ต่อประเด็นสำคัญของ นักวิชาการ เช่น ปิยบุตรฯ และนักการเมือง บางคน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 99.5 ระบุ การใช้กฎหมาย มาตรา 112 ควรอยู่ในเรื่อง ความมั่นคง ต่อไป รองลงมาคือ ร้อยละ 99.1 ระบุเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกคน ที่ต้องช่วยกันรักษา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เอาไว้ ร้อยละ 98.9 ระบุ ราษฎร กำลังสับสน กับ การให้ข้อมูลของ นักวิชาการ นักการเมือง เกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติ ร้อยละ 98.7 ระบุ เชื่อมั่นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะช่วยให้ ประชาชน ปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เอาไว้ได้

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.1 ระบุ คนที่เดือดร้อน จากการมีกฎหมายมาตรา 112 เพราะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์ที่จ้องจะทำลายมากกว่า ร้อยละ 98.0 ระบุ มีขบวนการ นักวิชาการ นักการเมือง แหล่งทุนต่างชาติ จ้องทำลาย สถาบันหลักของชาติ ของคนไทย ร้อยละ 98.0 ระบุ มีขบวนการ นักวิชาการ นักการเมือง แหล่งทุนต่างชาติ จ้องทำลาย สถาบันหลักของชาติ ของคนไทย และร้อยละ 97.4 ระบุควรเพิ่มโทษ ใน กฎหมายมาตรา 112 สำหรับคนที่มีเจตนาโค่นล้ม สถาบันพระมหากษัตริย์