สหรัฐเสี้ยมอาเซียนปะทะจีน?!? กล่อมไทย-ฟิลิปปินส์ ยืนข้างนโยบายอินโด-แปซิฟิกต้านจีนขณะส่งกองเรือรบปักหลักทะเลจีนใต้

2450

สหรัฐปฏิบัติการเชิงรุกสร้างความแตกแยกในทะเลจีนใต้ บีบไทยเลือกข้าง ส่งรมว.ต่างประเทศสหรัฐ โทรศัพท์หารือกับรมว.ต่างประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นพันธมิตรอินโดแปซิฟิก ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจแต่ต้องต้านจีน  ขณะที่ปธน.โจ ไบเดนโทรศัพท์หารือกับผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ที่แสดงจุดยืนเป็นบริวารชัดเจน ย้ำจุดยืนต้านอิทธิพลจีนในทะเลจีนใต้ ประเทศไทยกำลังถูกสหรัฐบีบเลือกข้างใช่หรือไม่? รัฐบาลสหรัฐฯตั้งหน้าจะรบกับจีน แต่ถนัดสร้างสงครามตัวแทนไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน นี่คือผลงานชิ้นแรกของปธน.โจ ไบเดนแห่งพรรคเดโมแครต  ระวังอาเซียนจะลุกเป็นไฟ รัฐบาลไทยอย่าชะล่าใจ วางบทบาทสมดุลอำนาจให้เหมาะสม มิเช่นนั้นจะถูกลากไปเป็นหนังหน้าไฟรบกับเพื่อนบ้านให้สหรัฐฯเหมือนในอดีต

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2564 นายแอนโทนี บลิงเคน ( Antony Blinken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์หารือกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย เป็นครั้งแรกหลังจากดำรงตำแหน่ง รมว.กต.สหรัฐฯ โดยผลการหารือที่สำคัญ ได้แก่ 

1) ย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในฐานะพันธมิตรด้านความมั่นคง 

2) ทบทวนการแก้ปัญหาการระบาดของ COVID-19 

3) ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความมั่งคั่ง ความมั่นคง และค่านิยมร่วมกันในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี และ 

4) เห็นพ้องที่จะเดินหน้าความร่วมมือที่มีอยู่แล้วอย่างใกล้ชิดทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค

ในการนี้นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า “ดอน ปรมัตถ์วินัย” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้โทรศัพท์หารือกับบลิงเคน หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งไทยในฐานะที่เป็นคู่ภาคีสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐในภูมิภาคเอเชีย พร้อมที่จะร่วมมือกับบลิงเคนและสหรัฐในการเสริมสร้างเสถียรภาพ สันติภาพ และความรุ่งเรืองในประชาคมระหว่างประเทศ

ดอนกล่าวกับบลิงเคนว่า “ความเป็นหุ้นส่วนถือเป็นเสาหลักของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐมานานกว่าศตวรรษ เชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น” นอกจากนี้ ดอนยังได้เชิญบลิงเคนเดินทางเยือนประเทศไทยในโอกาสที่จะเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชีย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันต่อ “มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก” (ASEAN Outlook on Indo-Pacific: AOIP) ซึ่งไทยมีส่วนร่วมจัดทำขึ้นเร็วๆนี้

ขณะที่ในวันเดียวกันนั้น สื่อต่างประเทศต่างรายงานเนื้อหาในแถลงการณ์และการสนทนาทางโทรศัพท์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ กับผู้นำหลายประเทศระบุว่า ประธานาธิบดีไบเดนและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงระดับสูงของสหรัฐได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนพันธมิตร ทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน โดยส่งสัญญาณว่าสหรัฐคัดค้านการอ้างสิทธิของจีนเหนือทะเลจีนใต้ 

ผู้นำสหรัฐได้บอกกับนายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ ของญี่ปุ่น ว่า รัฐบาลสหรัฐให้คำมั่นในการปกป้องญี่ปุ่น รวมถึงหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเซ็นกากุและจีนเรียกว่าเตียวหยู ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างครอบครองกรรมสิทธิ์ ขณะที่พลเอกลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ กล่าวเน้นย้ำว่า พื้นที่ที่ตกเป็นกรณีพิพาทดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครองภายใต้สนธิสัญญาความมั่นคงระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่น อีกทั้งสหรัฐยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสถานะปัจจุบันในทะเลจีนใต้ที่เกิดขึ้นจากความพยายามเพียงฝ่ายเดียว 

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐ เริ่มงานวันแรกเมื่อวันพุธที่ 27 ม.ค.2564 และประกาศว่าทั่วโลกกำลังต้องการความเป็นผู้นำของสหรัฐและสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเผชิญความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทั้งการระบาดของโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก วิกฤติเศรษฐกิจ ภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมด้านสีผิว และอันตรายจากการสั่นคลอนเสถียรภาพและความมั่นคงจากประเทศที่เป็นศัตรู

บลิงเคนกล่าวว่า “เมื่อเราไม่ได้มีส่วนร่วม เมื่อเราไม่ได้เป็นผู้นำ ก็จะมีประเทศใดประเทศหนึ่งพยายามจะแทนที่เรา แต่ไม่ใช่ในแนวทางที่ดูเหมือนจะเพิ่มผลประโยชน์หรือมูลค่าของเรา หรือบางที อาจจะแย่ถึงขนาดที่ไม่มีใครขึ้นมาแทน และอาจจะเกิดความวุ่นวายขึ้นในโลก

นอกจากนี้ บลิงเคน ยังแสดงความเห็นระหว่างคุยโทรศัพท์กับนายทีโอโดโร ล็อคซิน รมต.ต่างประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมให้คำมั่นว่าจะยืนเคียงข้างชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากจีนทั้งนี้ รมว.ต่างประเทศสหรัฐระบุว่า “สหรัฐไม่เห็นด้วยกับการที่จีนอ้างกรรมสิทธิในทะเลจีนใต้เกินจากที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ และสหรัฐขอยืนเคียงข้างอาเซียนต้านทานแรงกดดันจากจีน”

ในสมัยที่ บลิงเคน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา เขาได้เดินทางมาเยือนหลายประเทศในอาเซียนไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมา และในการกล่าวสุนทรพจน์งานเลี้ยงอาหารค่ำการประชุมสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียนที่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2558 ที่อินโดนีเซีย บลิงเคน กล่าวว่า ตอนที่รับตำแหน่งใหม่ได้ถามประธานาธิบดีโอบามาว่าอยากให้เขามุ่งทำงานในเรื่องใด ซึ่งประธานิบดีโอบามาก็ตอบทันทีว่า เอเชีย

นอกจากนัเ บลิงเคน ยังถือเป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งข้อตกลงการค้าเสรีของประเทศในแถบแปซิฟิก(ทีพีพี) และในปัญหาทะเลจีนใต้ เราอาจได้เห็นบทบาทของสหรัฐที่เข้มข้นขึ้นโดยเฉพาะในเวทีอาเซียน

รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐ ผ่านการลงมติรับรองของวุฒิสภาสหรัฐเมื่อวันอังคารที่ 26 ม.ค.2564 ด้วยคะแนนเสียง 78-22 และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 71 ของสหรัฐ ถือเป็นตำแหน่งสำคัญสูงสุดในคณะรัฐมนตรีและอยู่ในลำดับที่ 4 ของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี หากว่าประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และประธานวุฒิสภา ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

บลิงเคน ได้แสดงความเห็นในวุฒิสภาสหรัฐว่า การแสดงความเป็นผู้นำ และไม่กระทำการแต่เพียงฝ่ายเดียว จะช่วยให้สหรัฐสามารถเอาชนะจีนได้ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด และรับมือกับความท้าทายระดับโลก ส่วนจีนถือเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหรัฐ โดยเฉพาะในแง่ของผลประโยชน์ของประเทศและผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน บลิงเคนยืนยันว่า เขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายจากจีน อิหร่าน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ 

ประเทศไทยต้องสร้างสมดุลอำนาจให้เหมาะสม ไม่ตกลงในกับดักขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ เพื่อไม่ต้องกลายเป็นแดนสงครามตัวแทนให้สหรัฐ ใช้เป็นฐานกำลังปะทะทางทหารกับเพื่อนบ้านหรือพันธมิตรจีน ระวัง!สงครามไฮบริดที่สหรัฐกำลังจุดในอาเซียนและในไทยด้วย จะทำลายความเป็นเอกภาพและความสงบร่มเย็น!